ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

นางศิริรัตน์ อินทรกำแหง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย

สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

________________________________________________________________________________

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้ว ผดุงพิทยาลัย 3) เพื่อติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ ครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 15 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 225 คน ปีการศึกษา 2561 โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Focus Group) สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน พี่เลี้ยงทางวิชาการ บุคลากรจากภาคีหน่วยงานความร่วมมือ ผู้ปกครอง และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนใช้สอบถามครูและนักเรียน แบบตรวจสอบรายการภาระงาน และผลงานของนักเรียน วิเคราะหขอมูล สถิติที่ใช ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะหข้อมูลเชิงคุณภาพ ดวยการวิเคราะหเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต้นแก้ว ผดุงพิทยาลัย คือ ปัญหาด้านการเรียนรู้ของนักเรียนได้แก่ นักเรียนขาดแรงจูงใจขาดความกระตืนรือร้นใน การเรียน ส่วนปัญหาด้านวิธีการเรียนการสอนของครู ได้แก่ ครูขาดเทคนิควิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมทันสมัย แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา 3 แนวทาง คือ (1) กระบวนการสอนแบบทีม (Team Teaching) (2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาแบบหน่วยบูรณาการ (Module) (3) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) 2) การดำเนินงาน การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนโมดูลในระดับมัธยมศึกษา เรื่อง ภัยพิบัติ การเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้สูงวัย และสมาร์ทฟาร์ม การจัดกิจกรรมร่วมกันให้กำลังใจกัน ส่งผลให้ครูเกิดความมั่นใจในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การออกแบบและ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนแบบทีม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสนใจ สนุกและมีความสุขกับการเรียนรู้ สะท้อนผลได้จากผลความพึงพอใจใน การจัดการเรียนรู้ของนักเรียน และความสนใจอยากให้มีการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) เพิ่มขึ้น การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ส่งผลให้ครูมีเทคนิคการสอนแบบใหม่แก้ปัญหาและพัฒนการสอนได้ 3) ติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและครูต่อกิจกรรมที่ทำ อยู่ระดับ มากที่สุด

คำสำคัญ: การยกระดับคุณภาพการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม

บทนำ

โลกในยุคปัจจุบันเป็นสังคมที่ทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว เป็นสังคมที่ผสมผสานและเกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติได้รับผลกระทบและมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สิ่งแวดล้อมได้รับการพัฒนาและบางครั้งถูกแทนที่ด้วยกลไกทางเทคโนโลยี เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ นี้ ทิศทางการศึกษาของโลกอนาคต จึงต้องได้รับการพัฒนาและมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม เท่าทัน เป็นไปได้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น การเรียนรู้ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ และเข้าใจ ประยุกต์ใช้ และอยู่ในสังคมดิจิทัลอย่างเท่าทัน มีความสามารถใช้หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อพัฒนาตนเองและคุณภาพชีวิตให้ ดีขึ้น อีกทั้งการศึกษายังต้องสามารถทำให้ผู้เรียนค้นพบศักยภาพของตัวเอง ค้นพบเป้าหมาย และเตรียมการเข้าสู่อาชีพในอนาคตได้เร็วขึ้น การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณภาพ และพร้อมที่จะเผชิญกับโลกในอนาคตอย่างเท่าทันได้นั้นจึงเป็นหน้าที่ของภาคีทางการศึกษาทุกภาคส่วนที่จะต้องร่วมมือ และดำเนินการอย่างจริงจังให้เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียน สถาบันการศึกษา ที่จะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งกระบวนการ ทั้งร่วมกันคิด ร่วมมือกันวางแผน ร่วมลงมือปฏิบัติ ร่วมประเมินผล และร่วมกันพัฒนาปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจะทำให้คุณภาพการศึกษา ได้รับการพัฒนาและยกระดับคุณภาพเหมาะสมกับกับการสร้างคนในอนาคต

จากแนวคิดของนักการศึกษาหลายท่านกล่าวว่าทรัพยากรการบริหารที่สำคัญแบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่ คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ ซึ่งในบรรดาทรัพยากรการบริหารทั้ง 4 ประเภทนี้ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือ “คน” เพราะคนจะเป็นผู้นำทรัพยากรอื่นๆ ไปใช้ในการบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ ฉะนั้น หากจะพัฒนาคุณภาพการศึกษาจึงต้องพัฒนาคนให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานได้เต็มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุขอันจะส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัยให้ประสบผลสำเร็จ ปัจจัยด้านคนจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินงานทุกด้านในการพัฒนา “คน” ที่สำคัญนั้นคือการพัฒนา “ศักยภาพ” ให้คนสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเป็นกระบวนการสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาหน่วยงาน ทั้งนี้เนื่องจากการพัฒนาบุคลากรเป็นกระบวนการเพิ่มพูนความรู้แก่บุคลากร ทำให้บุคลากรในหน่วยงานมีความสามารถ มีทักษะในการปฏิบัติงานส่งผลต่อการพัฒนา และเพิ่มผลผลิตของหน่วยงาน การพัฒนาบุคลากรมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้บุคลากรมีความรับผิดชอบมากขึ้น ช่วยให้การปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการพัฒนางานเดิมที่ปฏิบัติอยู่เกิดความคิดสร้างสรรค์พัฒนางานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ทำให้องค์การเกิดความทันสมัยตลอดเวลา ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นครูจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อน การดำเนินการจัดการศึกษา ครูเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาด้านการศึกษา นักเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนที่ดีขึ้นอยู่กับคุณภาพการสอนของครู ครูต้องสามารถรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีมาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ Sallis (2002, pp. 138-145) ได้กำหนดองค์ประกอบของกรอบงานคุณภาพของสถานศึกษาไว้ประการหนึ่งว่า การฝึกอบรมบุคลากรเพื่อสร้างคุณภาพ (Initiating Staff Training for Quality) การพัฒนาบุคลากรเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความตระหนัก และความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพการบริหารในอนาคตจะต้องดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ของผู้ปฏิบัติและค่านิยมร่วมกันของทุกฝ่าย การฝึกอบรมเป็นเครื่องมือ ในการสร้างค่านิยมเหล่านั้นให้เกิดขึ้น เพื่อให้การฝึกอบรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ ผู้บริหารระดับสูงจะต้อง มีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในการจัดโปรแกรมการอบรม เพื่อให้การบริหารจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาคุณภาพมีเอกภาพ และเกิดประสิทธิภาพ (efficiency) ประสิทธิผล (effectiveness) ดังที่ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ (2555) กล่าวว่า การประเมินคุณภาพโรงเรียนในปัจจุบัน มีปัญหาสำคัญที่ตัวชี้วัดส่วนใหญ่ไม่ได้วัดสัมฤทธิผลของนักเรียนอย่างแท้จริง จึงไม่ช่วยสร้างการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนี้ ที่ผ่านมาการประเมินคุณภาพโรงเรียนยังสร้างภาระให้กับครูในการที่ต้องจัดเตรียมเอกสารต่างๆ มากมาย จึงเหลือเวลาในการเตรียมการสอนน้อยลง ดังที่โครงการ Teacher Watch เคยสำรวจพบว่า ร้อยละ 83 ของครูทำงานธุรการร้อยละ 20 ของเวลางาน และร้อยละ 10 ของครูทำงานธุรการร้อยละ 50 ของเวลางานนอกจากนั้นยังระบุว่า ปัญหาของคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย มีสาเหตุมาจากการมีระบบประเมินผลที่ผิดพลาด โดยการประเมินโรงเรียนและครูแทบจะไม่มีความเชื่อมโยงกับผลการเรียนรู้ของนักเรียน และยังสร้างภาระต่อครูมากมาย ซึ่งมีผลในการดึงครูออกจากนักเรียน ส่วน การสอบมาตรฐานนั้น แม้โดยหลักการจะเป็นการวัดการเรียนรู้ของนักเรียนโดยตรง แต่ก็มีปัญหาคุณภาพของข้อสอบ และไม่มีการเปิดเผยคะแนนสอบเฉลี่ยของโรงเรียนต่อสาธารณะอย่างเป็นระบบ ระบบการประเมินที่เป็นอยู่จึงไม่เชื่อมโยงกับการสร้างความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจในการยกคุณภาพการศึกษา

