ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การประเมินโครงการดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนวัดโบสถ์ ปีการศึกษา 2561

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึง

ประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนวัดโบสถ์ ปีการศึกษา 2561

ผู้ประเมิน นายทูลใจ ศรีพรหม ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโบสถ์

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนวัดโบสถ์ ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ โดยใช้กรอบการประเมินตามรูปแบบการประเมินไอปู้ (IPOO Model) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสำรวจข้อมูล และศึกษาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยแหล่งข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ครู/บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายศิษย์เก่า และนักเรียน โรงเรียนวัดโบสถ์ ปีการศึกษา 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่และร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการประเมินโครงการ พบว่า

1. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเมิน 4 ประเด็น ได้แก่ ความพร้อมด้านบุคลากร ความพร้อมด้านงบประมาณ ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ และความพร้อมด้านการบริหารจัดการ โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความพร้อมด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ อยู่ในระดับมาก และความพร้อมด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก เช่นกัน

1.1 ความพร้อมด้านบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คณะกรรมการกิจกรรมเป็นผู้มีความพร้อม และกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีและนาฏศิลป์ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด และครูผู้รับผิดชอบดนตรีนาฏศิลป์มีความสามารถเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับครูผู้รับผิดชอบดนตรีนาฏศิลป์มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถด้านดนตรีนาฏศิลป์ อยู่ในระดับมาก

1.2 ความพร้อมด้านงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์นาฏศิลป์อย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเพียงพอ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ มีงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องดนตรีอย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมาก และมีงบประมาณในการสนับสนุนและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรอย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมาก

1.3 ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ และอาคารสถานที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ห้องนาฏศิลป์มีความเหมาะสมเอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เครื่องดนตรี และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับดนตรีนาฏศิลป์ มีจำนวนเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด และห้องดนตรีมีความเหมาะสมเอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

1.4 ความพร้อมด้านการบริหารจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการประสานความร่วมมือด้านดนตรีนาฏศิลป์กับหน่วยงานภายนอก โดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือในระดับต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบที่มีความสามารถเหมาะสมกับแต่ละกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ดนตรีนาฏศิลป์ ที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจนเหมาะสม อยู่ในระดับมาก

2. ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเมิน 4 ประเด็น ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามตรวจสอบและการประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนา ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การติดตามตรวจสอบและการประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด และการปรับปรุงพัฒนา อยู่ในระดับมาก

2.1 การวางแผน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สำรวจ ความพร้อมด้านบุคลากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัสดุอุปกรณ์ เครื่องดนตรีและวัสดุอุปกรณ์นาฏศิลป์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีการจัดทำหลักสูตรและโครงสร้างเวลาเรียนดนตรีนาฏศิลป์โดยความร่วมมือของวิทยากรท้องถิ่นและคณะครูเครือข่าย อยู่ในระดับมากที่สุด และกำหนดกิจกรรมโครงการดนตรีนาฏศิลป์ทั้งกิจกรรมตามหลักสูตร และกิจกรรมสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด

2.2 การดำเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนชมรมดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์ร่วมกิจกรรมกับชุมชนและหน่วยงานภายนอกตามโอกาสต่างๆ อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สนับสนุนนักเรียนที่มีความสามารถดนตรีนาฏศิลป์ เข้าร่วมประกวดแข่งขัน ในเวทีต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด และส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้มีความสามารถด้านนาฏศิลป์ อยู่ในระดับมากที่สุด

2.3 การติดตามตรวจสอบและการประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงการดำเนินโครงการดนตรีนาฏศิลป์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการสะท้อนผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการนิเทศติดตามงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด

2.4 การปรับปรุงพัฒนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการนำผลการวิเคราะห์ไปวางแผนพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ แจ้งผลการดำเนินงานโครงการ ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัด ให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการทุกครั้ง อยู่ในระดับมาก

3. ด้านผลผลิต (Output) จำแนกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ 2) ผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดดนตรีนาฏศิลป์ และ 3) ผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

