ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ กลุ่มสาระการเรีย

การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

นางยุวธิดา ลอยประโคน

ทำวิจัยเมื่อ พ.ศ. 2559

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิง ซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ รายวิชาเคมี 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีดัชนีประสิทธิผลสูงกว่าหรือเท่ากับ 0.50 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิง ซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์

รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre- experimental Design) ในรูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The single group, pretest-posttest Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ จำนวน 7 ชุด และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน (2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 และแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ และผลิตภัณฑ์ รายวิชาเคมี 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.95/83.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.77 (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย และ (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.78

2

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงมุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย และพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานความเชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ได้เต็มตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551 : 4) นอกจากนี้สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นสาระการเรียนรู้ที่ต้องใช้เป็นหลักเพื่อสร้างพื้นฐานการคิด การเรียนรู้ และการแก้ปัญหา การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนการสอนทั้งของครูและนักเรียน ครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้บอกเล่า บรรยาย สาธิต เป็นการวางแผนจัดกิจกรรม ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ กิจกรรมต่าง ๆ จะต้องเน้นที่บทบาทของนักเรียนตั้งแต่เริ่ม คือ ร่วมวางแผนการเรียน การวัดผล ประเมินผล กิจกรรมการเรียนรู้ควรเน้นการพัฒนากระบวนการคิด วางแผน ลงมือปฏิบัติ ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย มีการตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหา การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน การสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลที่สืบค้นได้ เพื่อนำไปสู่คำตอบของปัญหาหรือคำถามต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การสร้าง องค์ความรู้ ทั้งนี้กิจกรรมการเรียนรู้ต้องพัฒนานักเรียนให้เจริญพัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2546 : 215-216)

ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นั้น นอกจากสถานศึกษาต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแล้ว สถานศึกษา ยังต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมายการศึกษา ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ผู้ที่รับผิดชอบจะต้องวิเคราะห์บทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ อาทิ หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 ระบุไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตรา 23 ระบุไว้ว่า การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา, 2558 : 12-13)

ในด้านการจัดการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ (2551) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ เป็นกระบวนการในการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ ผู้สอนต้องพยายามจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ รวมทั้งเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์พัฒนาทักษะสำคัญต่างๆ อันเป็นสมรรถนะสำคัญที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนโดยมีหลักการจัดการเรียนรู้ว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง

3

เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ต้องเน้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู่เป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้ กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้ แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคมกระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงกระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการ กระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ของตนเองกระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องศึกษา และทำความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อสามารถเลือกใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านสังแก ตำบลราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เปิดทำการสอน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หลักสูตรโรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2552 ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2557 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ได้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับโรงเรียน ชุมชน ครอบครัว และบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในการวางแผนดำเนินการ ส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาผู้เรียนไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ ในการนี้ผู้รายงาน เป็นครูผู้สอนรายวิชาเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความตระหนัก ถึงความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามกฎหมายทางการศึกษา ตลอดจนหลักการ จุดหมายของหลักสูตร และเป้าหมายคุณภาพที่สถานศึกษากำหนดไว้ และผู้รายงานมีความตั้งใจ ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเคมีให้มีประสิทธิภาพ และมุ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยใช้กระบวนการวิจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา หาแนวทางในการแก้ปัญหาหลาย ๆ แนวทาง และเลือกแนวทางแก้ปัญหา ที่เหมาะสมและเป็นไปได้ ซึ่งจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 พบปัญหาที่สำคัญคือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 66.45 (โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก, 2558 : 33) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย ที่โรงเรียนกำหนดไว้คือ ร้อยละ 70 เมื่อวิเคราะห์สาเหตุพบว่าการจัดการเรียนการสอนยังไม่เน้น ให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ขาดวิธีการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ขาดการใช้สื่อหรือนวัตกรรมที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ กิจกรรมการเรียนรู้ยังไม่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และการสร้างองค์ความรู้จากการเรียนรู้ ซึ่งมีผลทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจไม่ถ่องแท้ ขาดความคงทนในการเรียนรู้ และไม่สามารถนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ จึงมีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ดังนั้นแนวทางในการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ก็คือ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ และปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ควรใช้สื่อหรือนวัตกรรมหรือแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลายและเหมาะสม เพื่อให้สามารถเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ในเรื่องที่ศึกษาได้ โดยผู้รายงานตั้งเป้าหมายว่าจะต้องดำเนินการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ให้ได้ค่าเฉลี่ยคิดเป็นหรือร้อยละ 70 ขึ้นไป เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด

