ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

บทคัดย่อ

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิต ใช้รูปแบบการประเมินแบบ ซิปป์ โมเดล (CIPP model) ของสตัฟเฟิลบีม กลุ่มเป้าหมายเป็นครู จำนวน 12 คน นักเรียน จำนวน 147 คน และผู้ปกครอง จำนวน 147 คน ประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ ประเมินด้านบริบท และด้านปัจจัยนำเข้า ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการ ประเมินด้านกระบวนการ ระยะที่ 3 หลังการดำเนินโครงการ ประเมินด้านผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมินพบว่า 1) ด้านบริบท โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ รองลงมาคือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ และความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ ด้านสื่อ/เครื่องมือที่ใช้ รองลงมาคือ ด้านครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น และด้านงบประมาณ 3) ด้านกระบวนการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ การส่งต่อนักเรียน รองลงมาคือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการจัดกิจกรรมแนะแนว 4) ด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ นักเรียนได้รับการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างรอบด้าน รองลงมาคือ นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตและการปรับตัว นักเรียนรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น และนักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและสังคม

บทนำ

แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 กำหนดในยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ โดยมีเป้าหมายให้คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา การดูแลและป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ มีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น สถานศึกษาที่จัดกระบวนการเรียนรู้และปลูกฝังแนวทางการจัดการความขัดแย้งโดยแนวทางสันติวิธีเพิ่มขึ้น มีการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น มีระบบ กลไก และมาตรการที่เข้มแข็งในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ และผู้เรียนในสถานศึกษาที่มีคดีทะเลาะวิวาทลดลง เป็นต้น โดยได้กำหนดแนวทางการพัฒนา คือ พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยกระดับคุณภาพและส่งเสริมโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษ ทั้งที่เป็นพื้นที่สูง พื้นที่ตามแนวตะเข็บชายแดนและพื้นที่เกาะแก่ง ชายฝั่งทะเล ทั้งกลุ่มชนต่างเชื้อชาติศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มชนชายขอบและแรงงานต่างด้าว พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการจัดระบบการดูแลและป้องกันภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ เป็นต้น (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2560 น. ซ)

การพัฒนานักเรียนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความสามารถคุณธรรม จริยธรรม และมีวิถีชีวิตที่เป็นสุขตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษานั้นนอกจากจะดำเนินการด้วยการส่งเสริมพัฒนานักเรียนแล้ว การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนก็เป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนา เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งนอกจากส่งผลกระทบต่อผู้คนในเชิงบวกแล้วในเชิงลบก็มีปรากฏเช่นกัน เป็นต้นว่า ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการระบาดของสารเสพติด ปัญหาการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ ปัญหาครอบครัว ซึ่งก่อให้เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด การปรับตัวที่ไม่เหมาะสมหรืออื่นๆ ที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกายของทุกคนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ภาพความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามความมุ่งหวังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริหาร ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษา เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการต่างๆ เพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิดด้วยความรักและเมตตาที่มีต่อศิษย์ และภาคภูมิใจในบทบาทหน้าที่ที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนให้เติบโต งอกงาม เป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคมต่อไป (กรมสุขภาพจิต, 2551 น. 1-29)

ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อันมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้วยความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนที่มีพื้นฐานความเป็นมาของชีวิตที่ไม่เหมือนกัน หล่อหลอมให้มีพฤติกรรมหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านบวกด้านลบ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจนักเรียนมากยิ่งขึ้น 2) การคัดกรองนักเรียน เป็นการพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนเพื่อจัดกลุ่มนักเรียน จะได้หาแนวทางที่เหมาะสมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการ 3) การส่งเสริมนักเรียน เป็นการสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มคัดกรอง ได้พัฒนาศักยภาพในตนเองให้มากที่สุด ให้มีความภาคภูมิใจในตนเอง และช่วยป้องกันมิให้นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มปกติและกลุ่มพิเศษกลายเป็นนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหา ในทางตรงกันข้าม เป็นการช่วยให้นักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีปัญหา กลับมาเป็นนักเรียนกลุ่มปกติและมีคุณภาพ ตามมาตรฐานที่โรงเรียนคาดหวัง หรือตามศักยภาพของนักเรียนแต่ละบุคคล 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหา เป็นการดูแลเอาใจใส่ต่อนักเรียนทุกคนเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มเสี่ยง กลุ่มมีปัญหา จำเป็นที่ต้องให้ความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดและหาวิธีการช่วยเหลือ ทั้งการป้องกันและการแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นภาระงานที่ยิ่งใหญ่แต่มีคุณค่าอย่างมากเมื่อครูได้พัฒนาให้นักเรียน ได้เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป และ 5) การส่งต่อในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนของบุคลากรครู บางครั้งอาจเกินความสามารถจึงต้องมีการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้นว่า มูลนิธิ ตำรวจ สังคมสงเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้รับการแก้ไขช่วยเหลืออย่างถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้นแก่นักเรียน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2547 น. 4 - 6)

โรงเรียนบ้านบางกรัก เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขนาดกลาง จัดการศึกษาแบบสหศึกษา มีนักเรียนในระดับประถม มัธยมศึกษาตอนต้นที่มาจากครอบครัวหลายระดับ จากสถิติของฝ่ายปกครองนักเรียนและงานแนะแนวของโรงเรียน พบว่า นักเรียนมีปัญหาหลายด้าน เช่น ฐานะยากจน การขาดเรียน การหนีโรงเรียน ยาเสพติด ชู้สาว และปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง ปีการศึกษา 2562 และ 2563 นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ภาษาไทย และวิทยาศาสตร์ น้อยกว่าปีการศึกษา 2563 ดังนี้ ในปีการศึกษา 2562 กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ 59.69 วิทยาศาสตร์ 66.05 (โรงเรียนบ้านบางกรัก, 2562 น. 15 - 16) ปีการศึกษา 2563 กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ 68.65 และวิทยาศาสตร์ 72.07 (โรงเรียนบ้านบางกรัก. 2563 : 16 - 17) นอกจากนี้ยังพบนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ร้อยละ 17.15 นักเรียนที่ออกกลางคัน ร้อยละ 1.49 สถิติการขาดเรียน ร้อยละ 94.79 (โรงเรียนบ้านบางกรัก, 2563 น. 9) และจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ต่ำ โรงเรียนบ้านบางกรัก จึงให้ความสำคัญกับการดำเนินงานการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยกำหนดอยู่ในโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามกลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับประชากรในวัยเรียนอย่างทั่วถึงและเสมอภาคโดยการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งมีสถานศึกษาเป็นหัวใจสำคัญและเป็นพลังขับเคลื่อน ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่สังคมไทยต้องการ โดยมีการดำเนินการ คือ วางแผนการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ ให้คำปรึกษา นิเทศการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้แก่โรงเรียน ติดตามและประเมินผลการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทั้งนี้มีการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในทุก ๆ ด้าน เช่น เครื่องแต่งกาย ทรงผม เครื่องเขียน แบบเรียน อาหารกลางวัน ค่าพาหนะการเดินทางและทุนการศึกษา เป็นต้น เพื่อให้สามารถมีความพร้อมในการเรียนจนจบการศึกษา

จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่าการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีความสำคัญยิ่งในการพัฒนานักเรียน ผู้ประเมินในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียน ได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงทำการประเมินการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของแบบ ซิปป์ โมเดล (CIPP model) ของสตัฟเฟิลบีม มาเป็นรูปแบบในการประเมิน ซึ่งเป็นรูปแบบการประเมินที่มีการประเมินเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง โดยมีจุดเน้นที่สำคัญคือใช้ควบคู่กับการบริหารโครงการ ซึ่งการประเมินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่สำคัญมุ่งประเมิน 4 ด้าน คือ การประเมินบริบท การประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิต เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการในขั้นต่อไปอีกทั้งเน้นในเรื่องของการใช้ผลการประเมินเพื่อการปรับปรุง หรือการดำรงไว้ของโครงการ ว่ามีผลการดำเนินการอยู่ในระดับใด ประสบปัญหาและมีอุปสรรคอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้นำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

4. เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

ขอบเขตของการประเมิน

ในการประเมินครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดของเขตของการวิจัย ดังนี้

1. ขอบเขตของกลุ่มเป้าหมายมาย/ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นครู โรงเรียนบ้านบางกรัก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน

ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้เป็นครู โรงเรียนบ้านบางกรัก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 12 คน

ระยะที่ 3 หลังการดำเนินโครงการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างดังนี้

1. ประชากรที่ใช้การประเมินระยะนี้ ประกอบด้วย ครู จำนวน 12 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 181 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 56 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 161 คน รวมทั้งสิ้น 410 คน

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การประเมิน ประกอบด้วย

2.1 ครู จำนวน 12 คน โดยใช้ประชากรจริงเป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยจากการเลือกแบบเจาะจง

2.2 นักเรียน จำนวน 147 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 112 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 จำนวน 35 คน โดยใช้ตารางการสุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน

2.3 ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 147 คน ได้จากการสุ่มแบบเจาะจงเฉพาะผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง

2. ขอบเขตด้านเนื้อหา

ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ ซิปป์ โมเดล (CIPP model) ของสตัฟเฟิลบีม ซึ่งมีประเด็นการประเมิน 4 ด้าน ประกอบด้วย

1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) โดยพิจารณาสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในที่ส่งผลกระทบต่อโครงการโดยรวม จำนวน 4 ตัวชี้วัด ประกอบด้าย การประเมินความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน

2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โดยพิจารณาทรัพยากรที่นำมาใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด ประกอบด้าย ด้านผู้บริหาร ด้านครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ด้านผู้ปกครอง ด้านสื่อ/เครื่องมือที่ใช้ และด้านงบประมาณ

3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) โดยพิจารณากระบวนการดำเนินงานโครงการในแต่ละขั้นตอน จำนวน 7 ตัวชี้วัด ประกอบด้าย การวางระบบบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมพัฒนานักเรียน การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข การส่งต่อนักเรียน การนิเทศติดตาม ประเมินผล และรายงานผล

4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยพิจารณาจากผลผลิต จำนวน 8 ตัวชี้วัด ประกอบด้าย นักเรียนได้รับการพิทักษ์คุ้มครองและดูแล นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต นักเรียนได้รับการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างรอบด้าน นักเรียนรู้จักพึ่งตนเอง นักเรียนรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและสังคม ความพึงใจของครู นักเรียนและผู้ปกครอง

3. ขอบเขตด้านระยะเวลา

ในการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านบางกรัก ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ประเมินในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

วิธีการประเมิน

ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ

ก่อนการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ผู้ประเมินได้ประเมิน 1) ด้านบริบท (Context Evaluation) จำนวน 4 ตัวชี้วัด ประกอบด้าย การประเมินความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และ 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) จำนวน 5 ตัวชี้วัด ประกอบด้าย ด้านผู้บริหาร ด้านครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ด้านผู้ปกครอง ด้านสื่อ/เครื่องมือที่ใช้ และด้านงบประมาณ กลุ่มเป้าหมายเป็นครู จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินด้านบริบท และปัจจัยนำเข้า เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการ

ระหว่างการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ผู้ประเมินได้ประเมิน ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) จำนวน 7 ตัวชี้วัด ประกอบด้าย การวางระบบบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมพัฒนานักเรียน การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข การส่งต่อนักเรียน การนิเทศติดตาม ประเมินผล และรายงานผล กลุ่มเป้าหมายเป็นครู จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินด้านกระบวนการ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ระยะที่ 3 หลังการดำเนินโครงการ

หลังการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ผู้ประเมินได้ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) จำนวน 8 ตัวชี้วัด ประกอบด้าย นักเรียนได้รับการพิทักษ์คุ้มครองและดูแล นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิต นักเรียนได้รับการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างรอบด้าน นักเรียนรู้จักพึ่งตนเอง นักเรียนรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและสังคม ความพึงใจของครู นักเรียนและผู้ปกครอง กลุ่มเป้าหมายเป็นครู จำนวน 12 คน นักเรียน จำนวน 147 คน และผู้ปกครอง จำนวน 147 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินด้านผลผลิต แบบสอบถามความพึงพอใจของครู แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย

ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ประเด็นด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ดังตารางที่ 1

พบว่า ด้านบริบทของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน และ ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ

ตอนที่ 2 การวิเคราะห์ประเด็นด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ดังตารางที่ 2

พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ ด้านสื่อ/เครื่องมือที่ใช้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้น ด้านผู้ปกครอง ด้านผู้บริหาร และด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ

ตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลประเด็นด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ดังตารางที่ 3

พบว่า ด้านกระบวนการของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ การส่งต่อนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การวางแผนบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผล การจำแนกคัดกรองนักเรียน การป้องกันช่วยเหลือและแก้ไข การส่งเสริมพัฒนานักเรียน และการจัดกิจกรรมแนะแนว มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ

ตอนที่ 4 การวิเคราะห์ประเด็นด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ดังตารางที่ 4

1. ประเด็นด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา

พบว่า ด้านผลผลิตของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ นักเรียนได้รับการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างรอบด้าน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เกิดภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตและการปรับตัว นักเรียนรักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น นักเรียนได้รับการพิทักษ์คุ้มครองและดูแล นักเรียนรู้จักพึ่งตนเอง และนักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและสังคม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ

2. ความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ มีการศึกษาข้อมูลและเตรียมการอย่างดี มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ วัตถุประสงค์โครงการมีความเหมาะสม และกิจกรรมการพัฒนามีความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ การให้อบรมด้านคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินการของครูประจำชั้นด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล และการส่งเสริมให้กำลังใจให้การยกย่องชมเชยจากครูประจำชั้น มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ

4. ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ นักเรียนในความปกครองได้รับการดูแลเอาใจใส่ในด้านความประพฤติ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนทำให้นักเรียนมีพัฒนาทางอารมณ์ในทางที่ดีขึ้น และการจัดกิจกรรมเพื่อปรึกษาหารือระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ

สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

1. จากผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกประเด็น และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ทั้งนี้อาจเนื่องจากนโยบายของโรงเรียนมีการดำเนินการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และโครงการได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน มีการสำรวจความต้องการของนักเรียน โรงเรียนและชุมชน เกี่ยวกับโครงการและสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันปัญหาของโรงเรียน สังคมและประเทศชาติ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านบางกัก (2564 : 4) ที่กล่าวว่า นโยบายของโรงเรียนในการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนซึ่งเป็นนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ใช้มาตรการในการสนับสนุนส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนมีมาตรฐาน โดยการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากความร่วมมือของกรมสุขภาพจิตและกรมสามัญในอดีตเป็นเครื่องมืออีกชิ้นหนึ่งที่จะช่วยให้โรงเรียนและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ใช้เป็นกลไกในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ปิยะวุฒิ ศรีชนะ (2559 : 1) ได้ศึกษา การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน โพนงามพิทยาคาร จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ที่พบว่า การประเมินบริบท พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ ธีระยุทธ เกตุมี (2563 : 3) ได้ศึกษา การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพิชัย ที่พบว่า ด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. จากผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด ทั้งนี้เป็นเพราะผู้บริหารและผู้รับผิดชอบโครงการมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กำหนดวัตถุประสงค์ที่มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ มีการวางแผนการจัดกิจกรรมไว้อย่างชัดเจน มีอาคารสถานที่ห้องเรียนเพียงพอกับจำนวนนักเรียน ผู้บริหารมีคำสั่งมอบหมายงานไว้อย่างชัดเจน ครูเข้าใจถึงสภาพปัจจุบัน และปัญหาของโรงเรียน และครูมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กิติพงษ์ ศิลาอาจ (2563 : 1-2) ได้ศึกษา การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดอารีราษฎร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2563 ที่พบว่า การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดอารีราษฎร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2563 ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ ธีระยุทธ เกตุมี (2563 : 3) ได้ศึกษา รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนพิชัย ที่พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. จากผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 ตัวชี้วัด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะด้วยความตระหนักในภารกิจ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ผู้บริหารจำเป็นต้องดำเนินการประกอบกับเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทุกระดับ ผู้บริหารจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติกิจกรรม มีการประชุมผู้เกี่ยวข้องกับโครงการเพื่อพัฒนางาน รวมทั้งการจัดกิจกรรมเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยมีการประชุมก่อนดำเนินการนิเทศภาย จัดทำแผนการนิเทศติดตาม และดำเนินการนิเทศติดตาม อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการยกย่องชมเชยผู้รับผิดชอบโครงการเมื่อประสบผลสำเร็จ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จันทิมา อิ๋วสกุล (2560 :1-2) ได้ศึกษา รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ที่พบว่า ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 เกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ ขวัญศิริ บุญสรรค์ (2560 : 1-2) ได้ศึกษา รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ที่พบว่า การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนวังดอกไม้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ด้านความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงาน โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก

4. จากผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 9 ตัวชี้วัด ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลผลิตจากการดำเนินการตามโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ คือ เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียนมีความรักและเห็นคุณค่าในตนเอง รักสถาบันครอบครัว มีความรับผิดชอบ สามารถพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้น นักเรียนกลุ่มเสี่ยงและมีปัญหา สามารถลดละเลิกสุราและบุหรี่ และให้ผู้ปกครอง ครอบครัวและชุมชนในเขตบริการของโรงเรียน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ยะวุฒิ ศรีชนะ (2559 : 1) ได้ศึกษา การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนโพนงามพิทยาคาร จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ที่พบว่า การประเมินผลผลิต พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับงานวิจัยของ จันทิมา อิ๋วสกุล, (2560 :1-2) ได้ศึกษา การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนท้ายเหมืองวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 ที่พบว่า ผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนบ้านบางกรัก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา จำนวน 4 ด้าน คือ ประเมินในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องจากโรงเรียนมีการวางแผนการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ ให้คำปรึกษา นิเทศการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้แก่โรงเรียน ติดตามและประเมินผลการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กิติพงษ์ ศิลาอาจ, (2563 : 1-2) ได้ศึกษา การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนวัดอารีราษฎร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2563 ที่พบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินโครงการไปใช้

1. จากผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังนั้นโรงเรียนควรมีกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. จากผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ ดังนั้นโรงเรียนควรจัดการระดมทรัพยากรเพื่อหางบประมาณจากชุมชนและหน่วยงานอื่น ๆ มาสนับสนุนในการในจัดกิจกรรม สนับสนุนค่าพาหนะในการออกเยี่ยมบ้านอย่างเหมาะสม

3. จากผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า การจัดกิจกรรมแนะแนว มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โรงเรียนควรจัดหาครู หรืออบรมครูให้มีความรู้ในการแนะแนวเพิ่มขึ้นเพื่อครอบคลุมด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านการศึกษาต่อ รวมทั้งการแนะแนวทักษะชีวิต

4. จากผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและสังคม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ดังนั้นโรงเรียนควรมีการดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศของนักเรียน จัดอบรม สัมมนา นักเรียนโดยเน้นสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับนักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อจะได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหานักเรียน

โพสต์โดย ครูปาน : [1 ก.ย. 2565 เวลา 10:00 น.]
อ่าน [1775] ไอพี : 159.192.243.118
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 14,151 ครั้ง
ถั่วพร้า
ถั่วพร้า

เปิดอ่าน 21,431 ครั้ง
เมื่อเทคโนโลยีล้างสมองเด็ก อะไรจะเกิดขึ้น?
เมื่อเทคโนโลยีล้างสมองเด็ก อะไรจะเกิดขึ้น?

