ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบ โครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเค

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบ

โครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

THE DEVELOPMENT OF ACADEMIC ADMINSTRATION MODEL FOR

ENHANCING TEACHER’S PERFORMANCE IN USING PROJECT-BASED LEARNING TO FOSTER CREATIVE THINKING OF STUDENTS

IN TESSABAN 1 SCHOOL (BAN KAPAEH)

ชื่อผู้วิจัย นางพนิดา อินทจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed methods research) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative method) และการวิจัยเชิงคุณภาพ(quatitative method) และใช้รูปแบบการวิจัย(Pre-experimental design) แบ่ง 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัยทดลองหาประสิทธิผลของรูปแบบ เป็นการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการกับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาปรับปรุงรูปแบบวิชาการ ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบให้มีความสมบูรณ์ มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง(one-group pretest-posttest design) มาพัฒนาเป็นแบบแผนการวิจัยที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างคือ ครู จำนวน 10 คน และนักเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่ได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือครูและผู้บริหาร แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินแผนการสอน แบบประเมินความพึงพอใจ แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ เครื่องมือการประเมินคือ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินแผนการสอน แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินความสามารถ แบบประเมินความพึงพอใจ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) สามารถกำหนดกรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ได้

2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ประกอบด้วย องค์ประกอบของการบริหารงานวิชาการที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างเป็นระบบทำให้ การบริหารงานวิชาการมีประสิทธิภาพ จำนวน 7 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 3) การพัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 4) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 5) การวัดผลและประเมินผล 6) การนิเทศการศึกษา 7) การประสานความร่วมมือ

การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ผู้ปกครอง ชุมชน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบ

โครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) และนำการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ไปใช้ พบว่า รูปแบบที่ได้จากการวิจัยมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอน

แบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนพบว่า

4.1 ครูมีความรู้ความเข้าใจการสอนแบบโครงงานหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

4.2 ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และแผนการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

4.3 ครูมีความสามารถในการสอนสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

4.4 ครูมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) อยู่ในระดับดีมาก

4.5 นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

คำสำคัญ : รูปแบบการบริหารงานวิชาการ, สมรรถนะการสอนแบบโครงงาน,

ทักษะการคิดวิเคราะห์

บทนำ

จากกระแสวัฒนธรรมโลกเกิดความก้าวหน้าในการติดต่อสื่อสาร การขยายตัวของเครือข่าย ทางสังคมส่งผลให้มีทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อวิถีชีวิตทัศนคติและความเชื่อในสังคม ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กระบวนการเรียนรู้ของผู้คนทุกชาติต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและ เกิดการแข่งขันสูงในเรื่องของคุณภาพ สังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤติค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวัฒนธรรมต่างชาติที่หลากหลาย เพราะขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ไม่สามารถ

คัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมที่ดี เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมให้สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสใหม่ของโลกได้ ประเทศไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อสถานการณ์เพื่อสร้างศักยภาพของคนในชาติให้สามารถดำรงอยู่ในประชาคมโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นเรื่องจำเป็นที่รัฐจะต้องดำเนินการ โดยจะต้องให้การศึกษาที่มีคุณภาพแก่ประชาชน เพื่อทำให้ศักยภาพในตัวผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (พิมพันธ์ เดชะคุปต์, พเยาว์ ยินดีสุข, ราเชน มีศรี, 2550: 1, สุภาวดี ตรีรัตน์, 2555: 1) สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ผู้เรียนทุกคน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด การจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาเต็มศักยภาพ (สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2546: 3-4) สำหรับประเทศไทยได้กำหนดนโยบายการจัดการศึกษาของชาติให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผลทดสอบการศึกษาระดับชาติเพิ่มขึ้น เน้นให้ผู้เรียนมีความ สามารถในการเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ในรูปแบบที่มีความหลากหลาย สนุกกับการเรียนรู้ และมีโอกาสได้เรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างสร้างสรรค์ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ได้กำหนดกรอบแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบไว้ 4 ประการ คือ 1) การพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่ 2) การพัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่ 3) การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่ และ 4) การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจึงได้มีนโยบายพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด จัดให้นักเรียนในสังกัดได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ นักเรียนจะได้รับการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, 2557: 51, พิณสุดา สิริธรังศรี, 2557: 6, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559: 17) และจากการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนของประเทศไทยพบว่าตลาดแรงงานมีความต้องการทักษะและความชำนาญในงานประจำทั้งด้านฝีมือและด้านความคิดที่ครั้งหนึ่งเคยถือว่าสำคัญ กลับเป็นที่ต้องการน้อยลง แต่ความต้องการทักษะด้านการแก้ปัญหา ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ ตอบสนองสถานการณ์มีเพิ่มขึ้นนั้นคือ การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 การจัดการศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้กับครูและนักเรียน ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ในชั้นเรียน (สุนีย์ คล้ายนิล, 2558: 1) และรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบสาม(พ.ศ.2554-2558) พบว่า โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย แต่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาด้านประถมศึกษา จุดที่ควรพัฒนาด้านผลการจัดการศึกษา โรงเรียนควรรีบเร่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพิ่มการพัฒนาความสามารถในการด้านการคิดของผู้เรียน ด้าน การจัดการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนา การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู วางแผนพัฒนาครูแต่ละคนอย่างเป็นระบบ (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) , 2556: 6) ดังนั้น สถานศึกษาจึงควรมีโครงการพัฒนาครูผู้สอนในรายวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญผู้เรียนควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาในด้านความคิดรวบยอด การเรียนรู้การศึกษาค้นคว้า การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการและการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้(โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ), 2558: 34)

จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะ การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ที่สามารถนำไปพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

3. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) และนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ไปใช้

4. เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอน

แบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยของการประเมิน ดังนี้

4.1 เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนแบบโครงงานของครูก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

4.2 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนแผนการสอนที่ใช้การสอนแบบโครงงานก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

4.3 เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสอนแบบโครงงานของครูก่อนและหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

4.4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

4.5 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบ

การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

กรอบแนวคิดการวิจัย

กรอบแนวคิดการวิจัยครั้งนี้ได้พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะ การสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) สรุปแนวคิดสำคัญได้เป็นแผนภาพที่ 1 ดังนี้

วิธีการวิจัย

ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยศึกษาข้อมูลพื้นฐาน(Research (R1): Analysis) เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน

ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ (Development (D1): (Design and Development) เป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 3 การวิจัยทดลองหาประสิทธิผลของรูปแบบ(Research (R2): Implementation) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการกับกลุ่มตัวอย่าง

ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาปรับปรุงรูปแบบวิชาการ (Development: Evaluation (D2) เป็นการประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบให้มีความสมบูรณ์

ขอบเขตการวิจัย

การศึกษาครั้งนี้ มีขอบเขตการวิจัย ดังนี้

1. เนื้อหา เนื้อหาที่นำมาสร้างเป็นรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะ การสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ได้แก่ การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสรรถนะการสอนแบบโครงงานที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ความรู้เกี่ยวกับการสอนแบบโครงงานของครู การเขียนแผนการจัดประสบการณ์และแผนการสอนแบบโครงงานของครู การสอนแบบโครงงานของครู ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

2. กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะ การสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) จำนวน 10 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ปีการศึกษา 2558 - 2559

3. ตัวแปรที่ศึกษา ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยตัวแปร ดังนี้

3.1 ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) คือ การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบริหาร งานวิชาการเพื่อพัฒนาสรรถนะการสอนแบบโครงงานที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

ขั้นที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ

ขั้นที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ

ขั้นที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ

ขั้นที่ 4 ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ

3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) คือ สมรรถะการสอนแบบโครงงาน ประกอบด้วย

3.2.1 ความรู้เกี่ยวกับการสอนแบบโครงงานของครู

3.2.2 ความสามารถในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์และแผนการสอนแบบโครงงานของครู

