ชื่องานวิจัย การปรับพฤติกรรมการเรียนโดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือในการเรียนรายวิชา
การติดตั้งไฟฟ้านอกอาคาร ของนักเรียน ปวช. 2/3 สาขางานไฟฟ้ากำลัง
ชื่อผู้วิจัย นายจรัญ วรรณประเสริฐ
สาขางาน ไฟฟ้ากำลัง
สถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
ปีการศึกษา 1/2562
ผลการวิจัย พบว่า โดยรวมนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับ ดี จากเดิม เมื่อใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน ทำงาน มีความสอดคล้องกับทฤษฎีของ จอห์นสัน และ จอห์นสัน ได้กล่าวไว้ว่า เป็นกระบวนการทำงานที่มีขั้นตอนหรือวิธีการที่จะช่วยให้การดำเนินงานกลุ่มเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ สมาชิกทุกคนต้องทำความเข้าใจในเป้าหมายการทำงาน วางแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ดำเนินงานตามแผนตลอดจนประเมินผลและปรับปรุงงาน
สรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ ช่วยให้การเรียนแบบร่วมมือดำเนินไปด้วยดี และบรรลุตามเป้าหมายที่กลุ่มกำหนด โดยเฉพาะทักษะทางสังคม ทักษะการทำงานกลุ่มย่อย และกระบวนการกลุ่มซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการฝึกฝน ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกกลุ่มเกิดความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ จากองค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ซึ่งได้แก่ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก การปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันและกัน ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล การใช้ทักษะระหว่างบุคคล การทำงานกลุ่มย่อย และกระบวนการกลุ่ม องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้การเรียนรู้แบบร่วมมือแตกต่างออกไปจากการเรียนรู้เป็นกลุ่มแบบดั้งเดิม (Traditional Learning) กล่าวคือ การเรียนเป็นกลุ่มแบบดั้งเดิมนั้น เป็นเพียงการแบ่งกลุ่มการเรียน เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติงานร่วมกัน แบ่งงานกันทำ สมาชิกในกลุ่มต่างทำงานเพื่อให้งานสำเร็จ เน้นที่ผลงานมากกว่ากระบวนการในการทำงาน ดังนั้นสมาชิกบางคนอาจมีความรับผิดชอบในตนเองสูง แต่สมาชิกบางคนอาจไม่มีความรับผิดชอบ ขอเพียงมีชื่อในกลุ่ม มีผลงานออกมาเพื่อส่งครูเท่านั้น ซึ่งต่างจากการเรียนเป็นกลุ่มแบบร่วมมือที่สมาชิกแต่ละคนต้องมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและต่อเพื่อนสมาชิกในกลุ่มด้วย ซึ่งได้แก่
การรู้จักปกครองตนเอง ควบคุม และแนะนำตนเองให้ประพฤติในทางที่ดีงามอยู่เสมอและเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้