4

จากปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด และแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ผู้รายงานได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียน และการใช้เทคนิคการสอน เพื่อนำมาส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ และพบแนวคิดต่าง ๆ พอสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ได้ ตลอดจนการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ อาทิ ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552 : 441-442) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนมีข้อค้นพบจาก การวิจัยซึ่งสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนมีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาเด็กเรียนช้าทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาเรียน และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2543 : 117) ซึ่งกล่าวว่า ชุดการเรียนช่วยให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นนามธรรมสูง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น ฝึกการตัดสินใจในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะชุดการเรียนได้ผลิตขึ้นโดยมีพื้นฐานทฤษฎีทางจิตวิทยา กล่าวคือเป็นการประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยนำหลักจิตวิทยามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ คำนึงถึงความต้องการ ความถนัด ความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับแนวคิดของสุนันทา สุนทรประเสริฐ (2547 : 1) กล่าวไว้ว่า ชุดการเรียนเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้พัฒนามาจากวิธีการเรียนการสอนหลาย ๆ ระบบเข้ามาประสมประสานให้กลมกลืนกันได้อย่างเหมาะสม นับตั้งแต่การเรียนรู้ด้วยตนเอง การร่วมกิจกรรมกลุ่ม การใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ มีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ไปทีละน้อย มีโอกาสคิดใคร่ครวญ มีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ได้ลงมือปฏิบัติ และผู้เรียนมีโอกาสเกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จ โดยการทราบผลย้อนกลับทันทีหลังจากการทำกิจกรรม สำหรับชุดการเรียนประเภทที่เรียกว่า ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน หรือชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน ซึ่งเป็นชุดการเรียนที่นักเรียนเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มโดยจัดเป็นศูนย์การเรียน ซึ่งนอกจากจะให้ประสบการณ์การเรียนรู้โดยการศึกษาด้วยตนเองแล้ว ยังส่งเสริมให้นักเรียนมีความซื่อสัตย์ สามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตลอดจนเสริมสร้างวินัยและประชาธิปไตยในระบบกลุ่มด้วย (สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ, 2550 : 100) สำหรับวิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนที่ใช้ควบคู่กับการใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เป็นวิธีสอนที่เน้นความสำคัญของผู้เรียนหรือยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และใช้เทคนิคการสอนที่ใช้สื่อประสม และกระบวนการกลุ่ม (Group Process) เพื่อส่งเสริมให้การเรียน การสอนมีชีวิตชีวา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาจากการกระทำกิจกรรม และการศึกษาด้วยตนเอง โดยแต่ละศูนย์มีชุดการเรียนให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มได้หมุนเวียนเรียนจนครบทุกศูนย์การเรียน นอกจากนี้ ทิศนา แขมมณี (2553 : 376-377) กล่าวว่าวิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนมีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ ช่วยให้ผู้เรียนทราบผลการเรียนรู้ทันที และเป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือกลุ่มย่อยได้ นอกจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชุดการเรียนรู้แล้ว ผู้รายงานได้ศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้หรือชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เช่น ผลการวิจัยของจุฑามาศ เจตน์กสิกิจ (2552 : 68-75) เรื่องการพัฒนาชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง ไฟฟ้าเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมีหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับการวิจัยของพิมพ์ลภัส อุ่นทรัพย์ (2554 : 69-75) ศึกษาเรื่องการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบสหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสอดคล้องกับผลการวิจัย

5

ของวิโรจน์ นามโส (2555 : 83-88) เรื่องการพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง ธาตุ และสารประกอบ ที่เน้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

จากความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ตลอดจนหลักการและเหตุผลดังกล่าวผู้รายงาน มีแนวคิดว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน จะสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร และบรรลุเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดไว้ได้ สำหรับเนื้อหาสาระของการวิจัยในครั้งนี้เป็นสาระการเรียนรู้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ รายวิชาเคมี 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยผู้รายงานสนใจ ที่จะศึกษาในหัวข้อ การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ และผลิตภัณฑ์ รายวิชาเคมี 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อนำสารสนเทศที่ได้จากการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนต่อไป

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ รายวิชาเคมี 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีดัชนีประสิทธิผลสูงกว่าหรือเท่ากับ 0.50

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิง ซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์

3. สมมติฐานการวิจัย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

4. ประโยชน์ที่คากว่าจะได้รับ

1. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน ในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ และระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป

2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดความพึงพอใจซึ่งเป็นผลดีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน ในหน่วยการเรียนรู้อื่น ๆ และระดับชั้นอื่น ๆ ต่อไป

3. เป็นแนวทางสำหรับผู้สนใจในการศึกษาวิจัยการพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนและวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ต่อไป

6

5. วิธีการดำเนินการวิจัย

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงการทดลองเบื้องต้น ซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้

5.1 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre- experimental Design) ซึ่งเป็นการทดลองในรูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The single group, pretest-posttest Design)

5.2 ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย

5.2.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์

5.2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่

1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์

2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์

5.3 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 76 คน จาก 3 ห้องเรียน

5.4 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนรามวิทยา รัชมังคลาภิเษก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)

5.5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย

5.5.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่

1) ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ จำนวน 7 ชุด

2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน

5.5.2 เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่

1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ เป็นแบบทดสอบปรนัยแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก

2) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 20 ข้อ เป็นแบบวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ

5.6 วิธีดำการวิจัย

ผู้รายงานดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวและมีการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง โดยดำเนินการดังนี้

5.6.1 ชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจวิธีการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์

5.6.2 วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และเก็บรวบรวมข้อมูลไว้

5.6.3 จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนเรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ ครั้งละ 1 ชุด รวม 7 ชุด วัดและประเมินผลการเรียนและเก็บรวบรวมข้อมูลไว้

7

5.6.4 เมื่อดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ เสร็จสิ้นครบ 7 ชุด แล้ววัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน

5.6.5 วัดความพึงพอใจของนักเรียน โดยให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ

5.7 การวิเคราะห์ข้อมูล

5.7.1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพและดัชนีประสิทธิผลของชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนเรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ โดยใช้สถิติร้อยละ

5.7.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ t-test

5.7.3 วิเคราะห์ความพึงพอใจ โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

6. สรุปผลการวิจัย

1. ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ รายวิชาเคมี 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.95/83.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.77

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.78

7. อภิปรายผลการวิจัย

1. ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ พบว่าชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ รายวิชาเคมี 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.95/83.72 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.77 เนื่องจากผู้รายงานได้สร้างชุดการเรียนรู้ แบบศูนย์การเรียนตามขั้นตอนการผลิตชุดการสอนแผนจุฬาทุกประการ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์เนื้อหา วางแผนการสอน การผลิตชุดการเรียน และการทดสอบประสิทธิภาพ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2543 : 117-119) นอกจากนี้ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนอง ความต้องการ ความถนัด และความสนใจของนักเรียน นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเองอย่างกระตือรือร้น เริ่มตั้งแต่การศึกษาบัตรเนื้อหาจนกระทั่งได้ข้อมูลความรู้เบื้องต้นแล้ว จึงได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีการแสดงความคิดเห็น อภิปราย สรุปเนื้อหาในทุกแง่ทุกมุมจนเข้าใจดีแล้ว จึงตอบคำถามในบัตรคำถาม ซึ่งนักเรียนสามารถตอบคำถามได้ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ และมีผลทำให้ประสิทธิภาพของกระบวนการมีค่า ร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ 80 และหลังจากนักเรียนตอบคำถามแล้วมีการตรวจสอบผลซึ่งทำให้นักเรียนทราบผลว่าถูกหรือผิดอย่างไร นอกจากนี้นักเรียนยังได้นำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรกรมกลุ่มพร้อมทั้งการสรุปบทเรียนร่วมกันในระดับชั้นเรียนอีกครั้ง จึงทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจบทเรียนยิ่งขึ้น และเมื่อนักเรียนทดสอบ หลังเรียนจึงทำได้ถูกต้อง ซึ่งมีผลทำให้ประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าร้อยละสูงกว่าเกณฑ์ 80 ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และค่าดัชนีประสิทธิผล

8

มากกว่า 0.50 ผลการวิจัยดังกล่าวนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของจุฑามาศ เจตน์กสิกิจ (2552 : 68-75) เรื่องการพัฒนาชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง ไฟฟ้าเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าชุดการสอนวิชาเคมีมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.48/81.43 ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.68 สอดคล้องกับการวิจัยของพิมพ์ลภัส อุ่นทรัพย์ (2554 : 69-75) ศึกษาเรื่องการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.18/81.56 และสอดคล้องกับผลการวิจัยของวิโรจน์ นามโส (2555 : 83-88) เรื่องการพัฒนา ชุดการเรียน เรื่อง ธาตุและสารประกอบ ที่เน้นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 4 ซึ่งพบว่าชุดการเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.55/81.71