3.2.3 ความสามารถในการสอนแบบโครงงานของครู

3.2.4 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการ

3.2.5 ความสามารถด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

4. ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ดำเนินการวิจัยใช้ระยะเวลาในการทดลองสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 – ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2558 – มีนาคม 2559

สรุปผลการวิจัย

1.ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานมีความจำเป็นและมีความสำคัญมากเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนานักเรียนให้มีผลการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตรกำหนด

2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) มีชื่อว่า “รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)”ได้พัฒนาขึ้นภายใต้การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ร่วมกับแนวคิดการบริหารงานวิชาการของ รุ่ง แก้วแดง (2545: 51) ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2553: 13-14)สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552: 6-7) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ 3) การพัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 4) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 5) วัดผลและประเมินผล 6) การนิเทศการศึกษา 7) การประสานความร่วมมือ การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ผู้ปกครอง ชุมชน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา และมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)และนำการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ไปใช้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการพัฒนาทุกรายการ ทั้งด้านความรู้และทักษะของครูและนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) มีคะแนนเฉลี่ย 5.60 ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ .84 และหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) มีคะแนนเฉลี่ย 14.00 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของครูหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.12 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ โดยก่อนการใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.94 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .73 และหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 20.78 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .52

4. ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบ

โครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)

พบว่า ผู้เชี่ยวชาญทุกท่านประเมินความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันคือ ในทุกประเด็นมีความสอดคล้องกับรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) และมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ส่วนผลลัพธ์ที่เป็นผลจากการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ของครูผู้สอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยด้านสมรรถนะของครูผู้สอน คะแนนเฉลี่ยด้านสมรรถนะการสอนแบบโครงงานที่ส่งเสริมทักษะ

การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนและคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สำหรับด้านความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1

(บ้านกาแป๊ะ) พบว่า ในภาพรวมครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) อยู่ในระดับมาก โดยครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.12 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .05 ส่วนการทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยระดับคะแนนเท่ากับ 20.78 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .52

อภิปรายผล

1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะ

การสอนแบบโครงงานมีความจำเป็นและมีความสำคัญมากเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนานักเรียนให้มีผลการเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตรกำหนด ปัจจัยที่สำคัญในการสอนแบบโครงงาน คือ การให้ความรู้แก่ครูเกี่ยวกับการสอนแบบโครงงาน ควรให้ครูได้จัดกิจกรรมการสอนแบบโครงงานเพื่อให้นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ การทำโครงงานทำให้เกิดทักษะการคิดย่อยๆในแต่ละขั้นตอนของการทำโครงงาน ช่วยให้นักเรียนได้รู้จักใช้เหตุผล วินิจฉัยข้อเท็จจริง ช่วยในการประเมินและตัดสินใจได้อย่างเป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ โบลเลอร์ (Boaler, 1997) ที่พบว่า การใช้วิธีการจัดการเรียนที่แตกต่างกัน โดยโรงเรียนแรกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ส่วนโรงเรียนที่สองใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติโดยสังเกตและสัมภาษณ์เป็นระยะ ๆ เป็นเวลา 3 ปี พบว่าโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน นักเรียนมองว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยืดหยุ่น ส่วนโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนแบบปกติ นักเรียนมองว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อต้องอาศัยความจำเป็นหลัก สอดคล้องกับ เชฟเฟิร์ด (Shepherd, 1998) ที่พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสามารถพัฒนาทักษะ

การคิดวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับ ราวิซ (Ravitz , 2008) ได้ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการจัดการเรียนรู้ ซึ่งครูผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในการจัดการเรียนรู้ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พัฒนาเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์มีความสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับ สมเดช หล้าหมอก (2550) พบว่า การพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ส่งผลให้นักเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียนผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น แสดงว่าการสอนแบบโครงงานทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น ครูเป็นผู้กระตุ้นและช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมโครงงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอนจึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบโครงงานสูงขึ้นพฤติกรรมรายบุคคลอยู่ในระดับคุณภาพดี

