ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ครั้งนี้ ได้กำหนดขั้นตอนในการดำเนินการพัฒนาตามลำดับ ดังนี้

ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย

2) สำรวจสภาพความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยโดยได้ดำเนินการแจกแบบสอบถามให้กับศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ผู้นำชุมชน ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับท้องถิ่นและผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเดิมบางนางบวช

ขั้นที่ 2 การสร้างหลักสูตร

1) กำหนดร่างหลักสูตรโดยอาศัยข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ซึ่งได้แก่ ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 10 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 40 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 40 คน ครูผู้สอน จำนวน 40 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 80 คน ผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับท้องถิ่น จำนวน 10 คน และผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเดิมบางนางบวช จำนวน 10 คน รวมทั้งหมดจำนวน 230 คน

2) นำข้อมูลมาสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน กำหนดเป็นร่างหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ฉบับยกร่าง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ความต้องการของของชุมชนมาสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพ ความต้องการที่แท้จริงของเด็กปฐมวัย ในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยได้คัดเลือก 7 อันดับแรก และมีค่าร้อยละของความต้องการของศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล ผู้นำชุมชน ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับท้องถิ่น และผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเดิมบางนางบวช ร้อยละ 70 ขึ้นไป จำนวน 7 เรื่อง ประกอบด้วย นิทานพื้นบ้านอำเภอเดิมบางนางบวช อุทยานบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ พระอาจารย์ธรรมโชติ ประเพณีตักบาตรเทโว วัดหัวเขา ประเพณีงานยกธงวันสงกรานต์ ผ้าทอมือของชาวลาวครั่งและหน่อไม้ไผ่ตงแกะสลัก

3) ศึกษาเอกสารและสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่นของอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ได้แก่ นิทานพื้นบ้าน บุคคล สถานที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน ขนบธรรมเนียม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งคำขวัญของอำเภอเดิมบางนางบวช (พระอาจารย์ธรรมโชติลือนาม อุทยานงามบึงฉวาก ของฝากผ้าทอมือ เลื่องลืองานยกธง สลักไผ่ตงท่าช้าง เขานมนางเรื่องเล่า หัวเขาเทโวดัง) โดยเลือกเก็บข้อมูล ดังนี้

3.1) สถานที่ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นบ้านของอำเภอเดิมบางนางบวช ได้แก่ เสาต่อไก่ของตาสีนนท์ (บริเวณโรงเรียนวัดกำมะเชียร) เขากี่ (ปัจจุบัน คือ พระอุโบสถวัดกำมะเชียร) บึงฉวาก เขาชะโอยและวัดเขานางบวช เป็นต้น

3.2) อุทยานบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอำเภอเดิมบางนางบวช มีนักท่องเที่ยวทั้ง ชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งนักเรียน นักศึกษามาทัศนศึกษา ซึ่งภายในอุทยานบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติมีจุดให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวหลายจุดด้วยกัน เช่น สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดและสัตว์น้ำเค็ม บ่อจระเข้ สวนสัตว์ อุทยานผักพื้นบ้าน เป็นต้น

3.3) วัดเขานางบวชหรือวัดเขาขึ้น ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นวัดของพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นพระที่มีความสำคัญในศึกชาวบ้านบางระจัน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเครื่องรางของขลัง ชาวบ้านบางระจันจึงนิมนต์ไปเป็นขวัญและกำลังใจในการสู้รบกับพม่า

3.4) บ้านหัวเขาและวัดหัวเขา ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานประเพณีตักบาตรเทโวที่มีชื่อเสียง มีประชาชนทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัดมาร่วมงานเป็นจำนวนมากทุกปี

3.5) บ้านทุ่งก้านเหลือง ซึ่งอยู่ในตำบลป่าสะแก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีกลุ่มชน "ลาวคั่ง" "ลาวครั่ง" หรือ "ลาวกา" เป็นกลุ่มที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษ จากหลวงพระบาง สันนิษฐานว่าอพยพเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี โดยมีการร่วมกันอนุรักษ์และสืบสาน ผ้าทอลายโบราณ อันเป็นวัฒนธรรมของลาวซี - ลาวครั่ง