เมื่อพิจารณาถึงคุณภาพการศึกษาพบว่า ประเทศไทยประสบปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ต่ำ ดังจะเห็นได้จากผลการทดสอบ PISA และ TIMSS ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่อยู่ในกลุ่ม OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ซึ่งผลการประเมิน PISA 2015 ของประเทศไทยพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยด้านวิทยาศาสตร์ 421 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 493 คะแนน), ด้านการอ่าน 409 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 493 คะแนน) และด้านคณิตศาสตร์ 415 คะแนน (ค่าเฉลี่ย OECD 490 คะแนน) ส่วนผลการประเมิน TIMSS 2015 พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยวิชาวิทยาศาสตร์ 456 และคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 431 ซึ่งน้อยกว่าค่ากลางของ การประเมินที่กำหนดไว้ที่ 500 คะแนน โดยนักเรียนไทยส่วนใหญ่ยังมีระดับความสามารถทางการเรียนในระดับต่ำ (มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 400-474 คะแนน) ทั้งนี้อาจเนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจบทเรียนอย่างแท้จริงเรียนแบบท่องจำ ทำให้นักเรียนไม่สามารถเชื่อมต่อความรู้เป็นภาพใหญ่ได้ และไม่สามารถนำบทเรียนนั้นไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว สะเต็มศึกษาน่าจะเป็นคำตอบที่สามารถพัฒนากำลังคนที่มีทักษะและช่วยเพิ่มการสร้างผลผลิต (Productivity) ของประเทศขึ้นได้ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องให้ความสนใจเรื่องสะเต็มศึกษา ซึ่งสะเต็มศึกษานี้นอกจากจะสามารถช่วยผู้เรียนที่กำลังอยู่ในระบบการศึกษาให้มีทักษะสะเต็มแล้ว ยังสามารถช่วยยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของประชากรวัยทำงานได้อีกด้วยโดยเฉพาะแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้บริษัทเหล่านี้สามารถพัฒนาไปสู่บริษัทที่มีทักษะและความสามารถที่จะผลิตสินค้าคุณภาพสูงได้ ประเทศไทยจำเป็นต้องทำให้สะเต็มศึกษาขยายวงให้กว้างขึ้น (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2559)