2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) พบว่า “รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)” ประกอบด้วย

7 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้

3) การพัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา 4) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 5) วัดผลและประเมินผล 6) การนิเทศการศึกษา 7) การประสานความร่วมมือ การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่ผู้ปกครอง ชุมชน และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา และมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด ซึ่งสอดคล้องกับ ฮิวเบอร์ (Huber, 2007) ได้วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาได้มีการลดองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการ เป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การอำนวยความสะดวกในการพัฒนาวิสัยทัศน์ 2) การสร้างความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล 13) การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ และ 4) การเสริมสร้างความเป็นผู้นำ และการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน สอดคล้อง คัมภีร์ สุดแท้ (2553) ที่พบว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก มี 2 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อย ดังต่อไปนี้ องค์ประกอบหลักที่ 1 ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก มี 11 องค์ประกอบย่อย คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น การวางแผนด้านวิชาการ การเรียนการสอนและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหนังสือ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผล และการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การนิเทศการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การแนะแนวการศึกษา การจัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาบุคคล ครอบครัว ชุมชนและองค์กรอื่นที่จัดการศึกษา องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการพัฒนาการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก มี 6 องค์ประกอบย่อย คือ

การระบุเป้าหมาย การจัดทำแผนกลยุทธ์ การปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์การส่งเสริม ควบคุม กำกับ ติดตาม นิเทศการตรวจสอบและประเมินผล และการสะท้อนผล รายงานผลการดำเนินงาน และ

การนำผลการประเมินไปใช้ สอดคล้องกับ สอดคล้องกับ

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)และนำการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ไปใช้ พบว่า ผลการวิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูผู้สอนหลังใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) หลังใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ จากประเด็นดังกล่าว เป็นไปได้ว่า เหตุผลที่คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูผู้สอน ความพึงพอใจของครู และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนมีพัฒนาการที่มีแนวโน้มทั้งด้านความรู้และทักษะไปในทิศทางที่ดีขึ้น สอดคล้องกับ มาร์มอน (Marmon, 2002) ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการกำหนดสมรรถนะหลักของผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการจัดการศึกษาภายใต้ข้อกำหนดของส่วนกลาง พบว่า สมรรถนะหลักสำหรับผู้บริหารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาตามที่กำหนดจำนวน 18 สมรรถนะเช่น สมรรถนะด้านการบริหาร สารสนเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ภาวะผู้นำ การมีวิสัยทัศน์ การจูงใจ การวางแผน เพื่อช่วยเหลือครูให้มีมาตรฐานวิชาชีพซึ่งครูผู้สอนย่อมต้องพยายามพัฒนาสมรรถภาพของตนเองตลอดเวลาการเสริมสร้างสมรรถภาพของครู ครูจำเป็นต้องทบทวนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตนเองในการปฏิบัติงานและปรับพฤติกรรมการทำงานให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง แนวทางการเสริมสร้างสมรถภาพครู ครูต้องหาความรู้ สร้างความเข้าใจให้สอดคล้องกับงานขององค์กรตน และสอดคล้องกับมาตรฐานตามวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษามีหน้าที่ในการบริหารการศึกษา หรือการสนับสนุนการศึกษาเป็นงานสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2547: 122) รจนา เตชะศรี (2550: 12) และ สุนทร เพ็ชร์พราว (2551: 17) กล่าวว่า ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อการทำงานในทางบวก เป็นความสุขของบุคคลที่เกิดจากการปฏิบัติงานและได้รับผลตอบแทน คือ ผลที่เป็นความพึงพอใจทำให้บุคคลเกิดความรู้สึกกระตือรือร้นมีความมุ่งมั่นที่จากทำงาน มีขวัญและกำลังใจ และสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน รวมทั้งส่งผลต่อความสำเร็จและเป็นไปตามเป้าหมายขององค์การ หรือเต็มใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์มีความสุขในการทำงาน

4. ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) จากการประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ ทั้งกระบวนการได้มาจากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลลัพธ์ที่เป็นผลจากการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการและจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่พัฒนาขึ้นหลังจากที่ได้นำรูปแบบการบริหารงานวิชาการไปใช้พบว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) นี้ สามารถนำไปใช้ได้จริงในภาคปฏิบัติแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนมีความจำเป็นที่ต้องมีความรู้และความเข้าใจเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเด็นของการบริหารงานวิชาการ เทคนิค/ทักษะการสอนแบบโครงงานที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการใช้เครื่องมือสังเกตการสอน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ดังนี้ ฟอเรสท์ และกินเซอร์ (Foret and Kinser , 2002: 1) ได้กล่าวว่า การบริหารงานวิชาการ คืองานที่จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารและการส่งเสริม การจัดทำหลักสูตร การสอนและการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารต้องรู้จักการวางแผนงานที่ต้องรับผิดชอบในการติดตามงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาการทั้งหมด ซึ่งเป็นภาระงานที่ใหญ่กว่างานบริหารงานทั่วๆไป สอดคล้องกับ พิกุล ชาวชายโขง (2553) ครูมีความพึงพอใจต่อการบริหารวิชาการโรงเรียนศึกษานารีวิทยา โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยมีด้านกระบวน การจัดการเรียนรู้ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีการได้รับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาจากผู้บริหาร ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยมีการส่งเสริมให้ครูทำแผนการจัดการเรียนรู้ จัดให้มีการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ด้านการใช้สื่อการเรียนรู้ มีการส่งเสริมให้ครูนำสื่อมาใช้ในการเรียนรู้ และจัดสรรงบประมาณในด้านสื่อการเรียนรู้ มีการส่งเสริมสนับสนุน การบูรณาการเนื้อหาวิชาเข้าด้วยกัน และได้รับคำชี้แนะแนวการจัดทำแผนบูรณาการ ด้านการวัดประเมินผล

มีการสนับสนุนให้มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย แสดงว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) เกิดประสิทธิผล และสามารถสรุปผลได้ดังนี้

4.1 ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนแบบโครงงานของครูหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ เนื่องจาก พบว่า ผลการเปรียบเทียบผลคะแนนด้านความรู้เกี่ยวกับการสอนแบบโครงงานที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูผู้สอนโดยภาพรวม พบว่าครูผู้สอนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนแบบโครงงานที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ สอดคล้องกับ กรณิศ มุงเมือง (2551) ที่พบว่า คู่มือการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมีความเหมาะสมมากที่สุดในการนำไปใช้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจมีทักษะโครงงานและพัฒนาพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนผลที่เกิดกับครูผู้สอนพบว่าครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานและใช้สื่อคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สอดคล้องกับ สุพรรณี อาวรณ์ และ แก้วเวียง นำนาผล (2557) ที่พบว่า ผลการพัฒนาครูด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์พบว่าทุกคนมีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ ครูสามารถจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ได้ ซึ่งสะท้อนผลจากการเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่กลุ่มผู้วิจัยจัดการเรียนรู้ด้านการคิดวิเคราะห์ เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่าคะแนนทดสอบ หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน และวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูด้านการคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

4.2 ส่วนผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนแผนการสอนของครูที่ใช้การสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)หลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมาก เนื่องจาก พบว่าผลการเปรียบเทียบผลคะแนนความสามารถด้านการเขียนแผนการสอนแบบโครงงานที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูผู้สอนโดยภาพรวม พบว่าครูผู้สอนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการเขียนแผนการสอนแบบโครงงานที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์หลังการใช้รูปแบบ สอดคล้องกับ รุ้งเพ็ชร เบ้าเรือง (2552) ที่พบว่า การพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ผู้ร่วมวิจัยมีความกระตือรือร้นในการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การคิดวิเคราะห์ และการวางแผนการทำงาน ด้านทักษะกระบวนการกลุ่ม ทำให้การเรียน การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานได้ ผลการทดสอบก่อนและหลังการปฏิบัติการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานมีผลการพัฒนาเพิ่มขึ้น