3.1 ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ซึ่งจากผลการประเมินความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3.1.1 กิจกรรมที่ 1 การจัดทำหลักสูตรดนตรีนาฏศิลป์ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด ได้แก่ ประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์: คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ จุดมุ่งหมายหลักสูตร: เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด และเป้าหมายหลักสูตร: มีสุนทรียภาพ เสริมสร้างจุดเด่น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เชื่อมั่นในตนเอง เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับจุดมุ่งหมายหลักสูตร: ผู้เรียนแสดงออกทางดนตรีนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด

3.1.2 กิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีนาฏศิลป์ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด ได้แก่ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีขั้นตอนการฝึกปฏิบัติชัดเจนต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ จัดการเรียนการสอนดนตรีเพิ่มเติมจากหลักสูตร คือ การร้องเพลง จำนวน 9 เพลง ที่เหมาะสมตามระดับชั้น เช่น เพลงแขกบรเทศชั้นเดียว เพลงลาวจ้อย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์เพิ่มเติมจากหลักสูตร คือ การรำ จำนวน 13 ชุด ที่เหมาะสมตามระดับชั้น เช่น ระบำกรับ ฟ้อนอวยพร รำวงมาตรบาน ระบำอยุธยา อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนกระตือรือร้นในการเรียนดนตรีนาฏศิลป์, นักเรียนมีความสุขในการเรียนดนตรีนาฏศิลป์, นักเรียนได้ฝึกคุณลักษณะจากการเรียนและการฝึกซ้อมดนตรีนาฏศิลป์ เช่น ความอดทน ความรับผิดชอบ ความมีวินัย ฯลฯ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน อยู่ในระดับมากที่สุด

3.1.3 กิจกรรมการฝึกทักษะดนตรีนาฏศิลป์ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด ได้แก่ นักเรียนชมรมดนตรี มีทักษะทางดนตรีในระดับดีเยี่ยม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนชมรมนาฏศิลป์ มีทักษะทางนาฏศิลป์ ในระดับดีเยี่ยม อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนทุกคนมีทักษะทางดนตรีนาฏศิลป์เป็นไปตามเป้าหมายของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

3.1.4 กิจกรรมการสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด ได้แก่ นักเรียนชมรมดนตรี ร่วมแสดงเพื่อสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ในวันสำคัญและการการแสดงเพื่อเปิดกิจกรรม งานต้อนรับ งานพิธี ของทางโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ นักเรียนชมรมนาฏศิลป์ ร่วมแสดงเพื่อสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ ในวันสำคัญและการการแสดงเพื่อเปิดกิจกรรม งานต้อนรับ งานพิธี ของทางโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนสืบสานดนตรีนาฏศิลป์โดยเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันความสามารถทางดนตรีนาฏศิลป์ในเวทีต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนทุกคน มีโอกาสสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ ในโอกาสต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น วันเด็ก ปีใหม่ วันอาเซียน, ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีนาฏศิลป์ร่วมถ่ายทอดเพื่อสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ให้แก่นักเรียน, นักเรียนชมรมอังกะลุงร่วมแสดงเพื่อสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ในวันสำคัญและการการแสดงเพื่อเปิดกิจกรรม งานต้อนรับ งานพิธี ของทางโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน อยู่ในระดับมากที่สุด

3.2 ผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดดนตรีและนาฏศิลป์ พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้แต่ละตัวชี้วัด อยู่ในระดับดีขึ้นไปสูงกว่าร้อยละ 80 ทุกระดับชั้น

3.3 ผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าร้อยละ 80

4. ด้านผลลัพธ์ (Outcome) พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความความพึงพอใจต่อโครงการ ในระดับมากที่สุด โดยโรงเรียนมีผลงาน/รางวัลเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้น อาทิ รางวัลนักเรียนเยาวชนดีเด่น รางวัลการประกวดแข่งขันกิจกรรมดนตรีนาฏศิลป์ ทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนมีเครือข่ายการเรียนรู้ดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ทั้งระดับอำเภอ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับจังหวัด มีหน่วยอื่นมาศึกษาดูงานดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้โรงเรียนวัดโบสถ์ ได้ร่วมเป็นวิทยากร การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ การร่วมการแสดงในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่น งานสมโภชสมเด็จพระนเรศวรมาหาราช งานประจำปีของอำเภอวัดโบสถ์

