บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย 3) เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย จำนวน 24 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าทีแบบไม่อิสระ (t test for dependent samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับปฐมวัย มีชื่อว่า PEACE Model มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการเน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นเองอย่างเป็นระบบ โดย ใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง กระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทาง วิทยาศาสตร์ ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติกิจกรรมที่เน้นการร่วมมือกัน และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้น ปฐมวัย 3) กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้น คือ (1) ขั้นที่ 1 การนำเสนอปัญหา (Presenting Problem: P) (2) ขั้นที่ 2 การสร้างความสนใจร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน (Engaging : E) (3) ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ (Analyzing : A ) (4) ขั้นที่ 4 การจำแนก (Classifying : C) (5) ขั้นที่ 5 การประเมินผล (Evaluating : E ) 4) การวัดและประเมินผล 2 ด้าน คือ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์ และด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วย (1) ผู้สอนมีบทบาทในการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีการใช้คำถามที่สร้างสรรค์ ทรงพลัง (2) ผู้เรียน ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษาหาความรู้และร่วมมือกันเพื่อสร้างความรู้ (3) ใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน และรูปแบบ การสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.12/80.12
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นปฐมวัย มีดังนี้ 2.1) หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) นักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน มีพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์อยู่ในระดับสูง และ 2.3) นักเรียนมีพัฒนาการด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี
3. ผลการขยายผลรูปแบบการสอนเพื่อส่งแสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นปฐมวัย พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลการวิจัยที่เรียนตามรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ มีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนอยู่ในระดับดี