ชื่อเรื่องรายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจำบอน
ผู้ศึกษา นางประภารัตน์ เสียงใส
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านจำบอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ รายงานการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจำบอน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจำบอน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านจำบอน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านจำบอน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนบ้านจำบอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น จำนวน 7 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน19 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงและการมองเห็น เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น ที่สร้างขึ้นผลปรากฏว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น ทั้ง 7 ชุด นักเรียนทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยร้อยละ 84.01 และค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการทำแบบทดสอบหลังเรียนโดยเฉลี่ยร้อยละ 87.65 แสดงว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.01/87.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้