โพสต์โดย อรรถพงษ์ อินต๊ะวงศ์ : [14 เม.ย. 2563 เวลา 12:12 น.]
อ่าน [3859] ไอพี : 171.100.191.238
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 20,818 ครั้ง
กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง
กระทรวงศึกษาธิการกับการปรับโครงสร้าง

เปิดอ่าน 75,514 ครั้ง
26 มิถุนายน "วันสุนทรภู่"
26 มิถุนายน "วันสุนทรภู่"

เปิดอ่าน 54,966 ครั้ง
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ"คำนำหน้านาม"

เปิดอ่าน 17,410 ครั้ง
จัดฮวงจุ้ย . . . รับโชคปี 52 สู้วัวกระทิงเลือด
จัดฮวงจุ้ย . . . รับโชคปี 52 สู้วัวกระทิงเลือด

เปิดอ่าน 21,806 ครั้ง
ชาญี่ปุ่น หรือชาอังกฤษใครมีประโยชน์กว่ากัน
ชาญี่ปุ่น หรือชาอังกฤษใครมีประโยชน์กว่ากัน

เปิดอ่าน 21,230 ครั้ง
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบกราฟิก
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบกราฟิก

เปิดอ่าน 20,625 ครั้ง
เกมส์ลูกตุ้มแดนมังกร
เกมส์ลูกตุ้มแดนมังกร

เปิดอ่าน 13,997 ครั้ง
เคล็ดลับ 10 ข้อให้คุณดูสดใสขึ้นทันตา
เคล็ดลับ 10 ข้อให้คุณดูสดใสขึ้นทันตา

เปิดอ่าน 21,238 ครั้ง
ประโยชน์ของ เมล็ดดอกทานตะวัน
ประโยชน์ของ เมล็ดดอกทานตะวัน

เปิดอ่าน 24,428 ครั้ง
12 เทคโนโลยี (ไม่) พร้อมใช้ใน Web 3.0
12 เทคโนโลยี (ไม่) พร้อมใช้ใน Web 3.0

เปิดอ่าน 12,040 ครั้ง
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (1)
ปัจจัยฉุดรั้งการศึกษา (1)

เปิดอ่าน 18,795 ครั้ง
คลิปยอดฮิต ครูนกเล็ก ร้อง PPAP สอนเด็กนักเรียน
คลิปยอดฮิต ครูนกเล็ก ร้อง PPAP สอนเด็กนักเรียน

เปิดอ่าน 9,111 ครั้ง
วิธีใช้สายตาอย่างถูกต้อง
วิธีใช้สายตาอย่างถูกต้อง

เปิดอ่าน 12,117 ครั้ง
นอร์แมน โจเซฟ วู้ดแลนด์ ผู้ร่วมคิดค้น"บาร์โค้ด" เสียชีวิตแล้ว วัย 91 ปี
นอร์แมน โจเซฟ วู้ดแลนด์ ผู้ร่วมคิดค้น"บาร์โค้ด" เสียชีวิตแล้ว วัย 91 ปี

เปิดอ่าน 235,115 ครั้ง
ประวัติเครื่องหมายหาร  (÷)
ประวัติเครื่องหมายหาร (÷)

เปิดอ่าน 8,490 ครั้ง
ผู้นำซูเปอร์บอร์ดการศึกษา?
ผู้นำซูเปอร์บอร์ดการศึกษา?
เปิดอ่าน 308,193 ครั้ง
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลจากสัตว์มีพิษกัดต่อย
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลจากสัตว์มีพิษกัดต่อย
เปิดอ่าน 19,912 ครั้ง
กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)
กฎของก๊าซ (THE GAS LAWS)
เปิดอ่าน 94,857 ครั้ง
100อันดับโรงเรียนดีที่สุดปี58
100อันดับโรงเรียนดีที่สุดปี58
เปิดอ่าน 16,087 ครั้ง
ไขข้อสงสัย "หมึกชอต" ทรมานสัตว์หรือไม่?
ไขข้อสงสัย "หมึกชอต" ทรมานสัตว์หรือไม่?

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