ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ เทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำ

ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ เทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

ชื่อผู้วิจัย นางศรีไพร ใจนันตา กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

สอนวิชา คณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค14101 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564

โรงเรียน เทศบาลประตูลี้

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

วิชาคณิตศาสตร์ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบระเบียบ เป็นแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วน รอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คณิตศาสตร์จึงเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น นอกจากนี้ คณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์ สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

จากข้อมูลการวัดผลและประเมินผลความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ ปีการศึกษา 2563 พบว่านักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่องการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ต่ำที่สุด ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้มีคะแนนเต็ม 20 คะแนน นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยในหน่วยนี้คือ 11.2 คิดเป็นร้อยละ 56 ซึ่งมีคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 60 เนื่องจากนักเรียนยังไม่เข้าใจขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา ขาดทักษะการคิดเชิงเหตุผล ไม่เข้าใจความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการบวก ลบ คูณ หารระคน พื้นฐานทางภาษาไม่มีจึงตีความโจทย์ไม่ได้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น ขาดวัสดุ สื่อการสอน ขาดแหล่งเรียนรู้ จึงทำให้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่องการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ คะแนนต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยการเรียนรู้อื่น

แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยคิดว่าสาเหตุที่สำคัญที่สุดส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนคือ นักเรียนยังไม่เข้าใจขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา ทำให้นักเรียน ขาดการคิดวิเคราะห์ ขาดทักษะกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนคณิตศาสตร์ จึงมีความสนใจวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL เป็นเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนฝึกคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนละเอียดถี่ถ้วน ทำให้นักเรียนทำความเข้าใจโจทย์ปัญหาได้อย่างชัดเจน และหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลายอันจะเป็นผลให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ซึ่งเห็นได้จากขั้นตอนการแก้โจทย์ปัญหา 4 ขั้นตอนได้แก่ขั้นที่ 1) นักเรียนจะหาสิ่งที่โจทย์บอกให้ทราบ เป็นขั้นที่นักเรียนต้องอ่านโจทย์อย่างพินิจพิเคราะห์ และรวบรวมสิ่งที่โจทย์บอกให้มา รวมทั้งอาจต้องใช้ความรู้เดิมที่ได้เรียนไปแล้ว ขั้นที่ 2) นักเรียนหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบหรือปัญหาของโจทย์ เป็นขั้นที่นักเรียนต้องตอบคำถามให้ได้ว่าโจทย์ต้องการให้หาอะไร และวางแผนแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆจากข้อมูลที่ได้ในขั้นตอนแรก ขั้นที่ 3) นักเรียนดำเนินการแก้ปัญหาตามที่ได้วางแผนไว้ เป็นขั้นที่นักเรียนต้องลงมือแก้ปัญหา และเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาอย่างกระจ่างชัด และขั้นที่ 4) ขั้นสรุปผลที่ได้จากการแก้ปัญหา เป็นขั้นที่นักเรียนจะต้องสรุปวิธีการดำเนินการแก้ปัญหา และได้คำตอบของปัญหา สามารถอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการออกแบบวัฒนธรรมการเรียนการสอนที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางผ่านปรัชญาของการ “สอนน้อย แต่เรียนรู้ให้มาก” กล่าวคือ การที่ครูเป็นโค้ชหรือเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนอันทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะของการใฝ่รู้และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เทคโนโลยีสารสนเทศทางการเรียนรู้ที่ทรงประสิทธิภาพและใช้งานได้ง่ายและสะดวกอย่างเช่น ClassStart เป็นระบบชั้นเรียนออนไลน์(Learning Management System) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อรองรับรูปแบบจัดการการศึกษาของไทยและมุ่งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระบบ

จากเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWDL ในระบบชั้นเรียนออนไลน์ว่าสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้หรือไม่ อย่างไร แตกต่างต่างจากเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 หรือไม่อย่างไร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรและเป็นรากฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นสูงขึ้น พร้อมทั้งเป็นข้อมูลผู้บริหารในการบริหารงานวิชาการอันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพทางการเรียนรู้อันนำไปสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของนักเรียน

ระยะเวลาในการแก้ปัญหา

ตุลาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565

จุดประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทย

ปญหาคณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปที่ 4

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกอนเรียนและหลังเรียนจากการใช

แบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิคKWDL เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์การบวก ลบ คูณ

หารจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปที่ 4

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้แบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์

การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูจากแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่อง

การแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ สูงขึ้น

3. ใชเป็นแนวทางในการพัฒนานวัตกรรมหรือพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนอื่น ๆ

ที่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาเรื่องโจทยปัญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ตอไป

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ เทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน จำนวน 4 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 99 คน

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม 1 ห้องเรียน ได้นักเรียนห้อง ป.4/2 จำนวนนักเรียน 26 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม

เครื่องมือที่ใชในการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรูกลุมสาระการเรียนรูคณิตศาสตร์ที่จัดการเรียนรูโดยใชแบบฝก

ทักษะโดยใชเทคนิค KWDL เรื่อง โจทยปญหาคณิตศาสตร์การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 จำนวน 2 แผน

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรูกลุมสาระการเรียนรูคณิตศาสตร์ที่จัดการ

เรียนรูโดยใชแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์

การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบปรนัย

ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ขอ และแบบอัตนัย แสดงวิธีทำ 5 ขอ

3. แบบฝกทักษะการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทย

ปญหาคณิตศาสตร์การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4 จำนวน 1 เล่ม

ตัวอย่างแผน ชั่วโมงที่ 1

ขั้นที่ 1 (ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน)

ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และบทบาทในการทำงานกลุ่มให้นักเรียนทราบจากนั้นสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับความหมายของการบวก การลบ ว่าการบวกหมายถึง การนำจำนวนสองจำนวนมารวมกัน การลบ คือ การนำจำนวนหนึ่งออกจากจำนวนหนึ่งเพื่อหาจำนวนที่เหลือหรือเป็นการเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวนว่ามากกว่าหรือน้อยกว่ากันเท่าไร

ขั้นที่ 2 (ขั้นนำเสนอบทเรียน ด้วยเทคนิค KWDL)

ครูให้นักเรียนผลัดกันสร้างโจทย์ปัญหาการบวก ลบ จากเหตุการณ์ในชีวิติประจำวันให้เพื่อนเขียนประโยคสัญลักษณ์และหาคำตอบ จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์โจทย์ปัญหา โดยใช้เทคนิค KWDL ดังนี้

ร่วมกันทำความเข้าใจโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ หรือ วิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ คือ หาสิ่งที่โจทย์กำหนดให้ (ขั้น K : ระดมสมองร่วมกันหาสิ่งที่โจทย์กำหนดให้)

วางแผนและหาแนวทางแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ว่าโจทย์ต้องการทราบอะไร และมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร (ขั้น W : อภิปรายเพื่อหาสิ่งที่โจทย์ต้องการทราบและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อหาคำตอบ)

ร่วมกันดำเนินการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และร่วมกันพิจารณา ตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบที่ได้ (ขั้น D: ร่วมกันดำเนินการแก้โจทย์ปัญหาและเขียนประโยคสัญลักษณ์ พร้อมทั้งแสดงวิธีทำเพื่อหาคำตอบ)

ร่วมกันสรุปการแก้ปัญหาและสรุปเป็นความรู้ที่ได้ (ขั้น L: ร่วมกันสรุปขั้นตอนการแก้ปัญหาและนำเสนอผลการแก้โจทย์ปัญหาโดยส่งตัวแทนออกมานำเสนอ)

ขั้นที่ 3 (ขั้นกิจกรรมกลุ่ม)

แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน โดยแต่ละกลุ่มมีทั้งเด็กเก่ง ปานกลางและอ่อน แต่ละกลุ่มมารับบัตรกิจกรรม KWDL ที่ 1 แล้วดำเนินการดังนี้

ศึกษาบัตรกิจกรรม KWDL

ดำเนินการแก้โจทย์ปัญหา

นำเสนอแนวคิดและวิธีการแก้โจทย์ปัญหา

ขั้นที่ 4 (ขั้นทดสอบรายบุคคล)

นักเรียนศึกษาและปฏิบัติตามใบงานที่ 1 ที่ครูได้แจกให้เป็นรายบุคคล

ขั้นที่ 5 (ประเมินการทำงานกลุ่มและยกย่องกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ)

ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจใบงานที่ 1 เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบจำนวนนับ โดยคะแนนที่นักเรียนทำได้จะถือเป็นคะแนนรายบุคคล แล้วนำคะแนนรายบุคคลไปแปลงเป็นคะแนนกลุ่ม จากนั้นครูให้คำชมเชย ยกย่อง บุคคลหรือกลุ่มที่มีคะแนนยอดเยี่ยมและให้กำลังใจแก่นักเรียนที่ได้คะแนนน้อย

ขั้นที่ 6 (ขั้นสรุปบทเรียน)

ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามข้อสงสัย และให้โจทย์ปัญหา จำนวน 2 ข้อ กลับไปเป็นการบ้านและนำมาส่งในคาบเรียนต่อไป

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บขอมูลตามขั้นตอนดังนี้

1. การรวบรวมขอมูลของแผนการจัดการเรียนรูโดยใชแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใช

เทคนิค KWDL เรื่องโจทยปญหาการบวก ลบคูณ หารจำนวนนับของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4

ผู้วิจัยดำเนินการ คือ สร้างแผนจัดการเรียนรู มีทั้งหมด 2 แผน นําแผนที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ตรวจสอบประเมินคุณภาพตามเกณฑของ Likert มี 5 ระดับ ปรับปรุงแกไข

ตามความแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนํามาทดลองใชกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 4/2 โดยใชแผน

การจัดการเรียนรูควบคูกับแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL ปรับปรุงแกไขจัดฉบับสมบูรณ

2. การรวบรวมข้อมูลเพื่อพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผู้วิจัยดำเนินการ คือหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) หาค่าความยาก (P) คาอำนาจจำแนก (r) และค่าความเชื่อมั่น ของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกปที่ 4 จากการใหความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง

3. การรวบรวมข้อมูลเพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค

KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ผู้วิจัยหาค่าประสิทธิภาพ

(E1/E2) ของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค KWDL เรื่องการแก้โจทยปญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ

ทดลองหนึ่งตอหนึ่ง 3 คน กลุมเล็ก 6 คน กลุมภาคสนาม 30 คน และกลุ่มตัวอย่าง 30 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อแกไขขอบกพรอง

การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย

การวิเคราะห์ข้อมูล

1. หาประสิทธิภาพของแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทย

ปญหาคณิตศาสตร ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 ตามเกณฑ 80/80

2. หาประสิทธิภาพของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความ

พึงพอใจ ดังนี้

2.1 หาค่าดัชนีความสอดคลอง (IOC)

2.2 หาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ

2.3 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใชวิธีของคูเดอร์ริชาร์ดสัน (Kuder -

Richardson Method)

2.4 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจโดยใชสัมประสิทธิ์แอลฟา

(Alpha Coefficient)

3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกอนเรียนและหลังเรียน โดยใชแบบฝึกทักษะโดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์การบวก ลบ คูณ หารระคน

ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 โดยใช t-test (Dependent Samples)

สถิติที่ใชในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. สถิติพื้นฐาน ไดแก

1.1 ร้อยละ (Percentage) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 104) ใชสูตรดังนี้

p=f/N×100

เมื่อ P แทน ร้อยละ

f แทน ความถี่ที่ตองการแปลงให้เป็นร้อยละ

N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด

1.2 คาเฉลี่ย (Mean) ของคะแนน (ประภาพรรณ เส็งวงศ, 2550 : 90) มีสูตรดังนี้

X ̅=(∑▒X)/N

เมื่อ X ̅ แทน คาเฉลี่ย

ΣX แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุม

N แทน จำนวนคะแนนในกลุม

1.3 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 :

104) มีสูตรดังนี้

S.D.=√((n∑▒〖x^2-〖(∑▒〖x)〗〗^2 〗)/(n(n-1)))

เมื่อ S.D. แทน สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

X แทน คะแนนแต่ละตัว

n แทน จำนวนคะแนนในกลุม

Σ แทน ผลรวม

2. สถิติที่ใชหาค่าเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการใชแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์การบวก ลบ คูณ

หารจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 โดยใช t-test (ประภาพรรณ เสงวงศ, 2550 : 99 - 101) มีสูตรดังนี้

t=(∑▒D)/√((n∑▒〖D^2-(∑▒〖D)〗^2 〗)/(n-1))