สะเต็มศึกษา (STEM Education: Science Technology Engineering and Mathematics Education) เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่จะช่วยเพิ่มความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน โดยการผสมผสานหลักการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม ผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนแบบโครงงาน (Project-Based Learning) และการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) โดยทั้งสองวิธีเป็นแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบเสาะด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนจะได้ลงมือปฏิบัติเพื่อหาคำตอบ บูรณาการความรู้ และทักษะในการแก้ปัญหา สรุปข้อค้นพบ และสร้างความรู้ใหม่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ (Bender, 2012; Moursund, 2009; พิมพันธ์ เดชะคุปต์, 2553; ลัดดา ภู่เกียรติ, 2552 และ วัฒนา มัคคสมัน, 2554) ซึ่งการจัดการเรียน การสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาจะช่วยเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในการศึกษาระดับสูงและเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพที่ใช้ความรู้และทักษะทางคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (Fan, 2011) ในปัจจุบัน สะเต็มศึกษา (STEM Education) หมายถึง แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) (Capraro, Capraro, & Morgan. 2013; Gonzalez & Kuenzi. 2012; Zollman, 2012) สำหรับประเทศไทย เมื่อศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 พบว่า ในหลักสูตรได้กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการ ซึ่งสอดคล้องกับสะเต็มศึกษาที่หมายถึงการจัดการเรียนรู้บูรณาการ ในที่นี้สะเต็มศึกษาหมายถึง การจัดการเรียนรู้บูรณาการแบบพหุวิทยาการ ใน 3 สาระ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) คณิตศาสตร์ (Mathematics) การงานอาชีพและเทคโนโลยี (Occupations and Technology) เนื่องจากไม่มีสาระวิศวกรรม (Engineering) แต่จะใช้การสอดแทรกกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering design process) เข้าไปใน 3 สาระดังกล่าว (จำรัส อินทลาภาพร, 2558) Drake & Bums (2004) ได้แบ่งการ บูรณาการออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ 1) การบูรณาการพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) เป็นการสอนที่มุ่งไปยังการบูรณาการวิชาต่างๆ โดยครูใช้การบูรณาการการสอนในแต่ละวิชาตามหัวข้อและมาตรฐานการเรียนรู้ 2) การบูรณาการสหวิชาการ (Interdisciplinary) เป็นการสอนที่ใช้หลักสูตรการเรียนรู้ข้ามกลุ่มวิชาตามหัวข้อการเรียนตามความคิดรวบยอดและตามทักษะมีคำตอบที่หลากหลาย ได้แก่ การอ่านเขียนทักษะการคิด และทักษะการทำวิจัย และ 3) การบูรณาการข้ามวิชา (Transdisciplinary) เป็นการบูรณาการหลักสูตรจากหัวข้อที่นักเรียนให้ความสนใจ นักเรียนพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตจากประสบการณ์ และกระบวนการเรียนรู้ด้วยการทำโครงงานเป็นพื้นฐานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวสะเต็มศึกษามีความสำคัญต่อผู้เรียน คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์และสร้างนวัตกรรมที่ใช้ความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม ผู้เรียนเข้าใจสาระ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดรวบยอดในศาสตร์ต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียน ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ และคุณค่าของสิ่งที่เรียนสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้ากับชีวิตจริง (วิชัย วงษ์ใหญ่, 2554; สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2557; จำรัส อินทลาภาพร, 2558) นอกจากนี้การที่จะประสบความสำเร็จในการบูรณาการวิชาทั้งสี่ในสะเต็มศึกษาได้นั้นครูผู้สอนต้องผสมผสานองค์ประกอบสำคัญของการเรียนการสอน 2 ด้านคือ ด้านบริบท (Context) ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนเอง และด้านเนื้อหา (Content) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้พื้นฐานที่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น (Deeper Learning) (พลศักดิ์ แสงพรมศรี และคณะ, 2558) จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ทำงานเป็นกลุ่ม อภิปราย และสื่อสารเพื่อนำเสนอผลงาน คล้ายกับแนวทางการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning: PBL) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning: PBL) และการเรียนรู้โดยใช้การออกแบบเป็นฐาน (Design-Based Learning) (พรทิพย์ ศิริภัทราชัย, 2556) สอดคล้องกับงานวิจัยของ Fan (2011) ที่ทำการสำรวจประเทศที่มีการจัดการศึกษารูปแบบสะเต็มศึกษาจำนวน 20 ประเทศ ในทุกทวีป พบว่า การจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาในทุกทวีป และมีจำนวน 13 ประเทศที่ จัดการศึกษารูปแบบสะเต็มศึกษาในระดับประถมศึกษาสามารถพัฒนาศักยภาพของนักเรียนได้ อย่างไรก็ตามจากการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาระดับประถมศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรปพบว่า ครูประถมศึกษาขาดความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เนื่องจากครูประถมศึกษาสำเร็จการศึกษาโดยไม่มีวิชาเอกที่เชี่ยวชาญเฉพาะ ทำให้ขาดความชำนาญ และเกิดความไม่มั่นใจเมื่อต้องจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษา ทั้งนี้ในมหาวิทยาลัยเซนท์แคทเธอรีน ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้นักศึกษาครูในสาขาประถมศึกษาต้องเรียนวิชาที่ว่าด้วยการจัดการสอนรูปแบบ สะเต็มศึกษาเพื่อให้ครูประถมศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ (Joyce, 2011; Murphy, 2011)

การจัดการศึกษาของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในทุกระดับชั้นมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ มีสมรรถนะ และความสามารถตามหลักสูตร และส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบความถนัด และความสนใจของตนเอง สามารถนำองค์ความรู้ ทักษะ เจตคติที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ไปเชื่อมโยง ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ แต่การจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูในบางระดับชั้นของโรงเรียน พบว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ในหลายวิชา ยังมุ่งเน้นเนื้อหา และความรู้ความจำเป็นหลัก นักเรียนยังไม่สามารถนำความรู้ ทักษะที่ได้จากการเรียนรู้ เชื่อมโยง และประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ และโดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีหลายสาระการเรียนรู้ที่มี เป้าหมาย เนื้อหา ความรู้ ทักษะ ที่ซ้ำซ้อน กันทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไม่เป็นไปตามหลักการของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัยที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้อย่างบูรณาการ จากสถานการณ์และเหตุผลดังกล่าว ทางโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จึงสนใจที่จะศึกษา และพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครู และเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนใช้การศึกษาแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) ประกอบด้วย 1) ระยะวางแผนการยกระดับคุณภาพการศึกษา 2) ระยะดำเนินการ 3) ระยะกำกับติดตามกระบวนการพัฒนา และ 4) ระยะประเมินผลโดยการนำขั้นตอนกระบวนการ การออกแบบการคิด (Design Thinking) ของ Stanford d.school 5 ขั้นตอน เป็นกรอบเครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ 1) ขั้นทำความเข้าใจ 2) ขั้นตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง (กำหนดเป้าหมาย) 3) ขั้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ 4) ขั้นทดสอบแนวคิด 5) ขั้นลงมือปฏิบัติจริง โดยความร่วมมือกับภาคีการศึกษาของโรงเรียนประกอบด้วยสถาบันคีนันแห่งเอเชีย (โครงการ Chevron Enjoy Science) สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในทุกระดับชั้นมัธยมศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะ มีสมรรถนะ และความสามารถตามหลักสูตร และส่งเสริมให้ผู้เรียนค้นพบความถนัด และความสนใจของตนเอง สามารถนำองค์ความรู้ ทักษะ เจตคติที่ได้จากกระบวนการเรียนรู้ไปเชื่อมโยง ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ คือ การยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และมาตรฐานการจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยยึดหลักการว่าข้อค้นพบจากการวิจัยเป็นฐานสำคัญที่จะนำไปสู่ยุทธศาสตร์ การแก้ปัญหาที่ปรากฏอยู่จริงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษา และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยการนำขั้นตอนกระบวนการ การออกแบบการคิด (Design Thinking) ของ Stanford d.school เป็นยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงที่มีหลักการสำคัญว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีบทบาทใน การกำหนดปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ค้นหาสาเหตุแห่งปัญหาอย่างเป็นระบบ ค้นหาแนวทางปฏิบัติเพื่อ การแก้ปัญหาได้จริงโดยระดมความร่วมมือทั้งภายในภายนอกชุมชน หน่วยงาน และองค์กร มาร่วมแก้ปัญหาให้สถานศึกษาเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาแบบร่วมมือแบบทำไปเรียนรู้ไป โดยผู้วิจัยเป็นผู้มีบทบาท ในการกระตุ้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างกระบวนการต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนำไปสู่มาตรฐานการจัดการศึกษาของโรงเรียน อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาในระบบการจัดการศึกษา ให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม และเกิดคุณภาพสูงสุดในอนาคต