4.3 ส่วนผลการเปรียบเทียบความสามารถในการสอนแบบโครงงานของครูหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมาก เนื่องจาก พบว่า ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการสอนแบบโครงงานของครูหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ คราชิค และคณะ (Krajcik and other, 1994) ที่พบว่า ครูต้องการให้ความช่วยเหลือและเอาใจใส่เป็นอย่างมากกับนักเรียนที่เรียนอ่อน ส่วนนักเรียนที่เรียนเก่งจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ นักเรียนจะเป็นผู้ดำเนินงานการศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆที่ตนสนใจ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับบทเรียนโดยใช้วิธีการศึกษาค้นคว้า นอกจากนั้นครูต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหาและเทคโนโลยี เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาโครงงานของนักเรียน และจากการศึกษายังทำให้ทราบว่าการจัดการสอนแบบโครงงานเป็นการเรียนแบบร่วมมือ ผลที่ได้จากโครงงานเป็นการพัฒนาความคิดรวบยอดและสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางวิชาการของนักเรียนได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับ เมเยอร์ และคณะ(Bwneke and other, 2000) ที่พบว่า ผลการสอนแบบโครงงานของวัยเด็กได้ผล 3 ประการ ที่แตกต่างกัน การสอนจากการอบรมการสอนโครงงานหลังจากทำการสอน 1 ปี การสอนแบบโครงงาน จัดเป็นเนื้อหา ดังนี้ หลักสูตรหลังทำการสอน 1 ปี ทำให้การวิจัยแบบโครงงาน ครูมีความกระตือรือร้นขึ้นในการจัดกระบวนการสอนแบบโครงงานและได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองช่วยกันทำการทดลอง เพื่อเป็นการประเมินโครงการ ซึ่งเป็นการท้าทายความสามารถของนักเรียนในการจัดหลักสูตรเป็นอย่างดี สอดคล้องกับ พรชัย บุญยืน และ ชุน เทียมทินกฤต (2556) ที่พบว่า ก่อนการดำเนินการพัฒนา ผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าไม่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน การจัดการเรียนการสอนยังยึดการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนเป็นหลัก ไม่ให้โอกาสนักเรียนค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย นักเรียนกระตือรือร้นที่จะค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมมากขึ้นกว่าเดิม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้จักการแสวงหาความรู้ด้วย การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตได้ใช้ทักษะหลาย ๆ ด้านในการจัดทำโครงงานนักเรียนรักการทำงานเป็นหมู่คณะ มีความสามัคคีมีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสุขในการเรียนเพิ่มมากขึ้น

4.4 ส่วนผลการศึกษาความพึงพอใจของครูหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) อยู่ในระดับมาก เนื่องจาก พบว่า ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูหลังการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ กรณิศ มุงเมือง (2551) พบว่า ครูมีเจตคติอยู่ในระดับดีมากโดยรวมผลด้านเจตคติอยู่ในระดับดีมากความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิชาสังคมศึกษา (ส 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสามัคคีวิทยาคมโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก รพีพรรณ สุฐาปัญนกุล (2557) พบว่า รูปแบบการสอนภาษาการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเทคนิค โดยใช้วิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการ คือ 1)หลักการ เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมีลักษณะการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน(Cooperative learning) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับความรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานให้ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการในการทำงาน เพื่อร่วมกันสร้างภาระงานหรือโครงงาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาในสถานการณ์ที่หลากหลายส่งเสริมการเรียนรู้อย่างอิสระ ให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด รับผิดชอบงานปฏิบัติและพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ สอดคล้องกับ

