ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล The Development of School-Based Management Model for the Q

การพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

The Development of School-Based Management Model

for the Quality Improvement of Ban Dalam School,

under Satun Elementary Education Service Area Office

มิรินทร์ พนมอุปการ

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดาหลำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนการสร้างรูปแบบ ขั้นตอนการนำรูปแบบไปทดลองใช้ และขั้นตอนการประเมินผลการใช้รูปแบบ

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโรงเรียนบ้านดาหลำ มีการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการดำเนินงานมากที่สุดในด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม รองลงมาคือ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ด้านการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน และด้านการบริหารตนเอง ตามลำดับ 2) รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 ระบบงานและกลไก จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม ส่วนที่ 4 กระบวนการดำเนินงาน และส่วนที่ 5 เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการดำเนินงาน มีขั้นตอนการดำเนินงานตามชื่อ 3s Model (School, Strategy, Success) ผลการประเมินรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยภาพรวม มีความเหมาะสม ความถูกต้อง และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารในปีการศึกษา 2562 พบว่า คุณภาพด้านนักเรียน อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 84.69 คุณภาพครู อยู่ในระดับการดำเนินงานมาก คุณภาพการบริหารจัดการ อยู่ในระดับการดำเนินงานมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ทำให้การพัฒนาของโรงเรียน ในปีการศึกษา 2563 มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2562 ในทุกด้านทั้งด้านผู้เรียน ด้านครูและด้านการบริหารจัดการศึกษา และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหาร พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

Abstract

This study was aimed to develop the school-Based management model for the quality improvement of Ban Dalam School. The study included 3 phrases : the background information study phrase, the model-building phrase, the experimentation phrase, and the evaluation phrase

Findings from this study indicated that 1) The implementation of school-based management model at Ban Dalam School was generally at a high level. When every aspect considered, it was found that school-based management model was applied from the most to the least in the following order of aspects : the participative management aspect, the decentralization aspect, the whole-school transform aspect, the supporting leadership aspect and the self-management aspect. 2) School-based management model for the quality improvement of Ban Dalam School consists of 5 main parts : 1. the concept of the model 2. The objectives of the model 3. work system and mechanism of the 4 components : Planning , Organizational Management, Leading and Monitoring 4. Operation Process and

5. The Conditions of Model Implementation. This experimental management was conducted using 3S Model <School, Strategy, Success>. According to evaluations by qualified professionals, in general, the accuracy, suitability and the possibility of the model implementation were at a highest level 3) The result of the experimental implementation of the model showed that the student quality was at a high level of 84.69 percent, the teacher quality was at a high level and the administration quality was at a highest level. Compared to that in Academic Year 2562, it was found that the implementation of school-based management model resulted in better quality improvement of the school in Academic Year 2563 considered in all aspects : students, teachers , and educational administration. 4) The evaluation of the management model indicated that the satisfaction of the students and the parents toward the implementation of school-based management model for the quality improvement of Ban Dalam School was at a highest level.

Keywords : Development a Model, School - Based Management

บทนำ

การพัฒนาการศึกษาคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 จึงกำหนดบทบาทยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อพัฒนาคนและสังคมไทยให้เป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของประเทศ มีความพร้อมทางกาย ใจ สติปัญญา เป็น คนดี คนเก่ง มีคุณภาพพร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 (สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. 2561 : 31-37) และการที่จะทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพ การร่วมมือกันของสถาบันสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ศาสนา การศึกษา และสื่อ ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญ ด้วยเหตุนี้ การจัดการศึกษาจึงเป็นภารกิจของหลายฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบ ทำหน้าที่อย่างประสานสัมพันธ์กัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าทุกฝ่ายจะมีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา แต่คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าการจัดการศึกษาในระบบสถานศึกษา ก็ยังมีบทบาทสำคัญและเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถดำเนินภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 5 มาตรา 39 และมาตรา 40 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง ให้มีคณะกรรมการสถานศึกษาทำหน้าที่ในการบริหารโดยทำให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการบริหาร มีหน้าที่กำกับ สนับสนุน และส่งเสริม ผู้บริหารโรงเรียนซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษา

จากข้อมูลข้างต้น การบริหารสถานศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารให้ความสำคัญกับการพัฒนา ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และเป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนที่ต้องรู้และเข้าใจจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาและร่วมมือกันการนำองค์การไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีความรู้ ความเข้าใจใฝ่รู้และพัฒนาโรงเรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อมุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดีมีปัญญาและก่อให้เกิดความสุขตามศักยภาพ และที่สำคัญผู้บริหารจะต้องเข้าใจนโยบายของการจัดการศึกษาให้ชัดเจนและคิดหาแนวทางกระบวนการที่จะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการบริหารขึ้น อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา เป็นโรงเรียนที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีสมรรถภาพในการจัดการความรู้ ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีระบบการจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาสถานศึกษา มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีบรรยากาศการเรียนรู้และวัฒนธรรมการทำงานที่มีคุณภาพ จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า ได้มีแนวคิดและวิธีการบริหารหลากหลายรูปแบบที่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อมุ่งให้การบริหารการศึกษาเกิดผลดีและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อาทิเช่น การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management : RBM) การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School Based Management: SBM) และการบริหารแบบมุ่งคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management ) เป็นต้น การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นกลยุทธ์การบริหารและการจัดการศึกษาอีกแนวคิดหนึ่งที่จะทำให้โรงเรียนสามารถบริหารจัดการด้วยตนเองและสามารถตอบสนองในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สันติ บุญภิรมย์. 2553 : 9)

รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เป็นแนวทางในการบริหารที่ผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้กระบวนการบริหารงาน มีการทำงานเชิงระบบ มีทิศทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ของจังหวัดสตูล และของชุมชนเป็นหลัก เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผลที่ได้จะเป็นแนวทางแก่ผู้บริหารโรงเรียนในการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทหรือโรงเรียนของตนโดยเฉพาะการบริหารแบบมีส่วนร่วมในรูปของคณะกรรมการสถานศึกษาในการใช้อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ การตัดสินใจเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

2. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

4. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

1. ทราบถึงปัญหาการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านดาหลำ

2. ได้แนวทางแก่ผู้บริหารโรงเรียนในการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทหรือโรงเรียนของตนโดยเฉพาะการบริหารแบบมีส่วนร่วมในรูปของคณะกรรมการสถานศึกษาในการใช้อำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบ การตัดสินใจเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วิธีดำเนินการวิจัย

วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานของการพัฒนารูปแบบการบริหาร ดำเนินการ ดังนี้

1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

โดยการศึกษาจากผู้บริหารโรงเรียนและศึกษานิเทศก์ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล จำนวน 10 คน แบ่งเป็น ผู้บริหาร จำนวน 8 คน และศึกษานิเทศก์ จำนวน 2 คน เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ด้านการบริหารการศึกษา เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหาร เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าระดับ (Rating Scale) กำหนดประเด็นการสอบถาม 5 ด้าน คือ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้านการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ด้านการบริหารตนเอง และด้านการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน

2. การวิเคราะห์แบบสอบถามโดยใช้โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ดำเนินการ ดังนี้

1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบ แนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของ Briggs, อุทัย บุญประเสริฐ และธีระ รุญเจริญ

2. นำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบ มาร่างรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน จากนั้นตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบด้านความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบโดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เพื่อท่านได้พิจารณาประเด็นความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการนำไปใช้ประโยชน์ของรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง

3. สร้างคู่มือการใช้รูปแบบ และเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบคุณภาพ เพื่อประเมินความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ดำเนินการ ดังนี้

1. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองรูปแบบ ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 16 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 187 คน ของโรงเรียนบ้านดาหลำ ปีการศึกษา 2562 และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 187 คน รวม 212 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2. นำรูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้โดยเริ่มต้นจากการ 2.1) สร้างความเข้าใจและชี้แจงให้บุคลากรในโรงเรียนทราบถึงการใช้รูปแบบตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2.2) ดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดในคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานตามขั้นตอน 3s Model (School, Strategy, Success) เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ตลอดทั้งปีการศึกษา 2562 (ดำเนินการช่วงพฤษภาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563) 2.3) ประเมินผลลัพธ์ที่ได้ในด้านคุณภาพสถานศึกษา ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านครู และด้านคุณภาพการบริหารจัดการของโรงเรียนบ้านดาหลำ