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1. เพื่อศึกษาปัญหา และแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

2. เพื่อศึกษาการดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

3. เพื่อศึกษาติดตาม และประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. เป็นการวิจัยที่จะก่อให้เกิดองค์ความรู้จากบุคคล และผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษา ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในลักษณะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ฐานรากจากการกระทำ (grounded knowledge from doing)

2. เป็นการวิจัยที่จะก่อให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับโรงเรียน เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ตามหลักการเรียนรู้ด้วยการกระทำ (learning by doing)

3. นักวิจัยหรือนักวิชาการ สามารถศึกษาเรียนรู้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนารูปแบบการวิจัยให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

ขอบเขตการศึกษา

ขอบเขตด้านเนื้อหา

การยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จากข้อเสนอเชิงนโยบาย สู่การปฏิบัติด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research: PAR) ซึ่งใช้การศึกษาจากข้อมูลทิศทางการจัดการศึกษา ปัญหาเชิงลึก และพัฒนาแนวทางโดยความร่วมมือจากภาคีร่วมพัฒนา เพื่อกำหนดการปฏิบัติการตามวงจรการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในศึกษา ได้แก่ ครูระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 15 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 225 คน ปีการศึกษา 2561

วิธีการวิจัย

วิธีการวิจัย แบ่งออก 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย

ผู้ให้ข้อมูลหลัก

ผู้ให้ข้อมูล แบ่งออก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มพี่เลี้ยงวิชาการบุคลากรจากภาคีหน่วยงานความร่วมมือ 3 กลุ่ม ได้แก่ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย (โครงการ Chevron Enjoy Science) สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีล้านนาภาคพายัพ กลุ่มผู้บริหารโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ๓ ท่าน และกลุ่มครู 15 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Focus Group) โดยการแบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่ม โดยการศึกษาแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม(PAR)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะหเนื้อหา (Content Analysis) โดยแยกออกเป็นประเด็นความสำคัญปัญหาและแนวทางการปฏิบัติ

ระยะที่ 2 ดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย

กลุ่มดำเนินงาน

กลุ่มดำเนินงาน ได้แก่ ครูระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 15 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 225 คน ปีการศึกษา 2561 และกลุ่ม พี่เลี้ยงวิชาการบุคลากรจากภาคีหน่วยงานความร่วมมือ 2 กลุ่ม ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สถาบันคีนันแห่งเอเชีย (โครงการ Chevron Enjoy Science) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบตรวจสอบรายการภาระงาน และผลงานของนักเรียน

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะหเนื้อหา (Content Analysis) โดยออกเป็นประเด็นดำเนินงาน

ระยะที่ 3 การติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย

ผู้ให้ข้อมูลหลัก

ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 15 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย จำนวน 225 คน ปีการศึกษา 2561

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนใช้สอบถามนักเรียน และครู แบ่งออก 2 ชุด คือ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนใช้สอบถามนักเรียน มีจำนวนคำถาม 10 ข้อคำถามจะใช้มาตราวัดแบบประมาณค่า (Rating Scale) เป็นการวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ ส่วนแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนใช้สอบถามครู มีจำนวนคำถาม 20 ข้อ ถามจะใช้มาตราวัดแบบประมาณค่า (Rating Scale) เป็นการวัดแบบเรียงลำดับ (Ordinal Scale) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยและอภิปรายผล

ผลการวิจัย

1. ศึกษาปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย

จากแบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ (Focus Group) จาก 15 ท่าน สรุปประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย 2 ด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านการเรียนรู้ของนักเรียน ได้แก่ นักเรียนขาดแรงจูงใจขาดความกระตือรือร้นในการเรียน กลุ่มให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ถัดมานักเรียนขาดทักษะการความคิดวิเคราะห์ นักเรียนไม่กล้าแสดงความเห็น นักเรียนมีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนของครู ได้แก่ ครูขาดเทคนิควิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมทันสมัย กลุ่มให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ถัดมาครูมีภาระงานมากเกินไป และครูขาดทักษะด้าน ไอที และเทคโนโลยี และขาดสื่ออุปกรณ์

แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา 3 แนวทาง คือ

(1) กระบวนการสอนแบบทีม (Team Teaching) เป็นการสอนที่มีครูอย่างน้อย 2 คน ร่วมมือกันเตรียมการสอนอย่างใกล้ชิดและสอนนักเรียนร่วมกันในห้องเดียวกันหรือกลุ่มเดียวกัน การสอนแบบทีมจะมีครูที่เป็นหัวหน้าทีม (Team Leader) ครูร่วมทีม ได้แก่ ครูอาวุโส (Senior Teacher) ครูประจำ (Master Teacher) และครูช่วยสอน (Co-operative Teacher) การสอนแบบนี้ได้ผลดีถ้าครูหัวหน้าทีม และครูร่วมทีมเข้มแข็งร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานอย่างดี

