ผู้วิจัย นางวาสนา นาคคล้าม ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 โรงเรียนเทศบาล 4 ระบบสาธิตเทศบาลเมืองลพบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แผนการการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ การเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียน และครู ต้องการให้จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น นิทาน บทเพลง บทความ บทโฆษณา สารคดี บทร้อยกรอง และข่าว นักเรียนได้รับความรู้ทั้งในด้านการอ่านและการเขียน และความรู้ที่ใกล้ตัว มีรูปแบบที่เหมาะสมกับนักเรียน
2. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีประสิทธิภาพ 83.95/82.80
3. การทดลองจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRCเพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสนใจและกระตือรือร้นในการเรียน มีความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ช่วยให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านและมีทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ได้มากขึ้น
4. ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ CIRC เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก(X-ิbar = 2.76)