เมื่อ t แทน ค่าอัตราสวนวิกฤต

D แทน ผลต่างคะแนนกอนเรียนและหลังเรียน

ΣD แทน ผลรวมของผลต่างของคะแนนกอนเรียนและหลัง

เรียน

∑▒D^2 แทน ผลรวมยกกำลังสองของผลต่างของคะแนนกอนและ

หลังเรียน

N แทน จำนวนนักเรียน

3. สถิติที่ใชในการวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบหรือข้อสอบ

3.1 การหาความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใชสูตรค่าดัชนีความสอดคลอง (IOC) (วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2546 : 86 - 88) ดังนี้

IOC = (∑▒R)/N

เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคลองระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค

∑▒R แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

N แทน จำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

3.2 การหาค่าความยากง่ายของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ประภาพรรณ

เส็งวงศ, 2550 : 70) โดยใชสูตรดังนี้

p=R/N

เมื่อ P แทน ค่าความยากง่าย

R แทน จำนวนผู้ที่ตอบข้อสอบถูกทั้งหมด

n แทน จำนวนผู้ที่ทำข้อสอบทั้งหมด

3.3 การหาค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (ประภาพรรณ

เส็งวงศ, 2550 : 72 - 73) โดยใชสูตรดังนี้

r=(R_u+R_l)/N

เมื่อ r แทน คาอำนาจจำแนก

R_u แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุมสูง

R_l แทน จำนวนคนที่ตอบถูกในกลุ่มต่ำ

n แทน จำนวนคนทั้งหมดในกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ

3.4 การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

โดยใชสูตรของคูเดอรริชาร์ดสัน KR-20 (ประภาพรรณ เส็งวงศ, 2550 : 73) ดังนี้

r_tt=n/(n-1) {1-(∑▒pq)/s^2 }

เมื่อ r_tt แทน ความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ

k แทน จำนวนข้อสอบ

p แทน สัดสวนของคนที่ตอบถูก

q แทน สัดสวนของคนที่ตอบผิด

s^2 แทน ความแปรปรวนของคะแนน

ในการศึกษาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ ตองคำนวณค่าความแปรปรวน ดังนี้

s^2=(n∑▒x^2 -(∑▒〖x)〗^2)/(n(n-1))

เมื่อ n แทน จำนวนผู้เรียน

ΣX แทน ผลรวมของคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนยกกำลังสอง

〖(∑▒〖x)〗〗^2แทน กำลังสองของผลรวมของคะแนนที่ผู้เรียนทุกคนได้

4. สถิติที่ใชในการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาการบวกลบคูณหารจำนวนนับกลุมสาระการเรียนรูคณิตศาสตร์โดยการคํานวณหาคาประสิทธิภาพของกระบวนการ E_1 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ E_2 หรือ E_1/E_2

(ชัยยงค พรหมวงศ และคณะ, 2550 : 138) มีสูตรดังนี้

E_1=[(∑▒x)/N]/A×100

เมื่อ E_1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ

∑▒x คือ คะแนนรวมที่ได้จากการทำแบบฝกระหว่างเรียน

N คือ จำนวนผู้เรียน

A คือ คะแนนเต็มของแบบฝก

E_2=[(∑▒F)/N]/B×100

เมื่อ E_2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์

∑▒F คือ คะแนนรวมจากการทำแบบทดสอบหลังเรียน

N คือ จำนวนผู้เรียน

B คือ คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน

ผลการวิจัย

จากผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางเรียน เรื่องการแกโจทยปญหาการบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับโดยใชแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์ เทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4 โรงเรียนเทศบาลประตูลี้ เทศบาลเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ผู้วิจัยได้สรุปไว้เป็น 3 ขอ ดังนี้

1. แบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์

การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.33/84.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4 ที่เรียนด้วยแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค

KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปที่ 4

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุปผลการวิจัย

1. แบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์

การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.33/84.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 4 ที่เรียนด้วยแบบฝกทักษะคณิตศาสตร์โดยใชเทคนิค

KWDL เรื่องการแกโจทยปญหาคณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปที่ 4

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

โพสต์โดย ศรีไพร ใจนันตา : [7 ก.ค. 2565 เวลา 10:03 น.]
อ่าน [1840] ไอพี : 183.88.128.36
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 8,608 ครั้ง
ตาดีดี ลองดูซิ "กูเกิ้ล" ปรับโลโก้ใหม่ตรงไหน เขาบอกว่ามีการเขยื้อนองศา เพื่อให้สมดุลย์ ?
ตาดีดี ลองดูซิ "กูเกิ้ล" ปรับโลโก้ใหม่ตรงไหน เขาบอกว่ามีการเขยื้อนองศา เพื่อให้สมดุลย์ ?

