การพัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง สังกัดเทศบาลเมืองพังงา มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ 80/80 (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับคุณภาพของชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านท้ายช้าง สังกัดเทศบาลเมืองพังงา จำนวนทั้งสิ้น 68 คน เลือกด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน จำแนกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ (1) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพแบบเดี่ยว จำนวน 3 คน (2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพแบบกลุ่ม จำนวน 9 คน (3) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพภาคสนามเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 26 คน และ (4) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองใช้จริง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบก่อนเผชิญประสบการณ์และหลังเผชิญประสบการณ์ และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผลิตขึ้นจำนวน 3 หน่วยประสบการณ์ ได้แก่ หน่วยประสบการณ์ที่ 1 การเขียนแบบงานไม้ หน่วยประสบการณ์ที่ 2 การปฏิบัติงานไม้ และหน่วยประสบการณ์ที่ 3 การเคลือบผิวงานไม้ มีประสิทธิภาพ 81.10/80.93, 80.27/81.00 และ 81.52/80.33 ตามลำดับ เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วยประสบการณ์ ทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการออกแบบและปฏิบัติงานไม้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผลิตขึ้น ในระดับ เห็นด้วยมาก