ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ จังหวัดสุรินทร์

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ จังหวัดสุรินทร์ ในภาพรวมและจำแนกรายด้าน 4 ด้าน ดังนี้ (1) เพื่อประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) (2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) (3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ(Process Evaluation) (4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต(Product Evaluation)ประกอบด้วย (4.1) การประเมินผลกระทบ (Impact evaluation) (4.2) การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness evaluation) (4.3) การประเมินความยั่งยืน (Sustainability evaluation) และ(4.4) การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability evaluation)

กลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากการประเมินในครั้งนี้ผู้รายงานได้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ดังนั้นจึงกำหนดขอบเขต กลุ่มเป้าหมาย และผู้ให้ข้อมูล ดังนี้ ระยะที่ 1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ จำนวน 1 คน ครู จำนวน 19 คน นักเรียน จำนวน 142 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 142 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน รวม 311 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ตัวแทนครู และตัวแทนนักเรียน จำนวน 4 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์จังหวัดสุรินทร์ ผู้ให้ข้อมูลรอง ได้แก่ ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง จำนวน 7 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 6 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ, 2541 : 167) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 1) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ ประกอบด้วย ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) หาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามเป็นรายข้อ หาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบประเมิน 2) สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการ การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus group) การสังเกต (Observation) และการจดบันทึก (Field note)

ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนทับโพธิ์พัฒนวิทย์ จังหวัดสุรินทร์ สรุปผล ได้ดังนี้

1. ผลการประเมินโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เนื่องจากทุกด้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทั้งนี้เป็นเพราะการวางแผนโครงการในแต่ละปีการศึกษา ทางโรงเรียนได้มีการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานโครงการ และได้ให้ความสำคัญกับการศึกษา ที่เป็นการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ และเป็นกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาคนให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในแนวทางที่ดี เพื่อให้บรรลุถึงขีดความสามารถสูงสุด

1.1 ผลการประเมินด้านบริบท (Context) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้การจัดกิจกรรมเป็นไปตามศักยภาพและความพร้อม สามารถสร้างจุดเด่นด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้กับโรงเรียน และโรงเรียนกำหนดกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเหมาะสมกับช่วงวัยของนักเรียน ตลอดจนโรงเรียนกำหนดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

1.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด ซึ่งพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนพร้อมที่จะส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของครูที่จัดกิจกรรม ผู้บริหารโรงเรียนพร้อมที่จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการ โรงเรียนมีการตรวจสอบและรายงาน การใช้เงินงบประมาณของโครงการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และโรงเรียนจัดห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์ และสื่อกิจกรรม ให้มีจำนวนเพียงพอกับจำนวนนักเรียน

1.3 ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด พบว่า โรงเรียนมีการควบคุมและตรวจสอบโครงการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลตามแผน ที่วางไว้ โรงเรียนมีการกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจนก่อนการดำเนินโครงการ และโรงเรียนดำเนินโครงการด้วยความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตามความเหมาะสม

1.4 ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) โดยเป็นการตรวจสอบในส่วนที่เป็น ผลการดำเนินงานโครงการทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย1) การประเมินผลกระทบ (Impact evaluation) เป็นการตรวจสอบผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของการดำเนินโครงการ 2) การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness evaluation) เป็นการตรวจสอบว่าเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด 3) การประเมินความยั่งยืน (Sustainability evaluation) เป็นการตรวจสอบว่าโครงการมีการดำเนินงานหรือมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ และ 4) การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability evaluation) เป็นการตรวจสอบว่ามีการนำผลของโครงการที่ประสบผลสำเร็จ ไปประยุกต์ใช้งานในที่อื่น ๆ หรือไม่ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า นักเรียน มีเจตคติที่ดีและมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชนมากขึ้น ครู นักเรียน และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง ผู้บริหารและครู มีผลงานหรือได้รับรางวัลที่มีรากฐานมาจากผลการปฏิบัติงานที่ดีด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 อยู่ในระดับดีเยี่ยม โรงเรียนได้พัฒนาและปรับปรุงห้องปฏิบัติการ สื่อ และแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยมากขึ้น โครงการสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาถัดไป จำนวนนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละปีการศึกษา โรงเรียนจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และศึกษาดูงานโครงการจากสถานศึกษาอื่น ๆ โรงเรียนจัดแสดงและเผยแพร่ผลงานของโครงการในนิทรรศการทางวิชาการ ในโอกาสต่าง ๆ นอกจากนั้นโรงเรียนนำรูปแบบการดำเนินโครงการที่ประสบผลสำเร็จไปประยุกต์ใช้หรือปรับใช้ในโครงการอื่น ๆ

ข้อเสนอแนะ (Recommendations)

1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้

1.1 โรงเรียนได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนดำเนินงานของโครงการในปีต่อ ๆ ไป

1.2 โครงการมีรูปแบบการประเมินที่ชัดเจนเพื่อเป็นแบบอย่างให้โครงการอื่น ๆ ทั้งในและ

นอกโรงเรียนได้ศึกษา และนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับบริบทของแต่ละโครงการ

2. ข้อเสนอแนะเพื่อการประเมินครั้งต่อไป

2.1 ควรศึกษาและพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ให้มีตัวชี้วัดที่ชัดเจนในทุกปีการศึกษา