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ พบว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย เนื่องจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนแบบศูนย์การเรียน นักเรียนได้ทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย ทั้งกิจกรรมรายบุคคลและกลุ่ม เริ่มต้นจากนักเรียนได้ทดสอบก่อนเรียน ซึ่งทำให้ทราบพื้นฐานความรู้เดิม ของตนเองในเรื่องที่จะเรียน เมื่อนักเรียนศึกษาบัตรเนื้อหาแล้วนักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างหลากหลาย มีการรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม และการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างถูกต้อง และเมื่อนักเรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเองจากการตอบคำถาม ในบัตรคำถาม ทำให้นักเรียนทราบว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจเพียงใด และในขั้นสุดท้ายนักเรียนทดสอบหลังเรียน ซึ่งจากกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องดังกล่าวจึงมีผลทำให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจึงสูงกว่าก่อนเรียน นอกจากนี้การจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนเป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านสติปัญญา ความสามารถ และสอดคล้องกับกฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ (Thorndike) คือ กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise) เพราะการฝึกหัดหรือการกระทำบ่อย ๆ ด้วยความเข้าใจทำให้การเรียนรู้นั้นคงทน และกฎแห่งการใช้ (Law of Use and Disuse) เพราะการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับ การตอบสนอง ความมั่นคงของการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหากมีการใช้บ่อย ๆ (ทิศนา แขมมณี, 2553 : 51-52) ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของจุฑามาศ เจตน์กสิกิจ (2552 : 68-75) เรื่องการพัฒนาชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง ไฟฟ้าเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดการสอนวิชาเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับการวิจัยของพิมพ์ลภัส อุ่นทรัพย์ (2554 : 69-75) เรื่องการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 ซึ่งพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสอดคล้องกับผลการวิจัยของ วิโรจน์ นามโส (2555 : 83-88) เรื่องการพัฒนาชุดการเรียน เรื่อง ธาตุ และสารประกอบ ที่เน้นความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

9

3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับพึงพอใจมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.78 เนื่องจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนเป็นการตอบสนอง ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้านความสนใจ และความต้องการ เมื่อนักเรียนเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ พร้อมทั้งได้รับการเสริมแรง ก็จะเกิดความภาคภูมิใจ เกิดความพึงพอใจ และพร้อม ที่จะเรียนรู้ต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับกฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ คือกฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of Effect)กล่าวคือ เมื่อบุคคลได้รับผลที่พึงพอใจย่อมอยากที่จะเรียนรู้ต่อไปแต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจจะไม่อยากเรียนรู้ (ทิศนา แขมมณี, 2553 : 51-52) ผลการวิจัยนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของศริญญา นามขันธ์ (2552 : 81-90) ศึกษาเรื่องการพัฒนาชุดการสอนวิชาเคมี เรื่อง โครงสร้างอะตอม สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรีสุขวิทยา จังหวัดสุรินทร์ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนในระดับมาก สอดคล้องกับผลการวิจัยของลลิตา เอียดนุสรณ์ (2553 : 46-54) เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจที่คงทนในการเรียนเรื่องการหายใจระดับเซลล์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยชุดการเรียนรู้โดยกระบวนการสืบเสาะแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ซึ่งพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนอยู่ในระดับมาก และสอดคล้องกับผลการวิจัยของสุธี ผลดี (2553 : 6-7, 59-61) เรื่องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กรด-เบส ด้วยชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ ทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน ซึ่งพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก

8. ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้

1.1 ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่อง เชื้อเพลิง ซากดึกดำบรรพ์และผลิตภัณฑ์ รายวิชาเคมี 5 ครูมีบทบาทในการชี้แนะและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียน และช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้เป็นอย่างดี เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองและกลุ่มมากที่สุด นอกจากนี้ครูควรให้การเสริมแรงอย่างเหมาะสม เช่น ชมเชยนักเรียนเมื่อทำได้ถูกต้อง หรือมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ที่กำหนด หรือมีผล การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

1.2 ครูควรชี้แจงให้นักเรียนทราบว่านักเรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ร่วมกัน ดังนั้นนักเรียนจะต้องมีความมุ่งมั่น ใฝ่เรียนรู้ และรับผิดชอบในการเรียนทั้งของตนเองและกลุ่ม