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ เพื่อประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ดำเนินการ ดังนี้

1. ผู้วิจัยนำรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 178 คน ของโรงเรียนบ้านดาหลำ ปีการศึกษา 2563 และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 178 คน ปีการศึกษา 2563 รวม 379 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

โดยดำเนินการตามขั้นตอนการใช้รูปแบบในปีการศึกษา 2562

2. สอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ นำข้อมูลจากแบบสอบถามความพึงพอใจมาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำไปเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

รายละเอียด ดังภาพ

ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล

สรุปผลการวิจัย

1. สภาพปัจจุบันมีการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการดำเนินงาน มากที่สุดในด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม รองลงมาคือ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ด้านการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน และด้านการบริหารตนเอง ตามลำดับ

2. รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 ระบบงานและกลไก จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม ส่วนที่ 4 กระบวนการดำเนินงาน และส่วนที่ 5 เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการดำเนินงาน มีขั้นตอนการดำเนินงานตามชื่อ 3s Model (School, Strategy, Success) ผลการประเมินรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยภาพรวม มีความเหมาะสม ความถูกต้อง และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ พบว่า 1) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารในปีการศึกษา 2562 คุณภาพด้านนักเรียน อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 84.69 คุณภาพครู อยู่ในระดับการดำเนินงานมาก คุณภาพการบริหารจัดการ อยู่ในระดับการดำเนินงานมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ระหว่างปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ทำให้การพัฒนาของโรงเรียนในปีการศึกษา 2563 มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2562 ในทุกด้านทั้งด้านผู้เรียน ด้านครูและด้านการบริหาร จัดการศึกษา

4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ในปีการศึกษา 2563 พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ อยู่ในระดับมากที่สุด

อภิปรายผลการวิจัย

1. สภาพปัจจุบันมีการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการดำเนินงาน มากที่สุดในด้านการบริหารแบบมีส่วนร่วม รองลงมาคือ ด้านการกระจายอำนาจ ด้านการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ด้านการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน และด้านการบริหารตนเอง ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องมาจาก รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ครั้งนี้ เป็นรูปแบบที่ชัดเจนที่ ลงสู่ระดับสถานศึกษา และส่งเสริมสนับสนุนการจัดสรรทรัพยากรให้สถานศึกษาได้พัฒนาตนเองตามแนวทางแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หลักการบริหาร ให้ความสำคัญกับหลักการมีภาวะผู้นำและความพร้อมของสถานศึกษารวมทั้งความร่วมมือของคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นสำคัญ กระบวนการดำเนินงานมีการประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ทุกฝ่ายมีความรู้ เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน

2. รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 แนวคิดและหลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 ระบบงานและกลไก จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม ส่วนที่ 4 กระบวนการดำเนินงาน และส่วนที่ 5 เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการดำเนินงาน มีขั้นตอนการดำเนินงานตามชื่อ 3s Model (School, Strategy, Success) การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน (School Potential Analysis) การกำหนดกลยุทธ์ (Strategy) การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ (Strategy Implementation) และการประเมินผลสำเร็จ (Success) ผลการประเมินรูปแบบตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ โดยภาพรวม มีความเหมาะสม ความถูกต้อง และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีลักษณะเด่นชัดในหลักการคือ การกระจายอำนาจและการบริหารจัดการตนเอง หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม หลักการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ และหลักการบริหารจัดการที่ดี เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือคณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการบริหารตามบทบาทหน้าที่ มีการควบคุมคุณภาพและตรวจสอบได้ มีความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ผู้บริหารหรือผู้อำนวยการมีภาวะผู้นำแบบเกื้อหนุน คือเน้นการสนับสนุน ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกมากกว่าการตรวจตรา มีการให้กำลังใจพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และประกันคุณภาพให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงส่งผลให้รูปแบบการบริหารสอดคล้องกับสภาพและบริบทของชุมชน ทำให้การบริหารโรงเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับงานวิจัยของชญานี ภัทรวารินทร์ (2556 : 299-307) ) ได้ศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชน เอกชน ผลการวิจัยพบว่า ได้รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชน ที่เหมาะสมและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ แนวคิด และหลักการ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมภายนอก ปัจจัยป้อนเข้ากระบวนการ ผลผลิต/ผลลัพธ์ และข้อมูลป้อนกลับ ส่วนที่ 3 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ

3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ พบว่า 1) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารในปีการศึกษา 2562 คุณภาพด้านนักเรียน อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 84.69 คุณภาพครู อยู่ในระดับการดำเนินงานมาก คุณภาพการบริหารจัดการ อยู่ในระดับการดำเนินงานมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ระหว่างปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ทำให้การพัฒนาของโรงเรียนในปีการศึกษา 2563 มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2562 ในทุกด้านทั้งด้านผู้เรียน ด้านครูและด้านการบริหาร จัดการศึกษา ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากองค์ประกอบและกระบวนการดำเนินงานของรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นในครั้งนี้ มีขั้นตอนการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เป็นไปตามขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเขตจังหวัดภาคใต้ตอนบนของบรรจง เจริญสุข (2552 : 92 - 93) ซึ่งได้แบ่งรูปแบบการพัฒนาออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและสำรวจข้อมูลเบื้องต้น โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับทฤษฎี หลักการแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาและหลักธรรมาภิบาล สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักธรรมาภิบาล โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลทีได้สอดคล้องกับงานวิจัยของอีแวนด์ (Evans. 2008 : 2120 - A) ได้ทำการวิจัยเรื่องการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า การนำระบบการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานนั้นจะช่วยพัฒนาโรงเรียนให้เป็นไปในทางบวก หากการดำเนินการเป็นไปตามกระบวนการที่ทุกฝ่ายเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องคำนึงถึงวัฒนธรรมและความเชื่อของบุคลากรในองค์กรนั้นด้วย

4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ในปีการศึกษา 2563 พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ อยู่ในระดับมากที่สุด ในประเด็นที่ว่าผู้บริหารให้กำลังใจและสนับสนุนความคิดริเริ่มและการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ ๆ ของผู้บังคับบัญชา รองลงมาคือ มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมส่วนคณะกรรมการสถานศึกษา สอดคล้องกับงานวิจัยของงานวิจัยของวชิราภรณ์ วงค์ธี (2556 : 136 -137) ได้ทำการวิจัยและศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 พบว่า 1) ครูและผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 มีความคิดเห็นต่อมีการดำเนินงานในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ หลักการบริหารตนเอง 2) ครูและผู้บริหารมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูมีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานมากกว่าผู้บริหาร

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

การนำรูปแบบการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ไปใช้ ควรมีการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารอย่างละเอียดจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปวางแผนปฏิบัติในทุกด้านอย่างเป็นระบบ จึงจะส่งผลให้การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนประสบผลสำเร็จ และส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน

2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อติดตามผลของการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ ที่พัฒนาขึ้น

2.2 ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลความสำเร็จของการบริหารตามแนวคิดโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดาหลำ

บรรณานุกรม

ชญานี ภัทรวารินทร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยสยาม.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.

______. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา

(ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ 2 และประเมินภายนอกรอบ 3. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : นวสาส์น.

บรรจง เจริญสุข. (2552). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล

ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตจังหวัดภาคใต้ตอนบน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วชิราภรณ์ วงค์ธี. (2556). การดำเนินงานในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ตามความเห็น ของครู และผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 22. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษ). นครพนม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครพนม.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการฯ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ.

สันติ บุญภิรมย์. (2553). นวัตกรรมการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). รายงานการวิจัยการศึกษาแนวทางการบริหารและจัดการศึกษา

ในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (2545). การบริหารจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .

Dubrin, A. J. (2003). Essentials of Management (5th ed.). New York: South–Western

College.

Evans, D. (2008). Site Based Management : A Case Study of An Urban high School. Columbia : University Teadners College.

โพสต์โดย รินทร์ : [24 มี.ค. 2565 เวลา 09:10 น.]
อ่าน [2324] ไอพี : 14.207.61.98
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 8,723 ครั้ง
ปรับฮวงจุ้ย รับหน้าฝน
ปรับฮวงจุ้ย รับหน้าฝน

เปิดอ่าน 925 ครั้ง
ยืมเงินไม่คืน แจ้งความได้หรือไม่ ?
ยืมเงินไม่คืน แจ้งความได้หรือไม่ ?

เปิดอ่าน 11,639 ครั้ง
อย่ารีรอ !! เรื่องสุขภาพหน้าจอ
อย่ารีรอ !! เรื่องสุขภาพหน้าจอ

เปิดอ่าน 40,244 ครั้ง
"เสียงกู่จากครูใหญ่" หนังสั้นที่ปลุกพลังผู้เสียสละ เพื่อการศึกษา อนาคตของชาติ
"เสียงกู่จากครูใหญ่" หนังสั้นที่ปลุกพลังผู้เสียสละ เพื่อการศึกษา อนาคตของชาติ

เปิดอ่าน 25,793 ครั้ง
เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์
เลิกครู 5 ปี…แก้ทั้งระบบครบวงจร : โดย สมหมาย ปาริจฉัตต์

เปิดอ่าน 18,874 ครั้ง
อนาคตของระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์
อนาคตของระบบการศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์

เปิดอ่าน 37,329 ครั้ง
การทำระบบน้ำสำหรับการเกษตร และวิธีการติดตั้งที่ดี
การทำระบบน้ำสำหรับการเกษตร และวิธีการติดตั้งที่ดี

เปิดอ่าน 19,210 ครั้ง
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (กัมพูชา)
อาหารยอดนิยมในอาเซียน (กัมพูชา)

เปิดอ่าน 18,457 ครั้ง
10 งานด่วนภายใน 6 เดือนที่ "รมต.ศธ." ควรทำ
10 งานด่วนภายใน 6 เดือนที่ "รมต.ศธ." ควรทำ

เปิดอ่าน 18,450 ครั้ง
สีเสียด
สีเสียด

เปิดอ่าน 112,509 ครั้ง
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการประเมินครูผู้ช่วย
แผนภูมิแสดงขั้นตอนการประเมินครูผู้ช่วย

เปิดอ่าน 20,264 ครั้ง
10 วิธีเจ๋งๆ ในการฝึกภาษาอังกฤษ ให้เก่งได้ด้วยตัวเอง !!
10 วิธีเจ๋งๆ ในการฝึกภาษาอังกฤษ ให้เก่งได้ด้วยตัวเอง !!

เปิดอ่าน 14,352 ครั้ง
จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ
จารีตประเพณีของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ

เปิดอ่าน 10,631 ครั้ง
"เดอะ เกรท ไฟร์วอลล์" กรณีศึกษา "อินเทอร์เน็ต เกตเวย์" จากจีน
"เดอะ เกรท ไฟร์วอลล์" กรณีศึกษา "อินเทอร์เน็ต เกตเวย์" จากจีน

เปิดอ่าน 34,396 ครั้ง
มินาโมโตะ ชิซุกะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน
มินาโมโตะ ชิซุกะ : ตัวละครจากการ์ตูนโดราเอมอน

เปิดอ่าน 14,659 ครั้ง
พระสรัสวดี
พระสรัสวดี
เปิดอ่าน 36,587 ครั้ง
การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์
เปิดอ่าน 13,524 ครั้ง
ศัพท์จากข่าวประท้วง
ศัพท์จากข่าวประท้วง
เปิดอ่าน 13,224 ครั้ง
การเลี้ยงไก่ไข่
การเลี้ยงไก่ไข่
เปิดอ่าน 16,467 ครั้ง
กำแพงกั้นเสียง
กำแพงกั้นเสียง

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