4.5 ส่วนผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบ การบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ เนื่องจาก ผลการทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ในระดับสูง สอดคล้องกับ Boaler (1997) ที่พบว่าโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน นักเรียนมองว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยืดหยุ่น ส่วนโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนแบบปกติ นักเรียนมองว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่น่าเบื่อต้องอาศัยความจำเป็นหลัก สอดคล้องกับ Shepherd (1998) ที่พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น มีความมั่นใจเพิ่มขึ้น และการเรียนรู้ดีขึ้นหลังจากที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สอดคล้องกับ ดุสิต ขาวเหลือง (2554) ที่พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานแบบปกติและจัดการเรียนรู้แบบโครงงานมีผลการเรียนสูงกว่าการเรียนรู้แบบปกติ และปฏิสัมพันธ์ร่วมระหว่างวิธีการจัดการเรียนรู้กับระดับผลการเรียนพบว่าวิธีการจัดการเรียนรู้และระดับผลการเรียนร่วมกันส่งผลต่อคะแนนทักษะการคิดของนิสิตระดับปริญญาตรีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อเสนอแนะ

จากข้อค้นพบของการวิจัยและพัฒนาเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ)” ผู้วิจัยได้สรุปเป็นข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไปไว้ดังนี้

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ได้พัฒนาด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนาและการออกแบบเชิงระบบ ซึ่งสามารถตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอน เพื่อให้การนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ไปใช้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ซึ่งผู้ที่จะนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ไปใช้ควรมีความรู้ และทักษะในการสอนแบบโครงงานเป็นอย่างดี

2. จากการติดตามผลการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ไปใช้ พบข้อสังเกตจากการปฏิบัติของครูผู้สอนว่า การที่มีผู้คอยดูแล ซึ่งมีความรู้ความสามารถในด้านการสอนแบบโครงงานคอยช่วยเหลือติดตามการปฏิบัติจะสามารถช่วยให้ครูผู้สอนเกิดความมั่นใจและมีกำลังใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งการนำนวัตกรรมใหม่ๆไปใช้ ผู้บริหารหรือหัวหน้าวิชาการจำเป็นต้องมีการติดตาม ดูแล ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

3. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ไปใช้ทุกฝ่ายจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันถึงเป้าหมายของการกำกับ ดูแลและติดตามอย่างแท้จริง คือ เพื่อให้ความช่วยเหลือและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามขั้นตอนอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์เพื่อนำไปสู่การใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย

4. จากการติดตามดูแลและให้ความช่วยเหลือครูผู้สอนจากผู้บริหารเป็นระยะๆตลอดช่วงของการพัฒนาจะช่วยเสริมสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้แก่ครูผู้สอนและช่วยก่อให้เกิดความอบอุ่นใจ เพิ่มความมั่นใจในระหว่างการสอนแบบโครงงาน

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไปไว้ดังนี้

1. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนแบบอื่นๆ หรือการบริหารกลุ่มงานบริหารทั่วไป งานบุคคล มีการติดตามดูแลของผู้บริหาร เพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

2. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) จากปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนต่อไปให้หลากหลายวิธีการยิ่งขึ้น

3. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) ในอนาคตด้วยการออกแบบการวิจัยที่มีการเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่นำรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนแบบโครงงานของครูที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านกาแป๊ะ) มาใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ดำเนินการสอนตามรูปแบบปกติ

โพสต์โดย พนิดา : [16 มี.ค. 2560 เวลา 09:31 น.]
อ่าน [3932] ไอพี : 113.53.140.55
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 10,064 ครั้ง
ลมมรสุม โดย นาวาเอกเจริญ เจริญรัชตภาคย์
ลมมรสุม โดย นาวาเอกเจริญ เจริญรัชตภาคย์

เปิดอ่าน 26,185 ครั้ง
เทรนด์ชุดนักศึกษาแบบตัวใหญ่ไม่รัดติ้ว กำลังจะกลับมา จริงหรือ?
เทรนด์ชุดนักศึกษาแบบตัวใหญ่ไม่รัดติ้ว กำลังจะกลับมา จริงหรือ?

เปิดอ่าน 41,710 ครั้ง
อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?
อาเซียน +3 และ อาเซียน +6 คืออะไร ?