3.6) วัดหนองกระทุ่ม ตำบลหนองกระทุ่ม วัดบ่อกรุและวัดทุ่งกฐิน ตำบลบ่อกรุ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานยกธง เป็นประเพณีทำบุญยกธง วันสงกรานต์ของชาวไทยเชื้อสายลาวครั่ง โดยนำผ้าทอมาปักเป็นลวดลายต่าง ๆ นำของมงคลประดับลงในธงเพื่อทำให้เกิดความสิริมงคลและยังสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านที่ร่วมพิธีกรรมด้วย

3.7) ตลาดท่าช้าง ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งมีของฝากที่มีชื่อเสียงและเป็นเอกลักษณ์ คือ การแกะสลักหน่อไม้ไผ่ตง โดยนำหน่อไม้ไผ่ตงมาแกะสลักให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ อย่างสวยงาม เช่น นก ผีเสื้อ ดอกไม้ ฯลฯ แล้วนำไปบรรจุขวด สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น ผัด ต้ม แกง เป็นต้น

4) ดำเนินการเก็บข้อมูล 3 วิธี คือ

4.1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา นิทานพื้นบ้าน สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งคำขวัญของอำเภอ เดิมบางนางบวช

4.2) สัมภาษณ์ผู้รู้ในท้องถิ่น ผู้นำชุมชนและชาวบ้านด้วยการสัมภาษณ์ พูดคุย เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีข้อมูลที่เป็นเอกสารจำนวนน้อย โดยกำหนดหัวข้อที่จะสัมภาษณ์ แล้วเข้าไปพูดคุย ซักถามและเจาะลึกในบางเรื่องแล้วจดบันทึกข้อมูลไว้

4.3) เข้าร่วมในสถานการณ์จริง เมื่อมีงานประเพณีประจำปีจะเข้าไปร่วมงาน สังเกต ถ่ายภาพ จดบันทึกขั้นตอนของพิธีการไว้ รวมทั้งเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ เข้าร่วมประเพณียกธงวันสงกรานต์ที่วัดบ่อกรุ เข้าร่วมงานประเพณีตักบาตรเทโว ที่วัดหัวเขา เข้าชมอุทยาน บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ ได้แก่ สวนสัตว์บึงฉวาก อุทยานผักพื้นบ้าน สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำและบ่อจระเข้ และเข้าชมวัดเขานางบวช เดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นบ้านของอำเภอ เดิมบาง นางบวช เพื่อถ่ายภาพ ได้แก่ เสาต่อไก่ของตาสีนนท์ (บริเวณหน้าวัดกำมะเชียร) เขากี่ (ปัจจุบัน คือ พระอุโบสถวัดกำมะเชียร) หมู่บ้านกำมะเชียร บึงฉวาก เขาชะโอยและวัดเขานางบวช เดินทางไปยังหมู่บ้านทุ่งก้านเหลือง ตำบลป่าสะแก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อขอชมผ้าทอมือลายโบราณและวิธีการทอผ้า และเดินทางไปยังตลาดท่าช้าง ตำบลเขาพระ อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อขอชมวิธีการแกะสลักหน่อไม้ไผ่ตง

5) เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วได้นำมาจัดแบ่งเป็นเนื้อหาซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอำเภอ เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยนำเนื้อเรื่องทั้งหมดมายกร่างหลักสูตร ซึ่งมีโครงสร้างประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้าง ระยะเวลาในการจัดประสบการณ์ แนวการจัดประสบการณ์และเอกสารประกอบและแบ่งเนื้อหาเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มเนื้อหาจัดอยู่ในกรอบเนื้อหาของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยแบ่งกลุ่มเนื้อหาในหลักสูตรท้องถิ่น จำนวน 9 หน่วยประสบการณ์ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บุคคลสำคัญและสถานที่สำคัญต่าง ๆ ประกอบด้วย 2 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยบ้านฉันที่นั่นเดิมบางและหน่วยคนดีศรีเดิมบาง กลุ่มที่ 2 สถานที่ท่องเที่ยว ประกอบด้วย 3 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วย เที่ยวสุขสันต์มหัศจรรย์บึงฉวาก หน่วยตื่นตามัจฉาน่าชมและหน่วยผักพื้นบ้านรับประทานแล้วแข็งแรง กลุ่มที่ 3 ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรม ประกอบด้วย 2 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยสุขใจเมื่อได้ตักบาตรและหน่วยยกธงวันสงกรานต์ และกลุ่มที่ 4 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประกอบด้วย 2 หน่วยประสบการณ์ คือ หน่วยผ้าทอมือสื่อวัฒนธรรมและหน่วยของฝากจากตลาดท่าช้าง

6) ดำเนินการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ โดยมีรายละเอียด ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ (ประกอบด้วย ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้) กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้และการประเมินพัฒนาการ ซึ่งมีทั้งหมด จำนวน 9 หน่วยประสบการณ์

7) จัดทำหนังสือภาพ ชุด ถิ่นฐานบ้านเดิมบาง เพื่อใช้ประกอบการจัดประสบการณ์ ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์และนำไปไว้ในมุมหนังสือ จำนวน 9 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่อง ตำนานบ้านเดิมบาง เล่มที่ 2 เรื่อง เดินทางสู่บึงฉวาก เล่มที่ 3 เรื่อง ปลาหลายหลากน่าเรียนรู้ เล่มที่ 4 เรื่อง แวะดูผักพื้นบ้าน เล่มที่ 5 เรื่อง นมัสการพระอาจารย์ธรรมโชติ เล่มที่ 6 เรื่อง รุ่งโรจน์ประเพณี ที่หัวเขา เล่มที่ 7 เรื่อง ทุ่งก้านเหลืองนั้นเล่าเขาทอผ้า เล่มที่ 8 เรื่อง สนุกนักหนางานยกธง และเล่มที่ 9 เรื่อง สลักไผ่ตงตลาดท่าช้าง

8) จัดทำเกมการศึกษาเพื่อใช้เป็นสื่อในการจัดกิจกรรม ช่วงกิจกรรมเกมการศึกษา จำนวน 45 เกม ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่ เกมภาพตัดต่อ เกมจับคู่ภาพ เกมเรียงลำดับภาพ เกมต่อภาพ (โดมิโน) เกมจัดหมวดหมู่ภาพ เกมสังเกตรายละเอียดภาพ (Lotto) เกมการจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ เกมพื้นฐานการบวกและเกมการหาความสัมพันธ์

ขั้นที่ 3 การประเมินหลักสูตร

1) นำร่างหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการพิจารณาตรวจสอบร่างหลักสูตรเพื่อประเมินความเหมาะสมของร่างหลักสูตรก่อนที่จะนำไปใช้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหา ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในท้องถิ่น กลุ่มที่ 2 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาหลักสูตร ตรวจสอบความถูกต้องของหลักสูตร และ

กลุ่มที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านครูผู้สอน ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมในฐานะที่เป็นครูผู้ใช้หลักสูตร

2) เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 3 กลุ่ม ได้ประเมินผลและให้ข้อเสนอแนะแล้วได้นำร่างหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มาปรับปรุงแก้ไข

ขั้นที่ 4 การทดลองใช้และปรับปรุงหลักสูตร

1) นำหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยซึ่งเป็นเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลชั้นปีที่ 2/1 ของโรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 35 คน ใช้ระยะเวลาทดลอง 9 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วัน

2) ดำเนินการตามแนวทางการจัดประสบการณ์เรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ บนความเชื่อที่ว่าเด็กจะเกิดการเรียนรู้เมื่อได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจึงยึดหลักการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านกิจกรรมการเล่น กิจกรรมประจำวันและกิจวัตรประจำวันที่เด็ก ๆ ปฏิบัติทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้เคลื่อนไหว ได้สำรวจ เล่น สังเกต ทดลอง ลงมือปฏิบัติและคิดแก้ปัญหา เด็ก ๆ จะได้ทำงานตามลำพัง ทำงานเป็นกลุ่ม ได้เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น โดยใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่มีความหลากหลายในบรรยากาศที่อบอุ่น มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม มารยาทไทย ที่ดีงามเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะที่ดีของเด็กไทยและเพื่อให้เด็ก ๆ สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข โดยผ่านการจัดกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมประจำวัน ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546

