ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสานึกความเปนพลเมืองที่ส่งเสริมจตแห่งความเคารพ และจตแห่งจริยธรรมตามแนวคดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับนั

การพัฒนารปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสานึกความเปนพลเมืองที่ส่งเสริมจตแห่งความเคารพ

และจตแห่งจริยธรรมตามแนวคดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม

สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมุทรปราการ

นางสาวนิรมล ตู้จินดา

ครูชํานาญการพิเศษ

โรงเรียนสมุทรปราการ สังกัดสํานักงานเขตพื้นทการศึกษามัธยมศึกษา เขต 6

นิรมล ตู้จินดา (2560) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่

ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอน

ด้วยการบริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการเรียนการสอนในการ

สร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียน

การสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดําเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูล แนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัย

เพื่อนํามาใช้ในการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

โดยผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ และนําไปทดลองใช้เพื่อศึกษานําร่อง ขั้นตอนที่ 3

นํารูปแบบการเรียนการสอนไปใช้โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Pretest-Posttest Control Group

Design กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ผู้วิจัยใช้การสุ่ม

ตัวอย่างแบบกลุ่ม (clustered random sampling) โดยสุ่มกลุ่มผู้เรียนที่จะใช้ในการวิจัย จํานวน

2 กลุ่ม กลุ่มแรกมีผู้เรียนจํานวน 50 คน และกลุ่มที่สองมีผู้เรียน จํานวน 50 คน จากนั้นใช้การสุ่มอย่าง

ง่าย เพื่อจัดกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่การทดลองและกลุ่มควบคุม ใช้เวลาในการทดลอง 18 สัปดาห์ๆ ละ

1 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 18 สัปดาห์และขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน

โดยดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามทางเดียวโดยมี

การวัดซ้ํา (One-way MANOVA; repeated measures) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการคือผู้เรียนได้แสดงความ

คิดเห็นเรียนรู้ผ่านการร่วมมือในการปฏิบัติสามารถคิดไตร่ตรอง มีการพัฒนาจิต และการฝึกปฏิบัติมีผล

พัฒนาผู้เรียนให้เกิดปัญญาและมีจิตสาธารณะ

2. รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพ

และจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคมจัดพัฒนารูปแบบการเรียนการ

สอนโดยกระบวนการขั้นการเรียนการสอนมี 5 ขั้น ได้แก่ 1) ปัญหาชวนคิด (Challenging Problem)

2) คิดอย่างไตร่ตรอง (Reflective thinking) 3) กระจ่างค่านิยม (Value Clarification) 4) จิตอาสา

(Volunteer Mind) และ 5) สุนทรียสนทนา (Inspired Dialogue) การวัดผลและประเมินผลของ

รูปแบบการเรียนการสอนเป็นการวัดและประเมินผลที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนการสอน และภายหลัง

การเรียนการสอนตามรูปแบบ โดยผู้ประเมินประกอบด้วยตัวผู้เรียน เพื่อน และผู้สอน

3. ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยการทดลองใช้

รูปแบบการเรียนการสอน

3.1 ผู้เรียนกลุ่มทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่

ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม

มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมสูงกว่าผู้เรียนกลุ่ม

ควบคุมที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.2 ผู้เรียนกลุ่มทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่

ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม

มีคะแนนเฉลี่ยของของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรม หลังเรียน

สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3.3 พฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขในรายวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส30270)

กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก

ซึ่งเป็นไปตามความมุ่งหมายของการวิจัยและสมมุติฐานที่ตั้งไว้

Niramol Tuchinda (2017) A development of instructional model to promote citizen

awareness enhancing respectful and ethical mind for

Mathayomsuksa 4 at Samutprakarn School based on social

service learning approach

Abstract

The research aims to develop and study the effectiveness of instructional model to

promote citizen awareness enhancing respectful and ethical mind for Mathayomsuksa 4

based on social work teaching and learning approach. Adopting research and development

methodology, the study was conducted in four phases as follows: (1) The first phase

involved document research and review of literature which were used to synthesize the

instructional model. (2) The instructional model was developed and later verified by experts

before experimented in the pilot study. (3) The instructional model was used by employing

the pretest – posttest control group design with the sampling groups were Mathayomsuksa 4

enrolled in semester 2 of 2017 academic year. The clustered random sampling technique

was used to divide the participants into two groups: the first group comprised of 50 students

and the second 50. Then, they were grouped in the experimental and control group using

the simple random sampling technique. The experiment was conducted for 18 weeks, one

hour a week. (4) The effectiveness of the instructional model was assessed by using

descriptive statistical analysis and One-way MANOVA; repeated measures. The results of the

study were concluded as follows:

1. The developed instructional model consisted of concepts, i.e., the students

expressed their opinion through practical cooperation which encouraged them to

think, consider, develop their mind and practice so that they develop wisdom

and public mind.

2. The instructional model for enhancing respectful mind and ethical mind based

on social work teaching and learning approach included 5 stages: (1) challenging

problem, (2) reflective thinking, (3) value clarification, (4) volunteer mind and

(5) inspired dialogue. The measurement and evaluation of the instruction model

were done during and after teaching period. The evaluators were students, their

peers and their teachers.

3. The assessment of the effectiveness of the developed instructional model

reveals the following results.

3.1 The experimental group’s average score is significantly higher than the

control group’s at .01 level of significance.

3.2 The experimental group’s average score of the posttest is significantly higher

than the control group’s at .01 level of significance.

3.3 The experimental group’s average score of the pleasant learning of Citizen

Awareness (C30270) is very high.

บทนํา

ภูมิหลังการสร้างลักษณะที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้รับการศึกษาเป็นหน้าที่หลักของการศึกษาและเป็นปัจจัย

ที่ทําให้การศึกษามีความสําคัญและมีความจําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ โดยจะเห็นได้จากรัฐบาลของประเทศต่างๆ ล้วนแต่พยายามลงทุนในการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

ของการจักการศึกษาให้สูงขึ้น โดยคาดหวังผลตอบแทนที่จะได้เพิ่ม ก็คือคุณภาพของประชากรใน

ประเทศของตน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชพระบรมราโชวาท

เกี่ยวกับงานด้านการศึกษามีข้อความดังนี้ “งานการศึกษาเป็นงานสําคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติเพราะเจริญและความเสื่อมลงของชาตินั้นขึ้นอยู่กับการศึกษาของชาติเป็นข้อใหญ่ ตามข้อเท็จจริงที่ทราบกันดีแล้ว

ระยะนี้บ้านเมืองของเรามีพลเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งมีสัญญาณบางอย่างเกิดขึ้นด้วยว่า พลเมืองของ

เราบางส่วนเสื่อมทรามลงไปในความประพฤติและจิตใจ ซึ่งเป็นอาการน่าวิตก ถ้าหากยังคงเป็นอยู่อย่างนี้ต่อไปเราอาจจะเอาตัวไม่รอดปรากฏการณ์เช่นนี้นอกจากเหตุอื่นแล้ว ต้องมีเหตุจากการจัดการศึกษาอย่างแน่นอน เราต้องจัดการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นและผู้มีหน้าที่ด้านนี้ทุกฝ่าย ทุกระดับ ทุกคนจะต้องทํางานกันอย่างจริงๆ ให้หนักแน่นขึ้นอีกมากๆ” (สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554)

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีลักษณะที่ผู้คนเห็นแก่ตัวกันมากขึ้น แบ่งเป็นฝักฝ่ายและไม่สนใจ หรือ

ละเลยกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับชุมชนและประเทศชาติแต่กลับนิ่งเฉย และคิดว่าไม่ได้เป็นปัญหาของตนเองเป็นปัญหาที่คนอื่นต้องแก้เอง ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ในปัจจุบันยังมีคนกว่าร้อยละ 60 ของประเทศที่นิ่งเฉย ไม่แสดงท่าทีว่าจะเข้ามาช่วยกันแก้ไขปัญหาจนทําให้ปัญหาทางการเมืองยกระดับไปสู่การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นแนวคิดที่บั่นทอนความเจริญของประเทศอย่างมาก ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นเล็กๆ น้อยๆ ในชุมชน หรือเกิดขึ้นกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคม ไม่ได้รับความร่วมมือจากคนส่วนใหญ่ในสังคมส่งผลให้ปัญหานั้น ๆ บานปลายเกิดขึ้นเป็นปัญหาระดับประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยว่าไร้รากฐาน และความเข้าใจเรื่องความเป็นพลเมือง (สํานักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า. 2553) ในสังคมไทยมีจุดแข็งและจุดอ่อนหลายประการ เช่น มีจุดอ่อนในเรื่องการขาดวินัย ขาดการเคารพ ต่อกติกาของบ้านเมือง

การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่คํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ขาดความรับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมวัฒนธรรมพลเมืองหรือวัฒนธรรมการเมืองไทยให้กลายเป็นแบบศรีธนชัย คือหาช่องโหว่ในตัวบทกฎหมายทําผิดโดยไม่คํานึงถึงศีลธรรมหรือจริยธรรม ดังเห็นได้จากมีระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง การซื้อเสียงเลือกตั้งการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งในทางตรงและทางนโยบาย การจะปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้มีมาตรฐานใหม่ตามวัฒนธรรมการเมืองหรือวัฒนธรรมพลเมืองที่พึงประสงค์จึงไม่ใช่เรื่องง่าย หรืออาจจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะทุกคนในสังคมจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง แต่สิ่งที่หนึ่งที่พึงทํา

ได้คือการอบรมสั่งสอนเด็กรุ่นต่อไปให้มีวัฒนธรรมพลเมืองที่ดีโดยการบรรจุเรื่องวัฒนธรรมพลเมือง

เข้าไปในหลักสูตรการเรียนตั้งแต่อนุบาลจนถึงอุดมศึกษา รวมถึงในหลักสูตรการศึกษานอกห้องเรียน

(ทิพย์พาพรตันติสุนทร. 2554)

ดังนั้นในยุคปัจจุบันจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมพลเมืองเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง

ที่กําลังเกิดขึ้นทั้ง โดยการปรับตัวและเตรียมพร้อมคนให้มีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์

ในอนาคต ทุนของมนุษย์ในโลกยุคใหม่ตามแนวคิดของโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner)

นักวิชาการด้านการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้กล่าวว่าบุคคลจะสามารถเอาตัวรอดและประสบความสําเร็จทั้งในด้านการทํางานและการดําเนินชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้จะต้องมีจิต 5 ประการ ประกอบรวมอยู่ในตัวของคน ๆ นั้น

จากสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในสังคมยุคปัจจุบันและผลการประเมินผู้เรียน

จากงานวิจัยต่างๆ ทําให้ผู้วิจัยมีความต้องการที่จะดําเนินการพัฒนานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

โดยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม

คําถามการวิจัย

รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและ

จิตแห่งจริยธรรมของการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมุทรปราการ มีประสิทธิผลเพียงใด

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิต

แห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมของการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมุทรปราการ

2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาถึงผลที่เกิดขึ้นกับ

นักเรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอน จิตแห่งความเคารพ จิตแห่งจริยธรรม และความสุขใน

การเรียนรู้วิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส 30270)

ความสําคัญของการวิจัย

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพ

และจิตแห่งจริยธรรมของการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

มีความสําคัญดังนี้

1. การวิจัยครั้งนี้มีเป้าหมาย เพื่อสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองพัฒนาจิตใจของผู้เรียนทางด้าน

คุณธรรมและความเคารพต่อสิทธิของตนเองและของผู้อื่น ตลอดจนสามารถนําแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและชีวิตประจําวันได้อย่างเหมาะสม

2. ผลการวิจัยครั้งนี้ทําให้ได้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อสร้างสํานึกความเป็นพลเมือง

พัฒนาจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมของการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถนําไปใช้พัฒนาเป็นรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ได้ต่อไป

ซึ่งหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนํารูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการสร้าง

สํานึกความเป็นพลเมืองแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้โดยตรงขอบเขตของการวิจัยประชากรที่ใช้ในการวิจัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมุทรปราการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จํานวน

12 ห้องเรียน รวม 510 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 โรงเรียนสมุทรปราการ ที่เรียนรายวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง

(ส 30271) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้มาจากกลุ่มตัวอย่างใช้เลือกแบบเจาะจง (purposive Sampling) จํานวน 1 ห้องเรียน ซึ่งเป็นรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ตัวแปรที่ใช้ศึกษา

1. ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริม

จิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมของการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม

2. ตัวแปรตาม คือ ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย

2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนของรายวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส 30271)

2.2 จิตแห่งความเคารพของการประเมินวัดจิตแห่งความเคารพ

2.3 จิตแห่งจริยธรรมของการประเมินวัดจิตแห่งจริยธรรม

2.4 ความสุขในการเรียนรู้รายวิชาสํานึกความเป็นพลเมืองขอบเขตด้านเนื้อหา

ผู้วิจัยจะนํารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ไปใช้ในรายวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง

(ส30271) จํานวน 1 หน่วยกิต ซึ่งเป็นรายวิชาเพิ่มเติมของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ระยะเวลาของการวิจัย

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์พ.ศ. 2561

สถานที่ดําเนินการวิจัย โรงเรียนสมุทรปราการ

นิยามศัพท์เฉพาะ

เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเข้าใจตรงกัน ผู้วิจัยจึงได้กําหนดนิยามของคําศัพท์ที่สําคัญในการ

วิจัยครั้งนี้ดังนี้

1. จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) หมายถึง ความสามารถในการรับรู้เข้าใจ

อารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น เคารพและเข้าใจถึงความแตกต่างทั้งระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มมีการ

ทํางานร่วมกัน เคารพสิทธิมนุษยชน สามารถปฏิบัติตามบุคคลต้นแบบที่ดีมีจิตเมตตาและรู้จักมองโลกในแง่ดีทั้งในช่วงก่อนและหลังการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนการสอน

ด้วยการบริการสังคมที่วัดได้จากแบบวัดจิตแห่งความเคารพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

2. จิตแห่งจริยธรรม (Ethical Mind) หมายถึงความสามารถในการแสดงออกเกี่ยวกับการยึด

มั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับของครอบครัว สถานศึกษาและสังคม บทบาทในหน้าที่การงานและบทบาทของการเป็นพลเมือง การปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดผลงานที่ดีและเป็นพลเมืองที่ดีการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคมด้วยความเต็มใจ

กระตือรือร้น โดยไม่หวังผลตอบแทน ทั้งในช่วงก่อนและหลังการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคมที่วัดได้จากแบบวัดจิตแห่งจริยธรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

3. รูปแบบการเรียนการสอนโดยการบริการสังคม หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนในการ

สร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม โดยในกระบวนการเรียนการสอนและการทํากิจกรรมรับใช้สังคม มีวิธีการที่สังเคราะห์มาจากแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 ปัญหาชวนคิด (Challenging Problem) โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์

จําลอง

ขั้นที่ 2 คิดอย่างไตร่ตรอง (Reflective thinking) โดยใช้กิจกรรมการคิดไตร่ตรอง

ขั้นที่ 3 กระจ่างค่านิยม (Value Clarification) โดยใช้กิจกรรมกระจ่างค่านิยม

ขั้นที่ 4 จิตอาสา (Volunteer Mind) โดยใช้กิจกรรมจิตอาสา

ขั้นที่ 5 สุนทรียสนทนา (Inspired Dialogue) โดยใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนา

4. รายวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส 30271) หมายถึง รายวิชาเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จํานวน 1 หน่วยกิต ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง คุณลักษณะ

ของพลเมือง พลเมืองสากล พลเมืองกับสิ่งแวดล้อม พลเมืองกับประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและสังคม

บทบาทของพลเมืองกับภัยร้ายของชาติการเมืองภาคพลเมือง และสร้างคนต้นแบบคุณภาพพอเพียง

5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสมุทรปราการ

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561

6. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง ผลที่เกิดจากการพัฒนาและการใช้

รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและ

จิตแห่งจริยธรรมของการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม ที่มุ่งการบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้

โดยพิจารณาจาก 4 ประการ ดังนี้

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส30271) จากแบบทดสอบโดยผู้วิจัยเป็นผู้สร้าง

2) จิตแห่งความเคารพ โดยพิจารณาจากแบบวัดจิตแห่งความเคารพโดยผู้วิจัยเป็นผู้สร้าง

3) จิตแห่งจริยธรรม โดยพิจารณาจากแบบวัดจิตแห่งจริยธรรมโดยผู้วิจัยเป็นผู้สร้าง

4) ความสุขในการเรียนรายวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส30271) ของผู้เรียนจากการตอบแบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยผู้วิจัยเป็นผู้สร้าง

7. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความสามรถของนักเรียนที่เป็นผลที่เกิดจากการเรียนการสอนในรายวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส30270) ซึ่งส่งผลกระทบต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งแสดงออกมาจากการปฏิบัติกิจกรรมบริการสังคมด้วยจิตแห่งความเคารพ

จิตแห่งจริยธรรม และความสุขในการเรียน

8. พฤติกรรมความสุขในการเรียนวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส30271) หมายถึง ความรู้สึกเชิงบวกที่แสดงออกถึงความสนใจหรือความชอบของผู้เรียนในขณะปฏิบัติกิจกรรมการเรียน

การสอน ได้แก่ การเข้าเรียนตรงเวลา กระตือรือร้นในการทํากิจกรรมการเรียนการสอน ทํากิจกรรม

ร่วมกัน ตั้งใจทํางานที่ได้รับมอบหมาย แลกเปลี่ยนเรียนร้กู ับเพื่อนและผู้สอน

สมมุติฐานในการวิจัย

1. ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมของการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรม สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่

ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติ

2. ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่

ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมของการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม มีคะแนน

เฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสําหรับเป็นแนวทางในการพัฒนา

รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่ง

จริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 4

ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. การศึกษาและการสอน

2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

2.1 ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน

2.2 องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน

2.3 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

2.4 การนําเสนอรูปแบบการเรียนการสอน

3. แนวคิดจิตสาธารณะ 5 ประการ

4. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับจิตแห่งความเคารพ

4.1 ความหมายของจิตแห่งความเคารพ

4.2 ความสําคัญของจิตแห่งความเคารพ

4.3 องค์ประกอบที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจิตแห่งความเคารพ

4.4 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตแห่งความเคารพ

5. แนวคิดทฤษฎีเก่ยวก ี ับจิตแห่งจริยธรรม

5.1 ความหมายของจิตแห่งจริยธรรม

5.2 ความสําคัญของจิตแห่งจริยธรรม

5.3 องค์ประกอบที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจิตแห่งจริยธรรม

5.4 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตแห่งจริยธรรม

5.5 การวัดจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรม

6. ความสัมพันธ์ระหว่างจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรม

7. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยการบริการสังคม

7.1 ความหมายและคํานิยามของการเรียนรู้โดยการบริการสังคม

7.2 แนวคิดพื้นฐานการเรียนรู้โดยการบริการสังคม

7.3 รูปแบบการเรียนการสอนที่สนับสนุนการเรียนรู้โดยการบริการสังคม

7.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้โดยการบริการสังคม

8. ความสุขในการเรียนรู้

9. สาระการเรียนรู้รายวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส 30271)

10. กรอบแนวคิดในการวิจัย

วิธีดําเนินการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริม

จิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยดําเนินการโดยกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and

Development) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิต

แห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขั้นตอนการดําเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมลแนวค ู ิด ทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัย

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

ขั้นตอนที่ 3 การนํารูปแบบการเรียนการสอนไปใช้

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน

การดําเนินการศึกษา

1. ศึกษาแนวคิดทฤษฎีของจิตแห่งความเคารพ จิตแห่งจริยธรรมและการเรียนรู้โดยการบริการ

สังคม จากตํารา เอกสาร และงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนํามาใช้ในการสังเคราะห์

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

2. พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และเครื่องมือประกอบรูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่

แผนการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน จากนั้น

ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน และเครื่องมือประกอบรูปแบบการเรียนการสอน

โดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 ท่าน

3. ตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบการเรียนการสอน โดยการนํารูปแบบการเรียนการสอน

โดยการนํารูปแบบการเรียนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ไปทําการศึกษานําร่อง (Pilot

study) 2 ครั้งครั้งแรกทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ 1 หน่วยการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

โรงเรียนสมุทรปราการ ในภาคเรียนที่ 1 ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจํานวน 10 คน นําข้อมูล

ที่ได้ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้จากนั้นทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมดกับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างจํานวน 30 คน จากนั้นนําข้อมูล

ที่ได้จากการศึกษานําร่องมาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอนและเครื่องมือประกอบรูปแบบการ

เรียนการสอนให้มีความเหมาะสมบูรณ์ก่อนนําไปใช้ในการทดลองต่อไป

4. นํารูปแบบการเรียนการสอนทดลองสอนไปใช้เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียน

การสอนจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนโดยการบริการสังคมใช้

แบบแผนการทดลองแบบ The Pretest-Posttest Control Group Design ได้นํารูปแบบการเรียนการ

สอนที่ผ่านการปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2

ที่ศึกษาในรายวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส30271) จํานวน 0.5 หน่วยกิต เป็นเวลา 20 สัปดาห์

สัปดาห์ละ 1 คาบ รวมใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 20 คาบ โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองทั้งสิ้น 50 คน และ

กลุ่มควบคุมจํานวน 50 คน

สรุปผลการวิจัย

1. จากการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริม

จิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม ได้รูปแบบ

การเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่สําคัญ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์

ขั้นการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล องค์ประกอบทั้ง 4 มีสาระดังนี้

หลักการ

1. ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น อภิปรายตามแนวทางประชาธิปไตย

2. ผู้เรียนสามารถคิดไตร่ตรอง พิจารณาสิ่งต่างๆ เพื่อนําไปสู่การมีจิตสํานึก ทําให้เกิดความ

ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เป็นการผสมผสานระหว่างการลงมือกระทําและความคิด

ใคร่ครวญ

3. เน้นกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนร่วมสร้างความตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคม

4. ผู้เรียนได้เรียนผ่านการร่วมมือในการปฏิบัติเพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์และความสนใจ

ของผู้เรียน

5. การพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะทางด้านอารมณ์ (Emotional Intelligence) และทักษะ

ทางด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal Intelligence)

6. เน้นการปลูกฝังความตระหนักภายในตน พัฒนาให้มีความเมตตาและมีจิตสํานึกต่อ

ส่วนรวม

7. การพัฒนาจิตและการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดปัญญาที่แท้จริง

8. การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผ่านการคิดใคร่ครวญอย่างมีวิจารณญาณเป็น

กระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติหรือการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา และมีการแลกเปลี่ยนทาง

ความคิดอย่างมีเหตุผลเป็นกระบวนการที่เกิดจากการคิดไตร่ตรอง

9. มีการทํางานแบบร่วมมือผ่านการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งเป็นแนวทางที่จะทําให้ผู้เรียนรู้จัก

การทํางานร่วมกัน

10. การเคารพสิทธิมนุษยชน ทําให้ผู้เรียนคํานึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์

11. การพัฒนาให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม

เป็นการคํานึงถึงประโยชน์ของทุกฝ่าย (Think Win Win) เป็นการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือ

ระหว่างบุคคล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

12. การมีวินัยจะเป็นตัวกํากับ และควบคุมให้การประพฤติปฏิบัติตัวของผู้เรียน การทํา

กิจกรรมต่าง ๆ อยู่ในกรอบหรือในแนวทางที่เหมาะสม รวมถึงการนําไปสู่การฝึกฝนให้เป็นบุคคลที่

ใฝ่เรยนใฝ ี ่รู้นําไปสู่การเรียนตลอดชีวิต

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นตลอดจนรับฟังความคิดที่ความ

แตกต่างหลากหลายกระตุ้นให้เกิดความคิดเริ่มสร้างสรรค์

2. เพื่อให้ผู้เรียนได้คิดไตร่ตรอง สามารถสะท้อนคิดผลงานโดยเชื่อมโยงการทํากิจกรรม

บริการสังคมกับความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน

3. เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันในสังคม เคารพสิทธิ

มนุษย์ชน มีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม

4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักต่อความสําคัญของประสบการณ์การบริการสังคม ซึ่งมา

จากการลงมือปฏิบัติ

5. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการทํางานเป็นกลุ่ม เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้และ

ทางด้านจิตใจ และเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคล เคารพความคิดเห็นและความสามารถของ

ผู้อื่นตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่น

ขั้นการเรียนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอน

ขั้นที่ 1 ปัญหาชวนคิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จําลอง

ขั้นที่ 2 สร้างสรรค์อย่างไตร่ตรอง โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมการคิดไตร่ตรอง

ขั้นที่ 3 กระจ่างด้วยปัญญา โดยใช้กิจกรรมการกระจ่างด้วยปัญญา

ขั้นที่ 4 จิตอาสา โดยใช้กิจกรรมจิตอาสา

ขั้นที่ 5 สุนทรียสนทนา โดยใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนา

การวัดและประเมินผลของรูปแบบการเรียนการสอน

การวัดและประเมินผลตามการเรียนการสอนนี้เป็นการวัดและประเมินผลที่เกิดขึ้น

ทั้งระหว่างการเรียนการสอน และภายหลังการเรียนการสอนตามรูปแบบ โดยผู้ประเมินประกอบด้วย

ตัวผู้เรียน เพื่อนและผู้สอน

2. รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพ

และจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 4

2.1 ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมือง

ที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม

มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจิตแห่งความเคารพ จิตแห่งจริยธรรม และพฤติกรรมการเรียนรู้

อย่างมีความสุขสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีวินัยสําคัญทาง

สถิติที่ระดับ .01

2.2 ผู้เรียนกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมือง

ที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม

มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจิตแห่งความเคารพ จิตแห่งจริยธรรม และพฤติกรรมการเรียนรู้

อย่างมีความสุขหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.3 พฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขในวิชาสํานึกความเป็นพลเมือง (ส30271)

มีคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนในระดับมาก

อภิปรายผลการวิจัย

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสรางส ้ ํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริม

จิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม สําหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประเด็นที่มาอภิปราย 2 ประเด็นจากความมุ่งหมายของการวิจัยคือ 1) การ

พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมือง 2) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ

การเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาผลที่เกิดกับนักเรียนมีรายละเอียดการอภิปรายผลดังนี้

1. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองฯ

จากผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็น

พลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการ

สังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถนําไปใช้พัฒนาให้ผู้เรียนมีจิตแห่งความเคารพและ

จิตแห่งจริยธรรม ได้อย่างมั่นใจ ซึ่งพิจารณาจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญได้ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของ

ผู้เชี่ยวชาญในระดับมาก (M = 4.45) เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็น

พลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการ

สังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ผู้วิจัยได้ดําเนินการอย่างเป็นระบบโดยทําการศึกษาแนวคิดและ

ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรม การบริการสังคมและแนวทางการ

พัฒนารูปแบบการเรียนรู้จากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ พบว่า แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาจิตแห่งความ

เคารพ ควรมีการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์และทักษะทางด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

การทํางานร่วมกัน การเคารพสิทธิมนุษยชน มีบุคคลต้นแบบที่ดีมีจิตเมตตา การคิด แนวคิดเกี่ยวกับ

การพัฒนาจิตแห่งจริยธรรม หลักความรู้คู่คุณธรรม การพัฒนาความฉลาดทางศีลธรรมความรับผิดชอบ

ต่อสังคม การคํานึงประโยชน์ของทุกฝ่าย การมีวินัยอุปนิสัยที่ 4 ของแนวคิดอุปนิสัยทั้ง 8 ประการของ

โควี่และการคิดแบบชนะ ชนะ แล้วนํามาใช้เป็นกรอบแนวคิดพื้นฐานการสังเคราะห์สาระต่าง ๆ ของ

องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน

การสังเคราะห์สาระองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์และ

สังเคราะห์สาระต่าง ๆ เพื่อนํามาเชื่อมโยงกัน โดยทําการวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการของรูปแบบ

การเรียนการสอน เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การสังเคราะห์วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน ขั้นการเรียน

การสอน และการวัดและประเมินผลของรูปแบบการเรียนการสอน จากนั้นผู้วิจัยได้นําสาระต่าง ๆ

มาจัดทําเป็นรูปแบบการเรียนการสอนฉบับร่างให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบและ

มีการนํารูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลอง 2 ครั้ง ก่อนการนํารูปแบบการเรียนการสอนไป

ใช้จริง

จะเห็นได้ว่า การดําเนินการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวมีการดําเนินการอย่าง

เป็นระบบโดยมีแนวคิดและหลักการพื้นฐานเป็นกรอบในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน

นอกจากนั้นรูปแบบการเรียนการสอนยังได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญทําให้รูปแบบการเรียนการสอน

ได้รับการยอมรับว่ามีประสิทธิภาพ สามารถใช้เป็นแบบแผนในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุ

วัตถุประสงค์ในการส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้

ซึ่งการดําเนินการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนนี้สอดคล้องกับแนวคิดของ ทิศนา แขมมณี (2545: 4-5)

ที่สรุปว่า การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจะต้องผ่านการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบการ

เรียนการสอนให้เป็นระบบโดยคํานึงถึงทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องจัดองค์ประกอบต่าง ๆ

ของรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อนําผู้เรียนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของรูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็น

พลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการ

สังคม ประกอบด้วย

ขั้นที่ 1 ปัญหาชวนคิด (Challenging Problem เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีทักษะ

ในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นตลอดจนรับฟังความคิดที่แตกต่างหลากหลายกระตุ้นให้เกิดความคิด

เริ่มสร้างสรรค์ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จําลอง ใช้เทคนิคการเรียนรู้

แบบร่วมมือ เน้นให้ผู้เรียนจัดทําโครงการเป็นกลุ่ม มีการสืบค้นและปฏิบัติงานร่วมมือ เพื่อเตรียมการทํา

โครงการกลุ่ม หรือทํางานที่ผู้สอนได้มอบหมาย พัฒนาให้ผู้เรียนมีจิตแห่งความเคารพ เพราะต้องรู้จัก