2.2 ควรเปรียบเทียบผลการประเมินโครงการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละปีโดยภาพรวม

รวมทั้ง ศึกษาและการวางแผน ออกแบบการประเมิน เพื่อให้ได้ความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียให้สามารถเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก

โพสต์โดย pitak : [5 ก.พ. 2564 เวลา 09:09 น.]
อ่าน [3253] ไอพี : 223.205.248.39
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 57,842 ครั้ง
อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่
อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่

เปิดอ่าน 798 ครั้ง
เครื่องหมาย ฯ (ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย)
เครื่องหมาย ฯ (ไปยาลน้อย หรือ เปยยาลน้อย)

เปิดอ่าน 24,016 ครั้ง
อวกาศมีกลิ่นเหมือนอะไร?
อวกาศมีกลิ่นเหมือนอะไร?

เปิดอ่าน 3,459 ครั้ง
Toyota Yaris 2022 เพื่อนซี้โฉมใหม่ที่ลงตัวมากกว่าเดิม
Toyota Yaris 2022 เพื่อนซี้โฉมใหม่ที่ลงตัวมากกว่าเดิม

เปิดอ่าน 11,250 ครั้ง
เด็กแรกเกิด เรียนไวกว่าผู้ใหญ่ มีฐานการเรียนรู้ขณะนอนหลับติดมากับตัว
เด็กแรกเกิด เรียนไวกว่าผู้ใหญ่ มีฐานการเรียนรู้ขณะนอนหลับติดมากับตัว

เปิดอ่าน 11,047 ครั้ง
ใส่ 8 ข้อ เขียนจดหมายสมัครงานให้สะดุดตา สะดุดใจ
ใส่ 8 ข้อ เขียนจดหมายสมัครงานให้สะดุดตา สะดุดใจ

เปิดอ่าน 12,865 ครั้ง
เจ๋งมั๊ยล่ะ ไอเดียอะไรนะ? ของเด็กไทยที่ถูกเลือกไปทดลองในอวกาศ
เจ๋งมั๊ยล่ะ ไอเดียอะไรนะ? ของเด็กไทยที่ถูกเลือกไปทดลองในอวกาศ

เปิดอ่าน 35,724 ครั้ง
ตัวอย่างหลักสูตรปฐมวัย (ฉบับปรับปรุง2560) โดยโรงเรียนบ้านฝาผนัง ไฟล์เวิร์ด
ตัวอย่างหลักสูตรปฐมวัย (ฉบับปรับปรุง2560) โดยโรงเรียนบ้านฝาผนัง ไฟล์เวิร์ด

เปิดอ่าน 10,651 ครั้ง
ทำไมหนอ ผู้หญิงถึงชอบรองเท้าส้นสูง
ทำไมหนอ ผู้หญิงถึงชอบรองเท้าส้นสูง

เปิดอ่าน 17,731 ครั้ง
ดวงจันทร์ (Moon)
ดวงจันทร์ (Moon)

เปิดอ่าน 6,530 ครั้ง
ไพรเวทคลาวด์ เอ็นเตอร์ไพรซ์คลาวด์ และระบบอื่นๆ
ไพรเวทคลาวด์ เอ็นเตอร์ไพรซ์คลาวด์ และระบบอื่นๆ

เปิดอ่าน 29,495 ครั้ง
Nanmeebooks Reading Club ปีที่ 9
Nanmeebooks Reading Club ปีที่ 9

เปิดอ่าน 30,992 ครั้ง
การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์

เปิดอ่าน 18,138 ครั้ง
อันตราย! ขวดนม 80% มีสารเคมีอันตราย กระทบระบบสืบพันธุ์
อันตราย! ขวดนม 80% มีสารเคมีอันตราย กระทบระบบสืบพันธุ์

เปิดอ่าน 10,086 ครั้ง
งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวงาม
งานเทศกาลท่องเที่ยวดอกกระเจียวงาม

เปิดอ่าน 9,887 ครั้ง
“จ๊อบไทย” ชี้ 5 คุณสมบัติที่องค์กรต้องการจากคนทำงานรุ่นใหม่
“จ๊อบไทย” ชี้ 5 คุณสมบัติที่องค์กรต้องการจากคนทำงานรุ่นใหม่
เปิดอ่าน 11,162 ครั้ง
ออกกำลังกายคลายเครียดในออฟฟิศ เหนื่อยนักก็พักหน่อย
ออกกำลังกายคลายเครียดในออฟฟิศ เหนื่อยนักก็พักหน่อย
เปิดอ่าน 19,097 ครั้ง
ชุดประจำชาติที่ ‘น้องไข่มุก’ ใส่ประกวดมิสยูนิเวิร์สปีนี้
ชุดประจำชาติที่ ‘น้องไข่มุก’ ใส่ประกวดมิสยูนิเวิร์สปีนี้
เปิดอ่าน 17,465 ครั้ง
กฏ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูฯออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ
กฏ ก.ค.ศ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการครูฯออกจากราชการกรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ
เปิดอ่าน 16,048 ครั้ง
ดื่มน้ำ 8 แก้วไม่เพียงพอแล้ว
ดื่มน้ำ 8 แก้วไม่เพียงพอแล้ว

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