(2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) เป็นบูรณาการในลักษณะนี้เป็นได้ทั้งภายในวิชาเดียวกันหรือบูรณาการหลายวิชาที่บูรณาการทักษะในวิชาเดียวกัน เช่น บูรณาการทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การสรุป การนำเสนอ ในวิชาภาษาที่บูรณาการทักษะในหลายวิชา เช่น ทักษะการคิด ทักษะการจัดการ และทักษะการวิจัย (ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต) เป็นต้น วิชาที่มักบูรณาการด้วยทักษะจำเป็นต้องมีการวางแผนร่วมกัน เพราะเกี่ยวข้องกับผู้สอนหลายวิชา ผู้สอนจะต้องมาตกลงกันเกี่ยวกับเนื้อหา ลำดับความยากง่าย จะแยกสอนเป็นวิชาหรือสอนเป็นทีม ครูต้องร่วมกันกำหนดคำถามสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และทักษะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนให้ครบถ้วน และเหมาะสม อีกทั้งให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่จะเรียนด้วย การบูรณาการลักษณะนี้ใช้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นโครงงาน (Projects) ประเด็นปัญหา (Issues) สภาพชุมชน (Community) อาชีพ (Careers) หรือแม้แต่ศาสนา การจัดทำหลักสูตรในลักษณะโมดูล (Modules) ก็อยู่ในประเภทนี้ บูรณาการสื่อเทคโนโลยี (Integrated by technology) การจัดหลักสูตรโดยนำสื่อเทคโนโลยีมาบูรณาการนั้น น่าจะทำได้ง่าย และจำเป็นในสภาวการณ์ปัจจุบัน เพราะทุกวิชาสามารถใช้เทคโนโลยีบูรณาการในการเรียนการสอนได้ แม้แต่วิชาเทคโนโลยีเองก็ใช้เนื้อหาวิชาอื่น เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ฯลฯ เป็นสื่อการเรียนรู้ได้ บูรณาการในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นบูรณาการแบบคู่ขนาน การบูรณาการโดยแหล่งเรียนรู้ก็จัดอยู่ในประเภทนี้

(3) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เป็นการรวมตัว ร่วมมือร่วมใจ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษาบนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน โดยทำงานร่วมกันแบบทีมการเรียนรู้ที่มีครูเป็นผู้นำร่วมกัน และผู้บริหารเป็นผู้ดูแลสนับสนุนสู่การเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จหรือประสิทธิผลของผู้เรียนเป็นสำคัญ และความสุขของการทำงานร่วมกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้

2. ดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย

การดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ใช้รูปแบบการดำเนินการ ๒ แนวทาง คือ

(๑) การยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้บทเรียนโมดูล เรื่อง ภัยพิบัติ เป็นต้นแบบแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา เริ่มต้นจากครูใช้แบบกระบวนการสอนแบบทีม (Team Teaching) และหลักการการออกแบบการคิด (Design Thinking) ของ Stanford d.school 5 ขั้นตอน เป็นกรอบเครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ 1) ขั้นทำความเข้าใจ 2) ขั้นตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง (กำหนดเป้าหมาย) 3) ขั้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ 4) ขั้นทดสอบแนวคิด 5) ขั้นลงมือปฏิบัติจริง พบว่า บทเรียนโมดูล เรื่อง ภัยพิบัติ (12 ชั่วโมง) แบ่งเนื้อหา ได้แก่

1. ความหมายและประเภทของภัยพิบัติ

ภาพที่ 1 กิจกรรม นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 กำลังค้นหาความหมายและประเภทของภัยพิบัติ

จากภาพที่ 1 ครูประจำวิชาสังคมและวิชาวิทยาศาสตร์ร่วมกันวางแผนการสอน โดยเน้นเนื้อหา ทำความเข้าใจถึงภัยพิบัติ โดยสอนความหมายให้ก่อน หลังจากนักเรียนตีความหมายอย่างลึก โดยการสืบค้น และสรุปเนื้อหา ใช้เวลาการสอน 3 ชั่วโมง โดยเน้นนักเรียนใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning

2. สาเหตุผลกระทบ แนวทางป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติ

ภาพที่ 2 กิจกรรม นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 กำลังค้นหาสาเหตุผลกระทบ แนวทางป้องกัน และแก้ไขภัยพิบัติ

จากภาพที่ 2 ครูประจำวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และวิชาศิลปะร่วมกันวางแผนการสอน โดยเน้นเนื้อหา สาเหตุผลกระทบ แนวทางป้องกัน และแก้ไขภัยพิบัติ ใช้ขั้นตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง (กำหนดเป้าหมาย) ใช้เวลาการสอน 3 ชั่วโมง โดยเน้นนักเรียนใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) และ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning

3. การออกแบบการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ

ภาพที่ 3 กิจกรรม นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 กำลังการออกแบบการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ

จากภาพที่ 3 ประจำวิครูชาการงานอาชีพฯ และวิชาคณิตศาสตร์ร่วมกันวางแผนการสอน โดยเน้นเนื้อหา การออกแบบการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ใช้ขั้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ ใช้เวลาการสอน 3 ชั่วโมง โดยเน้นนักเรียนใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning

4. ชิ้นงานการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ

ภาพที่ 4 กิจกรรม นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 กำลังการออกชิ้นงานการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ

จากภาพที่ 4 ครูประจำวิชาภาษาต่างประเทศ และวิชาภาษาไทยร่วมกันวางแผนการสอน โดยเน้นเนื้อหา การออกชิ้นงานการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ใช้ขั้นทดสอบแนวคิด และขั้นลงมือปฏิบัติจริง ใช้เวลาการสอน 3 ชั่วโมง โดยเน้นนักเรียนใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning

๒) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ของครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย (โครงการ Chevron Enjoy Science) สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ โดยการนำการออกแบบการคิด (Design Thinking) ของ Stanford d.school 5 ขั้นตอน เป็นกรอบเครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ 1) ขั้นทำความเข้าใจ 2) ขั้นตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง (กำหนดเป้าหมาย) 3) ขั้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ 4) ขั้นทดสอบแนวคิด 5) ขั้นลงมือปฏิบัติจริง โดยเริ่มจากศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ทิศทางการจัดการศึกษาโดยเน้นทักษะเพื่อการมีงานทำ ทางกลุ่มพบว่า ต้องพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นอันดับแรก จึงใช้รูปแบบตามแนวทาง PLC (๑.ค้นหาปัญหา ๒.ออกแบบกิจกรรม ๓.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๔.ลงสู่การสอน ๕.สะท้อนผล) เพื่อยกระดับคุณภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ โดยการใช้รูปแบบแนวปฏิบัติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูง (High Impact Practices) รูปแบบห้าแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้มีการสนทนา และอภิปรายในวิชาคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิผล (Five Practices) และรูปแบบแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (literacy in science)

3. การติดตามและประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย

ตารางที่ 1 แสดงค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนฐานของประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย

ประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน ความหมาย

1. ด้านนักเรียน 4.30 0.6 มากที่สุด

2. ด้านครู 4.21 0.62 มากที่สุด

โดยรวม 4.26 0.61 มากที่สุด

จากตารางที่ 1 พบว่า ประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย มีค่าความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.26 เมื่อด้านพบว่า ด้านนักเรียนมีความพึงพอใจ มากที่สุด มีค่าความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.30 และด้านครูมีค่าความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.21 ตามลำดับ

อภิปรายผล

1. ปัญหาและแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย คือ ปัญหาด้านการเรียนรู้ของนักเรียนได้แก่ นักเรียนขาดแรงจูงใจขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ส่วนปัญหาด้านวิธีการเรียนการสอนของครู ได้แก่ ครูขาดเทคนิควิธีการสอนที่ถูกต้องเหมาะสมทันสมัย แนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา 3 แนวทาง คือ 1) กระบวนการสอนแบบทีม (Team Teaching) 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) 3) การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) เนื่องจากรูปแบบการปฏิบัติงานจึงไม่จำเป็นต้องมีการสั่งการ และการประสานงานอย่างเป็นทางการมากนัก จึงดำเนินการได้สะดวกรวดเร็ว นอกจากนี้ครูมีจำนวนน้อยการจัดการ จึงไม่ทำให้เกิดปัญหาต่อการปฏิบัติงานเพราะการทำงานจะเป็นการทำงานโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ร่วมคิดร่วมทำ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากนั้นจากการสนทนากลุ่มที่พบว่า ร่างรูปแบบการบริหารจัดการเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสภาพปัญหาการวางแผนการดำเนินการตามแผนการประเมินผล การรายงานผล ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อเนื่องกันเป็นระบบหากขาดขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง อาจทำให้การบริหารจัดการล้มเหลวหรือไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งสอดคลองกับงานวิจัยของสุรัตน์ ศรีดาเดช (2559) ได้ศึกษาเรื่อง กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 พบวา กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียน ของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการบริหารงานบุคคล ตามลำดับ ปัญหาการดำเนินงาน พบว่า ขาดแหล่งเรียนรู้ห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศมีจำนวนไม่เพียงพอทำให้ขาดความต่อเนื่องในการศึกษาค้นคว้า การจัดสรรงบประมาณรายหัวนักเรียนทำให้โรงเรียนที่มีจำนวนน้อยขาดความสมดุลในการพัฒนา การจัดครูเข้าสอนไม่ตรงตามวิชาเอก และไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน และไม่มีบุคลากรหรือครูปฏิบัติการสั่งงานธุรการ ข้อเสนอแนะ พบว่าผู้บริหารควรเชิญชวน และประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนสนับสนุน และระดมทรัพยากรเพื่อ การจัดการศึกษา ด้านการบริหารงานงบประมาณ คือ เพิ่มเงินอุดหนุนจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เงินรายหัว) ให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ด้านการบริหารบุคคล คือ จัดหาครูให้ครบทุกกลุ่มสาระตรงตามวิชาเอก และด้านการบริหารงานทั่วไป คือ ควรจัดให้มีบุคลากรปฏิบัติงานธุรการโดยเฉพาะเพื่อให้ครูมีเวลาสอน

2. การดำเนินงานการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ใช้บทเรียนต้นแบบโมดูล เรื่อง ภัยพิบัติ เป็นต้นแบบแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษา เริ่มต้นจากครูใช้แบบกระบวนการสอนแบบทีม (Team Teaching) และหลักการการออกแบบการคิด (Design Thinking) ของ Stanford d.school 5 ขั้นตอน เป็นกรอบเครื่องมือในการศึกษา ได้แก่ 1) ขั้นทำความเข้าใจ 2) ขั้นตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง (กำหนดเป้าหมาย) 3) ขั้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ 4) ขั้นทดสอบแนวคิด 5) ขั้นลงมือปฏิบัติจริง เมื่อนำรูปแบบไปใช้แล้วทำให้สามารถแก้ปัญหา และสนองความต้องการของครูได้สอดคล้องกับหลักการปัญหาเกิดที่ใดแก้ที่นั้น ทั้งนี้กระบวนการบริหารจัดการเกิดขึ้นด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นจากภายในองค์กรโดยเฉพาะความร่วมแรงร่วมใจจากบุคลากรของโรงเรียน และภายนอกองค์กร คือ การสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งสอดคลองกับงานวิจัยของจุติพร อัศวโสวรรณ (2556) ได้ศึกษาเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการโดยการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ ประกอบด้วย การเรียนรู้แบบองค์รวม การส่งเสริมการคิดหรือกระตุ้นให้ใช้ความคิด การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำ การทำงานกลุ่ม และการนำเสนอผลงาน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) กระบวนการของรูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การพัฒนาขอบเขตเนื้อหา และสร้างหน่วยบูรณาการ กับการปฏิบัติการสอนซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นจุดประกายความสนใจ ขั้นสำรวจตรวจสอบ ขั้นขยายความคิด ขั้นนำสู่การปฏิบัติ และขั้นสรุปและประเมิน 4) การวัดและประเมินผล ประกอบด้วยการวัดและประเมินผลระหว่างการจัดการเรียนรู้ และ การวัดและประเมินผลหลังการจัดการเรียนรู้