เปิดอ่าน 14,575 ครั้ง
ดื่ม"กาแฟ"มากเกินไป เสี่ยงตายเพิ่มขึ้น
ดื่ม"กาแฟ"มากเกินไป เสี่ยงตายเพิ่มขึ้น

เปิดอ่าน 10,699 ครั้ง
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา

เปิดอ่าน 20,670 ครั้ง
8 ตำรับใช้ข้าวเป็นยารักษาโรค
8 ตำรับใช้ข้าวเป็นยารักษาโรค

เปิดอ่าน 15,353 ครั้ง
พระคงคา
พระคงคา

เปิดอ่าน 9,506 ครั้ง
Google "ค้นหา" ข้อมูลเก่งขึ้น
Google "ค้นหา" ข้อมูลเก่งขึ้น

เปิดอ่าน 29,970 ครั้ง
การประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา

เปิดอ่าน 14,013 ครั้ง
ปัญหาหน้าห้องใหญ่กว่านาย ... การศึกษาไทยสะดุด
ปัญหาหน้าห้องใหญ่กว่านาย ... การศึกษาไทยสะดุด

เปิดอ่าน 12,746 ครั้ง
ศธ.เปิด ตู้ ปณ. 319 รับเรื่องร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสและข้อเสนอแนะถึง รมว.ศธ.โดยตรง
ศธ.เปิด ตู้ ปณ. 319 รับเรื่องร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสและข้อเสนอแนะถึง รมว.ศธ.โดยตรง

เปิดอ่าน 13,708 ครั้ง
ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร
ปรัชญาการศึกษา คือแก่นของหลักสูตร

เปิดอ่าน 88,240 ครั้ง
คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู
คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู

เปิดอ่าน 532 ครั้ง
เหตุผลที่ควรเลือกใช้แฟลชไดร์ฟสำรองข้อมูลสำคัญ ๆ แทนการจัดเก็บบนคลาวด์
เหตุผลที่ควรเลือกใช้แฟลชไดร์ฟสำรองข้อมูลสำคัญ ๆ แทนการจัดเก็บบนคลาวด์

เปิดอ่าน 79,531 ครั้ง
เสียงทุ้ม-เสียงแหลม
เสียงทุ้ม-เสียงแหลม

เปิดอ่าน 44,234 ครั้ง
วันเนา
วันเนา

เปิดอ่าน 121,223 ครั้ง
จินตคณิต สูตรคิดเร็ว สูตรคณิต คิดเร็ว
จินตคณิต สูตรคิดเร็ว สูตรคณิต คิดเร็ว

เปิดอ่าน 13,088 ครั้ง
ปัญหาศึกษาไทยใหญ่กว่าฟรี12 หรือ15 ปี
ปัญหาศึกษาไทยใหญ่กว่าฟรี12 หรือ15 ปี
เปิดอ่าน 10,568 ครั้ง
ม.44 ดัน "ศึกษาธิการจังหวัด" เดินหน้าหรือถอยหลังปฏิรูปศึกษา
ม.44 ดัน "ศึกษาธิการจังหวัด" เดินหน้าหรือถอยหลังปฏิรูปศึกษา
เปิดอ่าน 22,744 ครั้ง
ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
ไอเดีย..โครงสร้างศธ.รูปแบบใหม่สลาย5แท่งหวนสู่ "กรม"!
เปิดอ่าน 15,798 ครั้ง
รู้ไหมว่า..น้ำพริกตาแดง...ต้านมะเร็งได้
รู้ไหมว่า..น้ำพริกตาแดง...ต้านมะเร็งได้
เปิดอ่าน 29,882 ครั้ง
ประวัติ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.
ประวัติ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการ กพฐ.

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