การทํางานแบบร่วมมือ เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้และทางด้านจิตใจ ช่วยให้นักเรียนเห็น

คุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเพื่อนๆ เคารพความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่นที่

แตกต่างจากตนตลอดจนรู้จักช่วยเหลือ และสนับสนุนเพื่อนๆ

ขั้นที่ 2 คิดอย่างไตร่ตรอง (Reflective thinking) เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิด

ไตร่ตรอง สามารถสะท้อนคิดผลงานโดยเชื่อมโยงการทํากิจกรรมบริการสังคมกับความรู้ที่ได้จากการ

เรียนการสอนในการวิจัยครั้งนี้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม โดยเน้นให้เป็นผู้ที่รู้จัก

ควบคุมกํากับตนเอง และเป็นผู้ที่รู้จักคิดวิเคราะห์ใช้เหตุผล โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมการคิดไตร่ตรอง

(Reflective Thinking) ให้นักเรียนได้คิดไตร่ตรองจากสถานการณ์จําลองในขั้นปัญหาชวนคิดต่อว่าควร

จะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ที่ให้ได้ซึ่งการทํากิจกรรมในขั้นตอนนี้ทําให้ผู้เรียนเกิดการ

ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม ทําความเข้าใจและทํางานร่วมกับคนที่มีความ

แตกต่างกันอีกด้วย

ขั้นที่ 3 กระจ่างค่านิยม (Value Clarification) การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความ

กระจ่างแจ้งในค่านิยมของตนเอง ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยเน้นกระบวนการใช้คําถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิด

และจะเสนอคําถามต่าง ๆ เช่น ได้ความคิดนี้มาจากไหน ได้พิจารณาทางเลือกอื่น ๆ แล้วหรือยัง ทําแล้ว

จะเกิดผลอะไรบ้าง เคยทําเช่นนี้บ่อยไหม จึงเป็นกระบวนการกระจ่างจริยธรรมของตนเองและถือว่า

เป็นกระบวนการการปลูกฝังจริยธรรม

ขั้นที่ 4 จิตอาสา (Volunteer Mind) เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดการตระหนักใน

หน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันในสังคม เคารพสิทธิ์มนุษยชน มีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง

บุคคลและกลุ่มโดยใช้กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมจิตอาสานี้เป็นกิจกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนา

จิตแห่งจริยธรรม เป็นการปลูกฝังให้ตระหนักถึงความสําคัญของจิตอาสา และสร้างจิตสํานึกโดยมี

กิจกรรมที่ให้การช่วยเหลือและเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น กิจกรรมจิตอาสาเป็นกระบวนการทางการศึกษา

อย่างหนึ่งที่ทําให้นักเรียนมีประสบการณ์โดยการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing) จะทําให้นักเรียน

มีประสบการณ์และสามารถลงมือปฏิบัติให้เกิดผลสําเร็จได้

ขั้นที่ 5 สุนทรียสนทนา (Inspired Dialogue) เป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีทักษะใน

การทํางานเป็นกลุ่ม เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้และทางด้านจิตใจ และเห็นคุณค่าในความแตกต่าง

ระหว่างบุคคล เคารพความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่น ตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุน

ผู้อื่น โดยใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนา (Dialogue) ด้วยการสะท้อนคิด ทําให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้

ความเมตตา และมีจิตสํานึกต่อส่วนรวม ตลอดจนการรับฟังวิธีคิด วิธีการให้คุณค่า ความหมายของคน

อื่นต่อสิ่งที่พูด เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

2. ศึกษาการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็น

พลเมืองฯ

เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึก

ความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วย

การบริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีจิต

แห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมได้อย่างมีประสิทธิผลจริง โดยพิจารณาจาก

2.1 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตแห่ง

ความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบ

การเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรม

ตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตแห่งความเคารพและ

จิตแห่งจริยธรรมสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทาง

สถิติที่ระบบ .01 และเมื่อทําการวิเคราะห์ต่อไปว่ารูปแบบการเรียนการสอนในกลุ่มทดลองและกลุ่ม

ควบคุมนั้นส่งผลต่อตัวแปรตามหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรม

อย่างไร ผลการวิเคราะห์พบว่า

2.1.1 คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมมี

นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งอภิปรายผลได้ว่ากลุ่มทดลองซึ่งเป็นกลุ่มที่รูปแบบการเรียนการสอนใน

การสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการ

เรียนการสอนด้วยการบริการสังคม มีหลักการของรูปแบบที่สําคัญคือ ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านการร่วมมือใน

การปฏิบัติเพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์แลความสนใจของผู้เรียน เน้นกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ตระหนัก

ถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสงคม ั เน้นการปลูกฝังความตระหนักรู้ภายในตน พัฒนาให้มีความเมตตา ทําให้

ผู้เรียนมีจิตสํานึกต่อส่วนรวม เกิดการพัฒนาจิตและการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนเกิดปัญญาที่แท้จริง และ

เมื่อผู้เรียนเข้าใจในหลักการที่สอนอย่างลึกซึ้งและสามารถนําไปปฏิบัติได้แล้วจึงส่งผลให้ผู้เรียนกลุ่มทดลอง

มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของอารีสัณหฉวี

(2551: 33) ที่กล่าวว่า การให้ผู้เรียนทํางานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็กๆ จะทําให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้

และทางด้านจิตใจ สอดคล้องกับผลการวิจัยของสตาร์และราฟท์ (Starr Roxanne Hiltz; & Requel

Benbunan-Fich: 1997) ที่ได้ศึกษาพบว่าการทํางานเป็นกลุ่ม ทําให้เพิ่มแรงจูงใจเกิดการพัฒนาทักษะใน

การรับรู้และการแก้ปัญหา เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งเป็นกลุ่ม และบุคคล และวราพร วันไชยธน

วงศ์และคณะ (2551) ซึ่งพบว่า การทํางานเป็นกลุ่มหรือการร่วมมือกันของบุคคล ทําให้มีการเรียนรู้สูง

กว่าการทํางานตามลําพังและอีกหลักการหนึ่งของรูปแบบการเรียนการสอนจิตแห่งความเคารพและจิต

แห่งจริยธรรมตามแนวคดการเร ิ ียนการสอนโดยการบริการสังคมคือผู้เรียนสามารถคิดไตร่ตรอง พิจารณาสิ่ง

ต่างๆ เพื่อนําไปสู่การมีจิตสํานึก ทําให้เกิดความตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เป็นการผสมผสาน

ระหว่างการลงมือกระทําและการคิดไตร่ตรอง ทําให้ผู้เรียนมีทักษะทางด้านอารมณ์และทักษะทางด้าน

การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของกู๊ป (Krupp; citing Gramston; &

Wellman. 1997: 1) ที่กล่าวว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดจากการคิดไตร่ตรองผู้ใหญ่มิได้เรียนรู้

จากประสบการณ์โดยตรง แต่พวกเขาเรียนรู้จากการประมวลผลประสบการณ์ทั้งหมด

2.1.2 คะแนนเฉลี่ยของจิตแห่งความเคารพของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมี

นัยสําคัญทางสถิติท่ระด ี ับ .05 จากผลดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้ว่า ผู้เรียนกลุ่มทดลองซึ่งใช้รูปแบบ

การเรียนการสอนจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนโดยการบริการ

สังคม ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ตลอดจนรับฟังความคิดที่แตกต่างหลากหลาย กระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อีกทั้งยังพัฒนาให้

ผู้เรียนได้คิดไตร่ตรอง สามารถสะท้อนคิดผลงานโดยเชื่อมโยงการทํากิจกรรมบริการสังคมกับความรู้ที่ได้

จากการเรียนการสอนและพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในการทํางานเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้ง

ด้านความรู้และทางด้านจิตใจ ทําให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเพื่อนๆ เคารพ

ความคิดเห็นและความสามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนผู้อื่น ซึ่ง

กระบวนการดังกล่าวเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีจิตแห่งความเคารพ ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวสอดคล้อง

กับแนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner. 2006: 203) ที่กล่าวว่าบุคคลที่มีจิตแห่งความเคารพ ต้องสามารถ

ตอบสนองต่อคนหรือกลุ่มคนที่มีความแตกต่างที่หลากหลายอย่างเห็นอกเห็นใจและเป็นไปในทาง

สร้างสรรค์เป็นความพยายามที่จะเข้าใจและทํางานร่วมกับคนที่มีความแตกต่าง และสอดคล้องกับ

สํานักงานคณะกรรมการข้าราชพลเรือน (2551: 18) ที่กล่าวว่าผู้ที่มีจิตแห่งความเคารพเป็นบุคคลที่

ยอมรับและทําความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล และความแตกต่างระหว่างกลุ่มคน เป็นการ

พยายามทําความเข้าใจมุมมอง ทัศนคติอารมณ์หรือสิ่งกระตุ้นที่อยู่เบื้องหลังของความแตกต่างระหว่าง

คนหรือกลุ่มคน โดยความเคารพนั้นสามารถแสดงออกได้ทางพฤติกรรมทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ

ซึ่งสามารถรับรู้ได้จากทั้งผู้ให้ความเคารพและผู้ที่ได้รับความเคารพ

2.1.3 คะแนนเฉลี่ยของจิตแห่งจริยธรรมของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมี

นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้ว่า ผู้เรียนกลุ่มทดลองซึ่งใช้รูปแบบ

การเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรม

ตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาให้ผู้เรียนมี

ความตระหนักต่อความสําคัญของประสบการณ์การบริการสังคมซึ่งมาจากการลงมือปฏิบัติและการคิด

ไตร่ตรอง และพัฒนาให้ผู้เรียนมีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกันในสังคม เคารพสิทธิ

มนุษยชน มีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม ซึ่งข้อสรุปดังกล่าวสอดคล้องกับ

แนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner. 2006: 205) ที่กล่าวว่าบุคคลที่มีจิตแห่งจริยธรรมต้องสามารถปฏิบัติ

ตามบทบาทในหน้าที่การงานและบทบาทของการเป็นพลเมือง รวมทั้งการปฏิบัติอย่างเสมอต้นเสมอ

ปลาย และสอดคล้องกับสํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2550: 19) ที่กล่าวว่า บุคคลที่มี

จิตแห่งจริยธรรมต้องสามารถรักษาคุณงามความดีโดยยังคงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างการรักษาบทบาท

หน้าที่ที่ตนได้รับกับการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและของประเทศชาติตลอดจนการคํานึงถึงความ

ถูกต้อง และผลประโยชน์ของส่วนรวม แม้จะขัดแย้งกับผลประโยชน์และความต้องการส่วนตน และ

แนวคิดของแอมโบสด์และครอส (Ambrode; & Cross. 2009: 214) ที่มีความเห็นว่าบุคคลที่มีจิตแห่ง

จริยธรรมต้องเป็นผู้ที่สามารถใช้จิตแห่งจริยธรรม ในบทบาทที่เป็นสมาชิกของชุมชน ประเทศและ

พลเมืองโลกตลอดจนสามารถพิจารณาถึงผลกระทบจากการทํางานและการปฏิบัติตนในสังคมที่มี

ความแตกต่าง

2.2 ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จิตแห่ง

ความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนในกลุ่มทดลอง พบว่าผู้เรียนกลุ่ม

ทดลองที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพ

และจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทาง

สถิติที่ระดับ .01 ผลการวิเคราะห์พบว่า

2.2.1 คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนเรียน

อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้ว่า ผู้เรียนกลุ่มทดลองซึ่งใช้

รูปแบบการเรียนการสอนจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนโดยการ

เรียนการสอนโดยการบริการสังคมมีการทํากิจกรรมในขั้นตอนการเรียนการสอน 5 ขั้นคือ 1) ปัญหาชวน

คิดสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จําลอง 2) สร้างสรรค์อย่างไตร่ตรอง โดยใช้

กิจกรรมส่งเสริมการคิดไตร่ตรอง 3) กระจ่างด้วยปัญญา โดยใช้กิจกรรมการกระจ่างค่านิยม 4) จิตอาสา

โดยใช้กิจกรรมจิตอาสา และ 5) สุนทรียสนทนา โดยใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนา ซึ่งการทํากิจกรรมการ

เรียนการสอนดังกล่าวมีส่วนพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น โดยในขั้นที่ 5 ใช้กิจกรรม

สุนทรียสนทนาสอดคล้องกับแนวคิดของวรภัทร์ภู่เจริญ (2552ก: 11) ที่กล่าวว่าสุนทรียสนทนาทําให้เกิด

การค้นพบตนเอง เข้าใจตนเองการสะท้อน (Reflect) ให้เห็นตัวตนของเราเองชัดขึ้นเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่วงจร

การเรียนรู้ (Learning Cycle) และผลการวิจัยของสนิท สัตโยภาส (2556) และพงษธร ตันติฤทธิ์ศักดิ์

(2552: 1) พบว่าการจัดการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษาโดยการทํากิจกรรมสุนทรียสนทนาเป็น

การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเข้ามาดําเนินการจัด

กิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ให้แก่กันในชั้นเรียน ก็จะทําให้เกิดความสอดคล้องกันและทําให้ผู้เรียน

เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation) ได้อีกทั้งผลการวิจัยนี้ยังมีความสอดคล้องกับการ

พัฒนาจิตแห่งความเคารพตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ (Gardner. 2006: 205) ที่มีความคิดเห็นว่าจิต

แห่งความเคารพสามารถพัฒนาได้ทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว โรงเรียน ที่ทํางาน และควรพัฒนา

จิตแห่งความเคารพตั้งแต่เกิดและวัยเด็กถึงวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาสําคัญที่จะพัฒนาให้เกิดจิตแห่งความ

เคารพซึ่งทําให้เกิดความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้เกียรติและเคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพและ

เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่ม ตลอดจนเปิดใจที่จะรับฟังความเห็นของผู้อื่นที่

แตกต่างจากความคิดของตนเอง อันจะนําไปสู่ความสําเร็จในการทํางานและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง

สงบสุข

2.2.2 จิตแห่งความเคารพของผู้เรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทาง

สถิติที่ระดับ .01 จากผลดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้ว่าผู้เรียนกลุ่มทดลองซึ่งใช้รูปแบบการเรียนการสอน

ในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการ

เรียนการสอนด้วยการบริการสังคม มีกิจกรรมที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพคือ การทําสุนทรียภาพตาม

แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาจิตแห่งความเคารพ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทําให้

ผู้เรียนมีความตระหนักรู้ความเมตตา และมีจิตสํานึกต่อส่วนรวม ซึ่งการทํา Dialogue เป็นการรับฟัง

วิธีคิด วิธีการให้คุณค่าความหมายของคนอื่นต่อสิ่งที่พูด เพื่อเรียนซึ่งกันและกัน สอดคล้องกับงานวิจัย

ของลักษณ์นันท์เดชบุญ (2556) และพงษธร ตันติฤทธิศักดิ์ (2552: 2) ที่พบว่าการทําสุนทรียสนทนา

ทําให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Transformation) เพราะช่วยให้ผู้เรียนมีฐานคิด (Conceptual