เปิดอ่าน 12,613 ครั้ง
กิจกรรมวันสงกรานต์
กิจกรรมวันสงกรานต์

เปิดอ่าน 36,938 ครั้ง
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา
พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา

เปิดอ่าน 84,839 ครั้ง
Adjectives ( articles -a/an )
Adjectives ( articles -a/an )

เปิดอ่าน 10,706 ครั้ง
จดหมายฉบับที่ 36 ถึงนายกรัฐมนตรี+รมว.ศธ. เรื่อง ยกเลิกวิธีนำร่องในการปรับลดเวลาเรียน
จดหมายฉบับที่ 36 ถึงนายกรัฐมนตรี+รมว.ศธ. เรื่อง ยกเลิกวิธีนำร่องในการปรับลดเวลาเรียน

เปิดอ่าน 11,811 ครั้ง
ชวนดู ฝนดาวตกสิงโต หรือฝนดาวตกลีโอนิดส์ 17-18 พ.ย.
ชวนดู ฝนดาวตกสิงโต หรือฝนดาวตกลีโอนิดส์ 17-18 พ.ย.

เปิดอ่าน 23,067 ครั้ง
ข้อห้ามของคนอกหัก
ข้อห้ามของคนอกหัก

เปิดอ่าน 4,476 ครั้ง
6 ทักษะจำเป็นสู่ความสำเร็จในอนาคตยุคดิจิทัล
6 ทักษะจำเป็นสู่ความสำเร็จในอนาคตยุคดิจิทัล

เปิดอ่าน 12,806 ครั้ง
วันสิ่งแวดล้อมโลก กับ วิกฤติน้ำแล้ง - ขาดแคลนอาหาร (5 มิ.ย.)
วันสิ่งแวดล้อมโลก กับ วิกฤติน้ำแล้ง - ขาดแคลนอาหาร (5 มิ.ย.)

เปิดอ่าน 16,367 ครั้ง
แนะนำ 5 เทคนิคดีๆ ในการฝึก
แนะนำ 5 เทคนิคดีๆ ในการฝึก 'อ่านภาษาอังกฤษ' ให้เก่งขั้นเทพ…!!

เปิดอ่าน 8,289 ครั้ง
คนอดนอนกลับยิ่งทำให้กินอาหารจุขึ้น
คนอดนอนกลับยิ่งทำให้กินอาหารจุขึ้น

เปิดอ่าน 9,520 ครั้ง
ห้องสมุดในมัสยิด อีกย่างก้าวของความรู้
ห้องสมุดในมัสยิด อีกย่างก้าวของความรู้

เปิดอ่าน 15,557 ครั้ง
มากกว่านี้มีอีกไหม! พบคู่แฝด 29 คู่เรียนในโรงเรียนเดียวกันที่อุดรธานี
มากกว่านี้มีอีกไหม! พบคู่แฝด 29 คู่เรียนในโรงเรียนเดียวกันที่อุดรธานี

เปิดอ่าน 13,922 ครั้ง
แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา อนุบาล-จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี2557
แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา อนุบาล-จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี2557
เปิดอ่าน 19,762 ครั้ง
ต้นขาไก่ ใบหมักเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
ต้นขาไก่ ใบหมักเป็นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา
เปิดอ่าน 10,131 ครั้ง
สมองที่ไร้ข้อมูล ความรู้และความคิด
สมองที่ไร้ข้อมูล ความรู้และความคิด
เปิดอ่าน 8,715 ครั้ง
ปฏิรูปผู้บริหารสถานศึกษาก่อน ผลจะย้อนมาถึงคุณภาพครู
ปฏิรูปผู้บริหารสถานศึกษาก่อน ผลจะย้อนมาถึงคุณภาพครู
เปิดอ่าน 9,962 ครั้ง
จุฬาฯ ฉลอง อันดับ 138 มหาวิทยาลัย ชั้นนำของโลก
จุฬาฯ ฉลอง อันดับ 138 มหาวิทยาลัย ชั้นนำของโลก

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