3. ติดตาม และประเมินผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน และครูต่อกิจกรรมที่ทำอยู่ระดับมากที่สุด ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากรูปแบบที่ได้มีขั้นตอนการสร้างจากสภาพปัญหาจริงของโรงเรียน และถูกต้องตามหลักวิชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับการยืนยันรูปแบบโดยพี่เลี้ยงทางวิชาการ และเกิดจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหาร ครู นักเรียน ตลอดจนหน่วยงานต้นสังกัด จึงส่งผลให้รูปแบบมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ต่อไป สอดคล้องกับแนวคิดการประเมินคุณภาพการศึกษาของปรีดี ทุมเมฆ, สัญญา เคณาภูมิ และวิทยา เจริญศรี (2558: 86-109) ที่ระบุแนวทางการประเมินคุณภาพการศึกษา ได้แก่ การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำความร่วมมือกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย (Stakeholder) จะเกิดเป็นพลังยิ่งใหญ่ของการดำเนินงาน ทุกอย่าง (สัญญา เคณาภูมิ, 2556: 169-185) การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนใน การส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรวิสาหกิจชุมชน ร่วมแรงร่วมใจ ทั้งเป็นทางการ และไม่เป็นทางการไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต ด้านการบริหารจัดการองค์การ ด้านการตลาด ตลอดจนด้านการวิจัย และพัฒนาศักยภาพต่าง จะมีส่วนให้องค์การนั้นพึ่งตนเองได้

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะที่ทำให้องค์ประกอบที่ทำให้การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนต้นแก้ว ผดุงพิทยาลัย ประสบความสำเร็จ มีดังนี้

1. การศึกษาไทยในปัจจุบันกับคุณภาพการศึกษา

หลักสูตรการศึกษาของไทยที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในด้านวิชาการ มีการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน แยกการเรียนรู้ เป็น 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกำหนดตัวชี้วัดอย่างชัดเจน ส่งผลให้เกิดการเรียนที่ที่แยกส่วน ครูผู้สอนไม่สามารถปรับ และพัฒนาองค์ความรู้ในแต่ละวิชาให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับความรู้แบบแยกส่วนสาขาวิชาเมื่อต้องนำมาประยุกต์ใช้จริงในชีวิตประจำวัน ผู้เรียนบางคนไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้ ทำให้เกิดการสูญเสียเวลาระหว่างการเรียนรู้ สูญเสียองค์ความรู้ที่เรียนแล้วไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง อีกทั้งตัวหลักสูตร และแนวทางการจัดการเรียนรู้ ยังไม่ได้นำทิศทางของโลกอนาคตมาเป็นตัวแบบสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในอนาคต การจัดการเรียนรู้ของครูที่มีการแยกกลุ่มสาระการเรียนรู้ส่งผลให้ครูจำเป็นต้องใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเดิมที่เคยได้รับการถ่ายทอดมาจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน แต่กลับพบว่ารูปแบบการเรียนรู้แบบเดิมไม่สามารถสร้างทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็นให้กับผู้เรียนรู้ที่ต้องนำไปใช้ในอนาคต ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของไทยผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้เพียงในปัจจุบันในระหว่างปีแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียนเท่านั้น หากแต่ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาไปแล้ว ความรู้ และทักษะที่เรียนมาสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้เพียงเล็กน้อย

2. ความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

การจัดการศึกษาของโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ที่มีภารกิจในการจัด และส่งเสริมการศึกษาให้กับนักเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับโรงเรียนต้นแก้วผดุงพิทยาลัย ได้รับการถ่ายโอนภารกิจการจัดการศึกษาตั้งแต่ 7 พฤษภาคม 2551 จัดศึกษาระดับปฐมวัย ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนนักเรียน 315 คน ปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2561) มีนักเรียนจำนวน 1,083 คน ตลอด 10 ปี ในการจัดการศึกษา ได้รับการยอมรับจากสังคมเห็นได้จำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่จากการศึกษาพบว่า คุณภาพผู้เรียนมีความรู้ และทักษะในการเรียนรู้เป็นไปตามหลักสูตร แต่ผู้เรียนยังขาดทักษะที่จำเป็นในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และนำไปเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพในอนาคต อีกทั้งยังขาดเป้าหมายในการดำเนินชีวิต และความสนใจในอาชีพอนาคต การเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการเรียนรู้ ออกแบบแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบความถนัดความสนใจ และค้นหาเป้าหมายในชีวิต และอาชีพ จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง

3. ปัจจัยความสำเร็จ

๓.๑ ครู ทัศนคติ เป้าหมายครูผู้สอนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้กระบวนการยกระดับคุณภาพการศึกษา

เกิดความสำเร็จ เนื่องจากครู มีทัศนะเชิงสร้างสรรค์ที่มุ่งมั่นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายร่วมกัน คือ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ช่วงวัยของครูเป็นอีกปัจจัยที่ผู้ศึกษาพิจารณาแล้วว่ามีส่วนสำคัญ เนื่องจากครูทั้ง 15 คน มีช่วงอายุเฉลี่ย 37 ปี เป็นวัยที่มีประสบการณ์สอน และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้กับนักเรียน และความเข้าใจในกระแสการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการเรียนรู้ของสังคมของครู ส่งผลให้เกิดทัศนะเชิงบวก และพร้อมในการปรับเปลี่ยนจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่

๓.๒ กระบวนการบริหารทางวิชาการ เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จ ได้แก่ การกำหนดตารางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยบูรณาการ (Module) ให้กับครูทุกคน มีเวลาสอนร่วมกันแบบทีม (Team Teaching) ส่งผลให้ครูมีการแลกเปลี่ยนรู้เรียน ร่วมกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning และร่วมกันวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตามสภาพจริง จากภาระงาน ชิ้นงานของผู้เรียน เพื่อบรรลุเป้าหมายของแต่ละวิชา ไม่สร้างภาระงานเพิ่มแต่เป็นการสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของครู

๓.๓ ภาคีการศึกษาของโรงเรียน คือ ความร่วมมือกับหน่วยงานทางการศึกษา เป็นที่ปรึกษาให้กำลังใจ ให้ความรู้ ทักษะ แก่ครู ผู้บริหาร คำแนะนำ สนับสนุนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ได้แก่ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย (โครงการ Chevron Enjoy Science) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จ เนื่องการการทำหน้าที่เสมือนพี่เลี้ยงทางวิชาการ เริ่มตั้งแต่การให้แนวคิด หลักการ ความรู้ ทักษะ ร่วมวางแผนการทำงาน ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ สังเกตการสอน (Open classroom) ให้ข้อเสนอแนะ และปรับปรุงกระบวนการจัดกิจกรรมของครู สรุปผลการจัดกิจกรรมร่วมกันให้กำลังใจ ส่งผลให้ครูเกิดความมั่นใจในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การออกแบบ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนให้ความสนใจ สนุก และมีความสุขกับการเรียนรู้ สะท้อนผลได้จากผลความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน และความสนใจอยากให้มีการจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบหน่วยบูรณาการ (Module) เพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

ระดับชั้นเรียน ครูควรทำวิจัยในชั้นเรียนโดยนำหลักการการออกแบบการคิด (Design Thinking) ของ Stanford d.school 5 ขั้นตอน เป็นกรอบเครื่องมือในการศึกษา เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาผู้เรียนเป็นรายห้องเรียนจนถึงรายบุคคล

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการทำหน้าที่ของครูให้เกิดประสิทธิภาพในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาครูให้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

โพสต์โดย sirirat : [1 ส.ค. 2562 เวลา 12:44 น.]
อ่าน [3694] ไอพี : 159.192.216.236
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 16,807 ครั้ง
ทายใจจากอักษรท้ายชื่อ
ทายใจจากอักษรท้ายชื่อ

เปิดอ่าน 11,482 ครั้ง
คลิปฮ็อต "พลเมืองดี" รุมล็อกตัวหนุ่มเขมรวิ่งราวมือถือสาวเกาหลี-ตบสั่งสอนกลางอนุสาวรีย์ชัยฯ
คลิปฮ็อต "พลเมืองดี" รุมล็อกตัวหนุ่มเขมรวิ่งราวมือถือสาวเกาหลี-ตบสั่งสอนกลางอนุสาวรีย์ชัยฯ

เปิดอ่าน 19,164 ครั้ง
สมดุลของ 2 ส้อม และ 1 ไม้จิ้มฟัน
สมดุลของ 2 ส้อม และ 1 ไม้จิ้มฟัน

เปิดอ่าน 19,724 ครั้ง
รู้หรือยัง? วันนี้ (1 ก.ค.58) ประเทศไทยเปลี่ยนเวลาให้ช้าลง 1 วินาที อย่างเป็นทางการแล้ว
รู้หรือยัง? วันนี้ (1 ก.ค.58) ประเทศไทยเปลี่ยนเวลาให้ช้าลง 1 วินาที อย่างเป็นทางการแล้ว

เปิดอ่าน 15,001 ครั้ง
แสงแดดช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
แสงแดดช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

เปิดอ่าน 10,567 ครั้ง
บุหรี่ “ไม่สูบ” ไม่ได้เหรอ?
บุหรี่ “ไม่สูบ” ไม่ได้เหรอ?

เปิดอ่าน 3,490 ครั้ง
น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาต่างกันอย่างไร
น้ำมันปลาและน้ำมันตับปลาต่างกันอย่างไร

เปิดอ่าน 10,943 ครั้ง
รีดเลือดไดโนเสาร์ ซากจมอยู่ในดินตายมาแล้วตั้ง 80 ล้านปี
รีดเลือดไดโนเสาร์ ซากจมอยู่ในดินตายมาแล้วตั้ง 80 ล้านปี

เปิดอ่าน 30,666 ครั้ง
จับเดรสให้แมทช์กับรูปร่างของคุณ (Dress Your Body Shape)
จับเดรสให้แมทช์กับรูปร่างของคุณ (Dress Your Body Shape)

เปิดอ่าน 4,762 ครั้ง
คุณหมอญี่ปุ่นแนะนำ! วิธีสร้างนิสัยการนอนหลับที่ดีเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม
คุณหมอญี่ปุ่นแนะนำ! วิธีสร้างนิสัยการนอนหลับที่ดีเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม

เปิดอ่าน 8,864 ครั้ง
40 ปี มนุษย์เหยียบจันทร์ กับความฝันสำรวจจักรวาล
40 ปี มนุษย์เหยียบจันทร์ กับความฝันสำรวจจักรวาล

เปิดอ่าน 46,804 ครั้ง
รับชมที่นี่ วีดิทัศน์ สอนการเขียนสระภาษาไทยที่ถูกต้อง
รับชมที่นี่ วีดิทัศน์ สอนการเขียนสระภาษาไทยที่ถูกต้อง

เปิดอ่าน 13,567 ครั้ง
รวมเมนูอาหารเจ
รวมเมนูอาหารเจ

เปิดอ่าน 12,177 ครั้ง
สังเกตมะเร็งชนิดต่างๆ ก่อนชีวิตจะเสี่ยง
สังเกตมะเร็งชนิดต่างๆ ก่อนชีวิตจะเสี่ยง

เปิดอ่าน 13,181 ครั้ง
กินผักตามฤดู 12 เดือน
กินผักตามฤดู 12 เดือน

เปิดอ่าน 15,034 ครั้ง
ออกรถใหม่...วันไหนดี?
ออกรถใหม่...วันไหนดี?
เปิดอ่าน 13,065 ครั้ง
เอาไงดี? ...หางานใหม่แล้วค่อยลาออก กับ ลาออกแล้วค่อยหางานใหม่ !!
เอาไงดี? ...หางานใหม่แล้วค่อยลาออก กับ ลาออกแล้วค่อยหางานใหม่ !!
เปิดอ่าน 35,113 ครั้ง
กลยุทธ์ในการเรียนภาษาให้ดี
กลยุทธ์ในการเรียนภาษาให้ดี
เปิดอ่าน 19,175 ครั้ง
หลักเกณฑ์การคำนวณเงินค่าเสาเข็มฐานรากอาคารเรียนและอาคารประกอบ
หลักเกณฑ์การคำนวณเงินค่าเสาเข็มฐานรากอาคารเรียนและอาคารประกอบ
เปิดอ่าน 11,682 ครั้ง
รัดผมตึง...ระวังโรคเครียด
รัดผมตึง...ระวังโรคเครียด

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