Basis) และแนวทาง (Guideline) ในการเข้าใจ วางแผน เตรียมการ ดําเนินการ และประเมินชั้นเรียน

หัวใจของกระบวนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาอยู่ที่ การมีสติระลึกได้รู้เนื้อรู้ตัวอยู่เสมอ รู้ว่า

กระบวนการใดเหมาะกับตัวผู้เรียนเองและเหมาะกับชั้นเรียน มีความจดจ่อต่อเนื่องไม่ย่อท้อ เกิด

ความสุขรู้สึกดีทั้งก่อนระหว่างและหลังทํา ผ่อนคลาย มีใจตั้งมั่น มีการให้ความสําคัญกับการสร้างเหตุ

ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานคือ การมีสติระลึกได้รู้เนื้อรู้ตัวอยู่เสมอ รู้ว่ากระบวนการใดเหมาะ

กับตัวผู้เรียนเองและเหมาะกับชั้นเรียน มีความจดจ่อต่อเนื่องไม่ย่อท้อ เกิดความสุขรู้สึกดีทั้งก่อน

ระหว่าง และหลังทํา ผ่อนคลาย มีใจตั้งมั่น และที่สําคัญคือไม่คาดหวัง

2.2.3 จิตแห่งจริยธรรมของผู้เรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทาง

สถิตทิี่ระดับ .01 จากผลดังกล่าวสามารถอภิปรายผลได้ว่าผู้เรียนกลุ่มทดลองซึ่งใช้รูปแบบการเรียนการสอน

ในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิด

การเรียนการสอนด้วยการบริการสังคม มีกิจกรรมการเรียนการสอนในขั้นที่ 3 กระจ่างค่านิยม

ซึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมจิตแห่งจริยธรรม ที่สามารถนํามาใช้ในการพัฒนาจริยธรรมได้ตามแนวความคิดของ

การ์ดเนอร์ (Gardner. 2006: 130) สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (2550: 42) ทิศนา

แขมมณี (2542: 19) และวิชัย วงษ์ใหญ่และมารุต พัฒนา (2552) ซึ่งมีความเห็นสอดคล้องกันว่าควรใช้

การปลูกฝังจริยธรรมด้วยการกระจ่าง ซึ่งเป็นวิธีสอนจริยธรรมที่ใช้กันกว้างขวางในประเทศสหรัฐอเมริกา

แนวความคิดพื้นฐานมาจาก ฮามินและซิมอน (Harmin; & Simon. 1996) ที่เชื่อว่าค่านิยมคือหลักการ

ประพฤติปฏิบัติตนต่อสิ่งต่างๆ ที่บุคคลถือว่าดีงาม ถูกต้องและควรแก่การยึดถือ กระบวนการกระจ่าง

ค่านิยมมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเองว่าหลักการประพฤติปฏิบัติของตนเองต่อสิ่งต่างๆ เป็น

อย่างไรและหลักการที่ดีที่ถูกต้องตามความคิดของตนเป็นอย่างไร และการทํากิจกรรมกาเรียนการสอนใน

ขั้นที่ 4 จิตอาสาสอดคล้องกับงานวิจัยของสุนิสา ทรงอยู่ (2560) ที่ทําการศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนา

แรงจูงใจอาสาและจิตอาสาตามแนวคิดทฤษฎีการรู้คิดทางสังคมและการเรียนรู้จากการให้บริการสังคมที่มี

ผลต่อพฤติกรรมอาสาของนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานีพบว่า นักศึกษาที่เข้าร่วม

โปรแกรมมีพฤติกรรมอาสาแล้วการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ .05 และ

นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรม มีพฤติกรรมอาสาหลังจากการทดลองสูงกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม

นอกจากผู้เรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นแล้ว ยังพบว่ามีแรงจูงใจที่ดีต่อการ

บริหารชุมชนและสังคม มีสํานึกความเป็นพลเมืองให้คุณค่าต่อกิจกรรมบริหารสังคม มีแนวทางในการ

พิจารณาปัญหาสังคมอย่างมีระบบ และมีความอดทนต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรม ซึ่งจะใช้เป็นแนวทาง

ที่จะนําไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งความจริยธรรม

ของคุณงามความดีรวมทั้งการจัดกิจกรรมบริหารสังคมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมสํานึกดีและการปฏิบัติ

ตนเพื่อสังคมแห่งความเป็นพลเมือง

2.3 พฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของผู้เรียนกลุ่มทดลอง พบว่า คะแนนเฉลี่ย

โดยรวมของพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับ

พฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุขในระดับมาก สามารถอภิปรายได้ว่า ในการจัดการเรียน การสอน

ตามใช้รูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและ

จิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคมนั้น ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้

และได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติงาน อีกทั้งผู้เรียนทุกคนยังได้มีส่วนร่วมในการทํางานทุกขั้นตอน ตั้งแต่

ร่วมกันแก้ปัญหาสถานการณ์คิดไตร่ตรอง การกระจ่างค่านิยม การทํากิจกรรมจิตอาสา และการทํา

สุนทรียสนทนา ซึ่งทําให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการทํางาน ได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน เน้นการปลูกฝังความ

ตระหนักรู้ภายในตนเอง ความเมตตาและจิตสํานึกต่อส่วนรวม การนําปรัชญาและศาสนธรรมมาพัฒนาจิต

ฝึกปฏิบัติจนมีสติและเกิดปัญญาสามารถเชื่อมโยงศาสตร์ต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตน

ผู้อื่นและสังคม

โดยภาพรวมจากผลการศึกษาได้ค้นพบรูปแบบการเรียนการสอนแนวใหม่ในการจัดการ

เรียนการสอนเพื่อสร้างสํานึกความเป็นพลเมือง ซึ่งปรากฏชัดได้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้าง

สํานึกพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการ

บริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถปลูกฝังความตระหนักสู่ภายในตนเองของ

ผู้เรียนถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมพัฒนาให้มีความเมตตา ทําให้ผู้เรียนมีจิตสํานึกต่อส่วนรวม มี

ผลทําให้เกิดการพัฒนาจิตสามารถฝึกให้ผู้เรียนเกิดปัญญาที่แท้จริง อันเป็นแนวทางส่งเสริมพฤติกรรม

สํานึกความเป็นพลเมืองสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

1. ข้อเสนอแนะในการนํารูปแบบการเรียนการสอนไปใช้

1.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การบริหารการจัดการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันควรเน้น

เรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาด้านจิตใจของผู้เรียนทางด้านคุณธรรมและความเคารพต่อ

สิทธิของตนเองและของผู้อื่น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนําแนวความคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและ

ชีวิตประจําวันได้อย่างเหมาะสม

1.2 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความ

เป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิตแห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการ

บริการสังคม สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สามารถนําไปใช้พัฒนาเป็นรูปแบบการเรียนการสอน

ไปใช้ได้ต่อไป ซึ่งครูผู้สอน หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนํารูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวไป

ประยุกต์ใช้ในการพัฒนาความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้โดยตรง

2. ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรมีการนํารูปแบบการเรียนการสอนในการสร้างสํานึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมจิต

แห่งความเคารพและจิตแห่งจริยธรรมตามแนวคิดการเรียนการสอนด้วยการบริการสังคมไปใช้กับ

นักเรียนในรายวิชาต่างๆ หรือในระดับการศึกษาอื่นๆ

2.2 ควรมีการศึกษาตัวแปรอื่นร่วมด้วย เช่น แบบการเรียนรู้ของผู้เรียน การทํากิจกรรม

การเรียนรู้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานวิจัยชิ้นนี้

2.3 การทํากิจกรรมจิตอาสาในการวิจัยครั้งนี้มีข้อจํากัดเรื่องงบประมาณของนักเรียน

ในการจัดกิจกรรมบําเพ็ญประโยชน์ดังนั้นก่อนจะทําการวิจัย ควรมีการวางแผนกิจกรรมจิตอาสาที่มุ่ง

บริการช่วยเหลือ โดยไม่ใช้ทุนทรัพย์หรือใช้ให้เหมาะสมจําเป็นเป็นที่สุด หรือสนับสนุนให้เป็นการจัดหา

แหล่งทุน แหล่งเงินสนับสนุนจากหน่วยต่าง ๆ เพื่อนํามาใช้ได้อย่างสะดวก

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

เกียรติศักดิ์แสงอรุณ. (2551). แนวทางการพัฒนาจิตสานํ กสาธารณะส ึ าหร ํ ับเยาวชนไทย:

กรณีศึกษากลมและเคร ุ่ ือข่ายเยาวชนที่ทางานด ํ านจ ้ ิตสํานึกสาธารณะ. ปริญญานิพนธ์ค.ม.

(พัฒนศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จฬาลงกรณ ุ ์มหาวิทยาลัย. ถ่ายเอกสาร.

ธนา นิลชยโกว ั ิทย์. (2551). “การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและจิตตปัญญาศึกษา ในจิตตปัญญาศึกษา:

การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์,” บทความประชุมวิชาการประจาปํ ี 2551. กรุงเทพฯ:

โครงการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลยมห ั ิดล. หน้า 3-25.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพอสร ื่ างพลเม ้ ือง.กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ลักษณ์นันท์เดชบุญ. (2556). รูปแบบการฝกอบรมเพ ึ ื่อพฒนาความฉลาดทางอารมณ ั ์. ปรญญาน ิ พนธ ิ ์

คด. (บริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช.

วิไลลักษณ์แกวจ้ ินดา. (2556). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อเสรมสร ิ ้างความฉลาดทางอารมณ์

ของนักเรยนี ระดับมธยมศ ั ึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์คด. (หลกสั ูตรและการสอน). ชลบุรี:

มหาวิทยาลัยบูรพา.

สนิท สัตโยภาส. (2556). การใช้กระบวนวชาจ ิ ิตตปัญญาศึกษาพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมและค่านยมิ

อันพึงประสงค์แก่นักศึกษา. คณะมนุษย์ศาสตรและส ์ ังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎชียงใหม่.

สํานักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง. (2553). โครงการพลเมืองวัยใสใสใจบ ่ ้านเมือง. กรุงเทพฯ:

สถาบันพระปกเกล้า.

Terry, Alice Wickersham. (2000). A Case Study of community Action Service Learning

on Young, Gifted Adolescent and Their Community. Dissertation Abstract

International. (61-08A).

Texas Center for Service-learning. (2009). Learn and Serve Texas. Texas: Education

Service Center.

โพสต์โดย เม่น : [19 ส.ค. 2562 เวลา 14:05 น.]
อ่าน [3437] ไอพี : 171.99.157.246
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,234 ครั้ง
ปลูกมะนาว 10 ไร่ รายได้ 1.8 ล้านบาทต่อปี
ปลูกมะนาว 10 ไร่ รายได้ 1.8 ล้านบาทต่อปี

เปิดอ่าน 75,105 ครั้ง
วิธีการสอนนกแก้ว นกขุนทองพูด
วิธีการสอนนกแก้ว นกขุนทองพูด

เปิดอ่าน 80,925 ครั้ง
"ครูผู้เสียสละ" ภาพยนตร์สั้นเชิดชูพระคุณครู เนื่องในวันครู พ.ศ.2563 โดย เซเว่นอีเลฟเว่น
"ครูผู้เสียสละ" ภาพยนตร์สั้นเชิดชูพระคุณครู เนื่องในวันครู พ.ศ.2563 โดย เซเว่นอีเลฟเว่น

เปิดอ่าน 12,927 ครั้ง
เปิด4เมนูอาหารชุด นิยมใช้ตักบาตร ทำสงฆ์ป่วยสารพัดโรค
เปิด4เมนูอาหารชุด นิยมใช้ตักบาตร ทำสงฆ์ป่วยสารพัดโรค

เปิดอ่าน 13,716 ครั้ง
ตัวอย่างภาพถ่าย จากกล้องของ iPhone 5
ตัวอย่างภาพถ่าย จากกล้องของ iPhone 5

เปิดอ่าน 13,874 ครั้ง
ชวน สวดมนต์ข้ามปี รับ ปีใหม่ 2553
ชวน สวดมนต์ข้ามปี รับ ปีใหม่ 2553

เปิดอ่าน 17,182 ครั้ง
คลิป งูกินงู กินกลืนกันสดๆ งูหางกระดิ่ง VS King Snake
คลิป งูกินงู กินกลืนกันสดๆ งูหางกระดิ่ง VS King Snake

เปิดอ่าน 14,476 ครั้ง
อย.เตือนหยุดใช้ลิปสติกดังบางรุ่นชั่วคราว หลังสื่อนอกตีข่าวพบปนเปื้อนสารตะกั่ว
อย.เตือนหยุดใช้ลิปสติกดังบางรุ่นชั่วคราว หลังสื่อนอกตีข่าวพบปนเปื้อนสารตะกั่ว

เปิดอ่าน 14,405 ครั้ง
เผยทีเด็ดชนะใจสาวอย่างง่ายที่สุด เล่าเรื่องตลกที่ ตัวเองหน้าแตก
เผยทีเด็ดชนะใจสาวอย่างง่ายที่สุด เล่าเรื่องตลกที่ ตัวเองหน้าแตก

เปิดอ่าน 36,999 ครั้ง
ภาพมาโคร คืออะไร?
ภาพมาโคร คืออะไร?

เปิดอ่าน 43,815 ครั้ง
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : ยูคลิด (Euclid)
ประวัติย่อของคณิตศาสตร์ : ยูคลิด (Euclid)

เปิดอ่าน 25,915 ครั้ง
การเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะ
การเบิกจ่ายเงินวิทยฐานะ

เปิดอ่าน 11,858 ครั้ง
เสริมสร้างความเข้าใจและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการคิดแบบปิงปองดูสิ
เสริมสร้างความเข้าใจและกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการคิดแบบปิงปองดูสิ

เปิดอ่าน 1,422 ครั้ง
สีเสื้อมงคล 2567 เสริมดวงปัง ตลอดปี
สีเสื้อมงคล 2567 เสริมดวงปัง ตลอดปี

เปิดอ่าน 14,204 ครั้ง
สารพัดวิธี เบิร์น 100 กิโลแคลอรี่ แค่ไม่ถึงชั่วโมง แบบง่ายๆ
สารพัดวิธี เบิร์น 100 กิโลแคลอรี่ แค่ไม่ถึงชั่วโมง แบบง่ายๆ

เปิดอ่าน 59,385 ครั้ง
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก
เปิดอ่าน 118,523 ครั้ง
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
คอมพิวเตอร์กับการศึกษา
เปิดอ่าน 20,045 ครั้ง
เครื่องคชาภรณ์ (เครื่องแต่งตัวช้างสำคัญ)
เครื่องคชาภรณ์ (เครื่องแต่งตัวช้างสำคัญ)
เปิดอ่าน 29,847 ครั้ง
กุ้งลายเสือ - เรื่องน่ารู้
กุ้งลายเสือ - เรื่องน่ารู้
เปิดอ่าน 8,628 ครั้ง
กรมวิทย์ยัน ตรวจขวดน้ำพลาสติกทิ้งกลางแดดร้อน ไม่พบสารพิษไดออกซิน
กรมวิทย์ยัน ตรวจขวดน้ำพลาสติกทิ้งกลางแดดร้อน ไม่พบสารพิษไดออกซิน

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