เปิดอ่าน 12,655 ครั้ง
เปลี่ยนผิวหน้าพังให้กลับมาสวยปังกับ 4 การรักษาฝ้าอย่างถูกวิธี
เปลี่ยนผิวหน้าพังให้กลับมาสวยปังกับ 4 การรักษาฝ้าอย่างถูกวิธี

เปิดอ่าน 18,876 ครั้ง
รำลึก 100 ปี พระปิยะมหาราช
รำลึก 100 ปี พระปิยะมหาราช

เปิดอ่าน 10,173 ครั้ง
ประกาศจัดตั้งอุทยานใหม่อีก 15 แห่ง
ประกาศจัดตั้งอุทยานใหม่อีก 15 แห่ง

เปิดอ่าน 21,768 ครั้ง
ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์...ตลอดปี 2556
ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์...ตลอดปี 2556

เปิดอ่าน 15,376 ครั้ง
ตุ๊กตาดินเผา เสริมฮวงจุ้ยให้บ้านเรา
ตุ๊กตาดินเผา เสริมฮวงจุ้ยให้บ้านเรา

เปิดอ่าน 58,627 ครั้ง
การปฐมพยาบาล
การปฐมพยาบาล

เปิดอ่าน 18,484 ครั้ง
ปรับโหงวเฮ้ง เสริมทรัพย์ เสริมบารมี
ปรับโหงวเฮ้ง เสริมทรัพย์ เสริมบารมี

เปิดอ่าน 25,031 ครั้ง
รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
รายงานการวิจัยและพัฒนา เรื่อง รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

เปิดอ่าน 5,415 ครั้ง
โครงสร้างอะตอม
โครงสร้างอะตอม

เปิดอ่าน 15,069 ครั้ง
เงินตราของเวียดนามตอนที่ 1
เงินตราของเวียดนามตอนที่ 1

เปิดอ่าน 6,182 ครั้ง
เอกสาร ก้าวแรกการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน Project Based Learnning PBL
เอกสาร ก้าวแรกการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน Project Based Learnning PBL

เปิดอ่าน 18,787 ครั้ง
กำราบหวัดร้ายด้วยฟ้าทะลายโจร
กำราบหวัดร้ายด้วยฟ้าทะลายโจร

เปิดอ่าน 10,871 ครั้ง
จากปลานิลพระราชทาน
จากปลานิลพระราชทาน

เปิดอ่าน 13,549 ครั้ง
คลิป การจอดรถสุดเกรียน ชนิดเทพอยากเอามือปิดหน้า
คลิป การจอดรถสุดเกรียน ชนิดเทพอยากเอามือปิดหน้า
เปิดอ่าน 12,070 ครั้ง
จากหัวใจดวงน้อยๆ ที่อยากบอกรักพ่อหลวง ผ่านบทเพลง "เล่าสู่หลานฟัง"
จากหัวใจดวงน้อยๆ ที่อยากบอกรักพ่อหลวง ผ่านบทเพลง "เล่าสู่หลานฟัง"
เปิดอ่าน 10,694 ครั้ง
ตรงต่อเวลา...ช่วยอนาคตหนูมั่นได้
ตรงต่อเวลา...ช่วยอนาคตหนูมั่นได้
เปิดอ่าน 16,374 ครั้ง
รู้มั้ย… คุณกำลังเสี่ยง เป็นโรคอะไรอยู่
รู้มั้ย… คุณกำลังเสี่ยง เป็นโรคอะไรอยู่
เปิดอ่าน 8,552 ครั้ง
เด็กรุ่นใหม่... เขาทำ (อาชีพ) อะไร
เด็กรุ่นใหม่... เขาทำ (อาชีพ) อะไร

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