3) ในส่วนหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ที่พัฒนาขึ้นนี้ ซึ่งมีแผนการจัดประสบการณ์ ทั้ง 9 หน่วยประสบการณ์ ได้กำหนดส่วนที่สาระ ที่ควรเรียนรู้ไว้ 3 กลุ่มเนื้อหา ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก แต่ละกลุ่มเนื้อหาอยู่ในกรอบของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 แต่ละหน่วย การจัดประสบการณ์จะมีแนวคิดที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยหลังจากจัดกิจกรรมแล้ว รวมทั้งการจัดกิจกรรมที่สอดคล้อง ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของเด็ก ให้เป็นไปตามเนื้อหา ทั้งในส่วนที่เป็นประสบการณ์สำคัญที่เด็กทุกคนควรได้รับและส่วนที่เป็นเนื้อหาและแนวคิด

4) การประเมินพัฒนาการ กำหนดให้ใช้วิธีประเมิน ดังนี้

(4.1) การสังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นรายบุคคลขณะทำกิจกรรมในแต่ละวัน ทั้งระหว่างการทำงานรายบุคคลและการทำงานร่วมกับผู้อื่นหรือการร่วมกิจกรรมอื่น ๆ นอกจากนี้ยังใช้ การสนทนา การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่างมีระเบียบ

(4.2) สภาพการประเมินมีลักษณะเช่นเดียวกับการปฏิบัติกิจกรรมประจำวัน

(4.3) ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผน เลือกใช้เครื่องมือและจดบันทึก เป็นหลักฐาน

(4.4) ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับเด็ก รวมทั้ง ใช้แหล่งข้อมูลหลายด้าน

ทั้งนี้การจัดกิจกรรมในแต่ละวันที่เสนอไว้สามารถปรับและยืดหยุ่นได้ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ โดยยึดหลักการจัดให้มีความสมดุล คือ มีทั้งกิจกรรมภายในห้องเรียนและกิจกรรม นอกห้องเรียน กิจกรรมเป็นรายบุคคล กิจกรรมที่สงบ กิจกรรมที่เคลื่อนไหว กิจกรรมที่เด็กเป็นผู้ริเริ่ม เด็กและครูร่วมกันคิดและครูเป็นผู้ริเริ่ม ทั้งนี้ควรจัดให้ครอบคลุมกิจกรรมประจำวัน

5) ทำการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่นของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่นของเด็กปฐมวัย ในระหว่างการจัดประสบการณ์

6) นำผลที่ได้ไปปรับปรุงร่างหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี โดยนำข้อมูลที่ได้จากการบันทึกผลและประเมินผลจากการจัดกิจกรรมตามหลักสูตรของครูผู้สอนมาทำการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะในด้านสภาพ ความจำเป็น ระยะเวลา กิจกรรม เนื้อหาสาระต่าง ๆ และประโยชน์ที่ได้ เพื่อนำไปใช้ได้ตรงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 5 การนำหลักสูตรไปใช้และสรุปผล

1) นำหลักสูตรส่วนที่เป็นแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 9 หน่วย จาก 4 กลุ่มเนื้อหา หน่วยละ 5 แผน รวมทั้งหมด 45 แผน ไปใช้จริงกับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 ของโรงเรียนอนุบาลเดิมบางนางบวช (วัดท่าช้าง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 9 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วัน พร้อมกับทำการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่นของเด็กปฐมวัย ในระหว่างการจัดประสบการณ์

2) นำผลจากการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เรื่องราวในท้องถิ่นของเด็กปฐมวัย รวมทั้งการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการจัดประสบการณ์ มาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสรุปผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

3. สรุป ประโยชน์ที่ได้รับจากผลงาน เรื่องที่ได้เรียนรู้และข้อคิดเห็นเพื่อพัฒนาการศึกษาในอนาคต

รวมทั้งข้อเสนอแนะ

3.1 สรุป

1) มีหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับเด็กปฐมวัย อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นและความสนใจของเด็ก

2) เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้ มีความเข้าใจถึงวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาและแหล่ง

