ชื่อเรื่องงานวิจัย: การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนภูมิความหมาย
ผู้วิจัย: นางสาวชมามาศ อินทรกระโทก
โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา: 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนภูมิความหมาย โดยมีนักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 70 มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ขึ้นไป2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการสร้างแผนภูมิความหมายกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนครบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการสร้างแผนภูมิความหมาย ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารจำนวน 7 แผนแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการสร้างแผนภูมิความหมายจำนวน 15 ข้อการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละค่าเฉลี่ย ( )และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนครบุรี อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการสร้างแผนภูมิความหมาย ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.11 คิดเป็นร้อยละ 80.38 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.66และเมื่อพิจาณาร้อยละของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 พบว่านักเรียนที่มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจผ่านเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 มีจำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 100 สรุปได้ว่านักเรียนมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิคการสร้างแผนภูมิความหมายพบว่ามีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.47ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50 สรุปได้ว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนภูมิความหมายจัดอยู่ในระดับมาก