1.3 การจัดชั้นเรียนและสภาพแวดล้อม ควรชัดชั้นเรียนให้มีจำนวนนักเรียนพอเหมาะ ไม่มากเกินไป เพราะการจัดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนจะต้องใช้พื้นที่ต่าง ๆ ในการทำกิจกรรม ที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา และครูจะต้องดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ทั่วทุกกลุ่ม ในการวิจัยครั้งนี้ผู้รายงานเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1 ห้อง มีนักเรียนจำนวน 28 คน จัดเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 4-5 คน จำนวน 6 กลุ่ม

10

2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนใช้ในการวิจัยรายวิชาต่าง ๆ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ

2.2 ควรนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนไปใช้ศึกษากับตัวแปรอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ เช่น จิตวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น

โพสต์โดย krumam : [23 พ.ค. 2561 เวลา 10:58 น.]
อ่าน [4445] ไอพี : 103.10.228.70
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 15,666 ครั้ง
สาเหตุของความดันโลหิตสูงที่คาดไม่ถึง
สาเหตุของความดันโลหิตสูงที่คาดไม่ถึง

เปิดอ่าน 12,479 ครั้ง
7 วิธีเติมความมีชีวิตชีวาให้ชีวิต
7 วิธีเติมความมีชีวิตชีวาให้ชีวิต

เปิดอ่าน 15,677 ครั้ง
แตงกวามีดีกว่าที่คุณคิด
แตงกวามีดีกว่าที่คุณคิด

เปิดอ่าน 77,303 ครั้ง
ประโยชน์ของ "หอยขม" ตามตำราแพทย์แผนไทย
ประโยชน์ของ "หอยขม" ตามตำราแพทย์แผนไทย

เปิดอ่าน 9,154 ครั้ง
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557
สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก ปี 2557

เปิดอ่าน 11,021 ครั้ง
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป
ทบทวนระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาของไทยเดี๋ยวนี้... ฤๅว่าจะสายเกินไป

เปิดอ่าน 32,306 ครั้ง
ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา

เปิดอ่าน 11,647 ครั้ง
‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย
‘หมอธี’ เดินหน้าล้างบาง ‘กระทรวงครู’ ขจัด ‘เหลือบริ้นไร’ วงการศึกษาไทย

เปิดอ่าน 14,193 ครั้ง
รู้จัก รู้ใช้ ถุงลมนิรภัย
รู้จัก รู้ใช้ ถุงลมนิรภัย

เปิดอ่าน 165,594 ครั้ง
ประโยชน์ของวิตามินแต่ละชนิด
ประโยชน์ของวิตามินแต่ละชนิด

เปิดอ่าน 15,492 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษาไทย เป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย
ปฏิรูปการศึกษาไทย เป็นเรื่องที่เหลวไหลและเลื่อนลอย

เปิดอ่าน 30,242 ครั้ง
การบวกและการลบ
การบวกและการลบ

เปิดอ่าน 38,876 ครั้ง
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่7) พ.ศ.2554 (ประกาศใช้วันที่ 31/05/2554)
พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร (ฉบับที่7) พ.ศ.2554 (ประกาศใช้วันที่ 31/05/2554)

เปิดอ่าน 18,855 ครั้ง
ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา
ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา

เปิดอ่าน 8,490 ครั้ง
ผู้นำซูเปอร์บอร์ดการศึกษา?
ผู้นำซูเปอร์บอร์ดการศึกษา?

เปิดอ่าน 29,186 ครั้ง
"หอยนางรม" บำรุง "ตับ-ไต-สุขภาพ-เพศ"
"หอยนางรม" บำรุง "ตับ-ไต-สุขภาพ-เพศ"
เปิดอ่าน 10,713 ครั้ง
รู้จัก "ไวรัสไข้หวัดหมู" มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
รู้จัก "ไวรัสไข้หวัดหมู" มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
เปิดอ่าน 24,917 ครั้ง
Do’s Don’ts เคี้ยวให้ฟันปลอดภัย
Do’s Don’ts เคี้ยวให้ฟันปลอดภัย
เปิดอ่าน 15,351 ครั้ง
เมื่อรู้สึกว่าอ้วนเกินไป ทำยังไงดี
เมื่อรู้สึกว่าอ้วนเกินไป ทำยังไงดี
เปิดอ่าน 3,459 ครั้ง
Toyota Yaris 2022 เพื่อนซี้โฉมใหม่ที่ลงตัวมากกว่าเดิม
Toyota Yaris 2022 เพื่อนซี้โฉมใหม่ที่ลงตัวมากกว่าเดิม

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