เรียนรู้ในท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก รวมทั้งมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา

โพสต์โดย koll : [23 ก.ค. 2562 เวลา 20:34 น.]
อ่าน [4076] ไอพี : 49.48.245.129
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 12,088 ครั้ง
พบรอยเท้าไดโนเสาร์ อายุกว่า 200 ล้านปี
พบรอยเท้าไดโนเสาร์ อายุกว่า 200 ล้านปี

เปิดอ่าน 14,731 ครั้ง
นาคเล่นน้ำ
นาคเล่นน้ำ

เปิดอ่าน 14,948 ครั้ง
10 เหตุผลที่ลดเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ลงสักที
10 เหตุผลที่ลดเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ลงสักที

เปิดอ่าน 15,774 ครั้ง
ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"
ยอดวิวเยอะมาก รายการ "ดูให้รู้ ตอน คุณครูฮาร์ดคอร์"

เปิดอ่าน 25,859 ครั้ง
คำศัพท์ OOP
คำศัพท์ OOP

เปิดอ่าน 18,589 ครั้ง
คุณครูที่กำลังมองหาวิธีเพิ่มความน่าสนใจของนักเรียนในห้องเรียน ลองใช้วิธีนี้ดูสิ
คุณครูที่กำลังมองหาวิธีเพิ่มความน่าสนใจของนักเรียนในห้องเรียน ลองใช้วิธีนี้ดูสิ

เปิดอ่าน 44,825 ครั้ง
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ.2556

เปิดอ่าน 9,401 ครั้ง
ออกกำลังหนักช่วงสั้นๆ หนีโรคหัวใจได้ดีกว่าออกกำลังระยะยาว
ออกกำลังหนักช่วงสั้นๆ หนีโรคหัวใจได้ดีกว่าออกกำลังระยะยาว

เปิดอ่าน 10,750 ครั้ง
พลิกโฉม"แผนการศึกษาแห่งชาติ"แผนงานชัด-อ่านง่าย-ใช้ได้จริง
พลิกโฉม"แผนการศึกษาแห่งชาติ"แผนงานชัด-อ่านง่าย-ใช้ได้จริง

เปิดอ่าน 8,715 ครั้ง
วิธีทำให้ "แก้วมังกร" ลูกดก
วิธีทำให้ "แก้วมังกร" ลูกดก

เปิดอ่าน 26,843 ครั้ง
เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม?  วิชาที่คนไม่เข้าใจ
เรียนคณิตศาสตร์ไปทำไม? วิชาที่คนไม่เข้าใจ

เปิดอ่าน 20,418 ครั้ง
ร่าง พรบ.ระเบียบข้าราชการครูฯ (ฉบับที่.) พ.ศ....
ร่าง พรบ.ระเบียบข้าราชการครูฯ (ฉบับที่.) พ.ศ....

เปิดอ่าน 20,642 ครั้ง
การศึกษาในอนาคต
การศึกษาในอนาคต

เปิดอ่าน 15,036 ครั้ง
ออกรถใหม่...วันไหนดี?
ออกรถใหม่...วันไหนดี?

เปิดอ่าน 36,715 ครั้ง
ใบบัว มีคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง?
ใบบัว มีคุณประโยชน์อย่างไรบ้าง?

เปิดอ่าน 10,098 ครั้ง
การดูแลสุขภาพหน้าฝน ทำได้ง่ายๆ
การดูแลสุขภาพหน้าฝน ทำได้ง่ายๆ
เปิดอ่าน 23,278 ครั้ง
ความวุ่นวายของการรายงาน จนครูไม่เป็นอันสอน
ความวุ่นวายของการรายงาน จนครูไม่เป็นอันสอน
เปิดอ่าน 15,161 ครั้ง
คู่มือการเลือกผู้แทน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
คู่มือการเลือกผู้แทน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา
เปิดอ่าน 7,210 ครั้ง
ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย
ทำอย่างไร?...ถึงจะทำให้คนในชาติเกิดค่านิยมไทย
เปิดอ่าน 13,333 ครั้ง
"กาบา (GABA)" สารอาหารในเมล็ดข้าว
"กาบา (GABA)" สารอาหารในเมล็ดข้าว

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