บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการวัดความยาวและพื้นที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการวัดความยาวและพื้นที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องการวัดความยาวและพื้นที่ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการวัดความยาวและพื้นที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม อำเภอบุณฑริก สำนักการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ที่กำลังเรียน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่เรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์กับผู้ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการวัดความยาวและพื้นที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 แผน มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.40 2) แบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการวัดความยาวและพื้นที่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 เล่ม มีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.33 3) แบบทดสอบย่อยหลังเรียน เรื่องการวัดความยาวและพื้นที่ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 9 ชุด ๆ ละ 10 ข้อ รวม 90 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .22-.80 ค่าความยากง่าย อยู่ระหว่าง .21-.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการวัดความยาวและพื้นที่ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .23-.80 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง .24-80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการทดสอบนักเรียนก่อนเรียน (Pre-test) ทำแบบฝึกเสริมทักษะทดสอบย่อยนักเรียนหลังเรียน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Post-test) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ E1/ E2 วิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ใช้ t test วิเคราะห์สมมติฐานการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังเรียน ใช้ E.I. วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ ใช้ IOC วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบ ใช้สถิติวิเคราะห์ค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) และใช้สถิติหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือทั้งฉบับ (rc c ) และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ (P) และค่า S.D.
ผลการศึกษาพบว่า
1.1 ประสิทธิภาพของ แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร มีค่าเท่ากับ 76.68/75.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
1.2 เปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
1.3 ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรเท่ากับ 0.5921 หมายความว่า แบบฝึกเสริมทักษะชุดนี้ทำให้ผลการเรียนของกลุ่มตัววอย่างมีความก้าวหน้าเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 59.21