ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
รายงานการประเมินโครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพ ที่ 121)

บทคัดย่อ

ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพ ที่ 121)

ชื่อผู้ศึกษา นางเอมฤดี ทองพันชั่ง

ชื่อหน่วยงาน สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

ปีที่ศึกษา 2558

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1.) ประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต และ 2.) ประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 108 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงทั้งหมด 18 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 45 คน และผู้ปกครอง จำนวน 45 คน รวม 90 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มเป้าหมายมาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา จำนวน 7 คน เพื่อจัดสนทนากลุ่มในด้านบริบท เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

ผลการศึกษาพบว่า

1.ผลการสังเคราะห์ข้อมูลจากการวิพากษ์ และให้ข้อเสนอแนะในด้านบริบทของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ การจัดสรรทรัพยากรเพียงพอ โครงการเกิดจากความต้องการของครู นักเรียน และบุคลากร และสนองต่อนโยบายของต้นสังกัด ซึ่งสามารถปฏิบัติได้จริง มีการกำกับ นิเทศ และติดตามอย่างต่อเนื่อง

2.การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้านด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. การประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก

บทที่ 1

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

เยาวชนเป็นกำลังสำคัญของชาติ เด็กและเยาวชนที่มีร่างกายสมบูรณ์ สุขภาพจิตดี ย่อมมีความพร้อมด้านสติปัญญา สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ สามารถประกอบอาชีพและดำรงตนอยู่ได้ในสังคมอย่างมีสุข ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีประโยชน์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่เด็กๆ เพราะเด็กเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญที่จะเจริญเติบโตเป็นทรัพยากรด้านกำลังและสมองของประเทศชาติในอนาคต การพัฒนาสุขภาพอนามัยของเด็กในวัยเรียนและเยาวชนซึ่งเป็นวัยที่เจริญเติบโต ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จำเป็นต้องจัดควบคู่ไปกับการศึกษาที่ดี องค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญที่ช่วยหล่อหลอมให้คนมีศักยภาพสูงสุด คือ การมีสุขภาพที่ดีได้รับการศึกษาเหมาะสมตามวัย การศึกษาและสุขภาพจึงเปรียบเสมือนด้านหน้าและด้านหลังของเหรียญ จะขาดด้านในด้านหนึ่งมิได้ เช่นเดียวกับองค์ประกอบด้านการศึกษาและสุขภาพ ที่จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กัน จึงจะสามารถพัฒนาศักยภาพของคนได้เต็มที่ ได้มีการศึกษาความสัมพันธ์ของสุขภาพกับการศึกษา พบว่าสุขภาพกาย จิตและสังคมที่ดีช่วยให้เด็กซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต มีการศึกษาเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าเนื่องจากการไม่ขาดเรียน มีความตั้งใจในการเรียนรู้มากกว่า มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการศึกษาและในการดำรงชีวิตมากกว่าตลอดจนเป็นคนที่มีคุณภาพ เป็นกำลังสำคัญของประเทศ(กรมอนามัย.2544:8)

ดังนั้น สุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินควบคู่กันไป ให้เกิดความประสานเพื่อประโยชน์และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อผลลัพธ์ที่เป้าหมาย คือ เก่ง ดี มีสุข โดยเฉพาะจากมิติสำคัญของนโยบายชาติ ประการที่หนึ่ง คือ มิติแห่งการปฏิรูปการศึกษากล่าวถึง การประกันคุณภาพการศึกษา ในด้านการเรียน การสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ บนพื้นฐานการจัดการศึกษา ในปรัชญาหลัก 3 ประการ คือ การศึกษาเพื่อปวงชนการศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาทั้งมวล อีกประการหนึ่ง คือ มิติแห่งการปฏิรูประบบสุขภาพ กล่าวถึง การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเป็นการให้สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน ในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้รับมาตรฐาน โดยกระบวนการจัดการด้านสุขภาพ ในปรัชญาหลัก 3 ประการ คือ สุขภาพเพื่อปวงชน สุขภาพเพื่อชีวิต และสุขภาพเพื่อแก้ปัญหาทั้งมวล ซึ่งทั้ง 2 มิติ ต่างมีความเชื่อมโยงจากรากฐานปรัชญาเดียวกัน ดังนั้น การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงขึ้นอยู่กับกระบวนการจัดการศึกษา และการสร้างสุขภาพจุดเริ่มต้นต้องมุ่งไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันการศึกษาให้เป็นแกนนำหรือศูนย์กลางการสร้างสุขภาพพร้อมๆกับการพัฒนาด้านการศึกษา ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ครอบครัวของเด็ก โรงเรียน ชุมชน และองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสถาบันพื้นฐานทางสังคมที่มีความสำคัญยิ่งของการพัฒนา การประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาของเด็กเพื่อนำไปสู่การพัฒนาโรงเรียนให้เป็น “โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ” ของชุมชน

(กรมอนามัย.2546:4-5)

แนวคิดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอยู่ในการเตรียมความพร้อมเพื่อชีวิตโดยเน้นการมีสุขภาพดีของเด็กในปัจจุบันรวมทั้งเตรียมตัวเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพจิตดี และมีจิตสำนึกดีในอนาคต โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นกลยุทธ์หนึ่งของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่จุดมุ่งหมายที่จะปฏิรูปการสาธารณสุข โดยเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนากลยุทธ์ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จึงเน้นคนในโรงเรียนเป็นหลัก (กรมอนามัย.2547ก:9)

โรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคมที่มีบทบาทในการสร้างเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ทางวิชาการ และพัฒนาคุณลักษณะ ความสามารถ ความรับผิดชอบของการเป็นพลเมืองดีด้วยการสั่งสอนให้เกิดการเรียนรู้จากกิจกรรมในหลักสูตรและเสริมหลักสูตร โรงเรียนจึงเหมาะที่จะเป็นสถานที่สร้างเสริมสุขภาพ ปลูกฝังเจตคติและเสริมสร้างทักษะที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของเด็ก และเยาวชน เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต และสามารถกระจายการดูแลสุขภาพกลับสู่ชุมชนได้ด้วยการเสริมศักยภาพการเรียนรู้และทักษะให้กับนักเรียนทุกคน ในรูปแบบโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ปัญหาที่เด็กและเยาวชนกำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบันนั้น ไม่ใช่ปัญหาที่โรงเรียนจะต้องแก้ไขฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน จากการที่กรมอนามัย ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องรับผิดชอบด้านการส่งเสริมสุขภาพ อนามัยของประชาชนไทย จึงได้นำกลยุทธ์ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมาใช้ ซึ่งเริ่มต้นในแผนพัฒนากระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 8 ซึ่งเป็นช่วงระดมความคิด เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมใน ปีงบประมาณ 2541 จึงได้ทั้งหมดเป็นเป้าหมายได้มีการดำเนินงานโรงเรียนต้นแบบ เพื่อเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดละ 1 โรงเรียน และขยายการดำเนินงานให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 50 ของโรงเรียนในจังหวัด เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 8 และในแผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 9 (ปีงบประมาณ 2545-2549) รัฐบาลมีนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพอย่างจริงจังและได้กำหนดเป้าหมาย โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปี 2545 ไว้ในคำประกาศนโยบาย และเป้าการรณรงค์ “ปีทอง” แห่งการสร้างสุขภาพ ทั่วไทยที่จะพัฒนาให้เกิด “โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ” จำนวนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60 ของโรงเรียนทั้งหมดทั่วประเทศ เพื่อเป็นศูนย์ส่งเสริมให้นักเรียนและชุมชนมีพฤติกรรมในการ “สร้าง” สุขภาพ ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต และมีเป้าหมายไว้ว่า สิ้นสุดแผนพัฒนาสาธารณสุข ฉบับที่ 9 โรงเรียนทุกแห่งต้องเข้าร่วมโครงการ และไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 เป็นโรงเรียนที่ได้รับมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ(ชุติมา อินหัน 2546:2-3)

ต่อมาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ได้ปรับปรุงโครงสร้างของโรงเรียนที่มีอยู่เดิมโดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือการกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนจาก 7ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้แทนองค์กรอนามัยโลก ได้เสนอกรอบแนวคิดและวิธีดำเนินงาน ในการจัดตั้งโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting Schools) เพื่อพัฒนาให้โรงเรียนเน้นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสุขภาพควบคู่ไปกับการเรียนการสอน ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ โดยกำหนดคุณลักษณะของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพไว้ว่าเป็นโรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่ง มั่นคง ที่จะเป็นสถานที่ ที่มีสุขภาพอนามัยการเรียนรู้ และการทำงาน (กำจัด สุดโต. 2553:4)

จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อวิถีชีวิตของเด็กวัยเรียนและเยาวชน โดยเฉพาะด้านพฤติกรรมเสี่ยงจากการได้รับแบบอย่างที่ไม่เหมาะสม มีค่านิยมและวัฒนธรรมตามกระแสสังคมที่ไม่ถูกต้อง ไปสู่ปัญหาที่เกิดจากตัวเด็ก ครอบครัว และสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โรคเอดส์ ยาเสพติด ความรุนแรง และอุบัติเหตุ เป็นต้น ปัญหาดังกล่าว หากไม่มีการป้องกันล่วงหน้า จะก่อให้เกิดความสูญเสียนานัปการ จำเป็นต้องให้ความสำคัญและเร่งสร้างคุณภาพทั้งการศึกษาควบคู่ไปกับสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เด็กและเยาวชน เป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี(กรมอนามัย. 2556:1)

ในปี พ.ศ. 2545 กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการให้โรงเรียนที่สังกัดเทศบาลทุกโรงเรียน เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มของการพัฒนาสุขภาพควบคู่ไปกับการเรียนโดยบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค และอนามัยสิ่งแวดล้อม ให้เกิดการพัฒนาแบบองค์รวม ในพื้นที่โรงเรียน (กรมอนามัย,2545:15) โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) เป็นโรงเรียนหนึ่งที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ผู้ศึกษาได้เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล4 (บ้านโนนมิตรภาพที่ 121) ได้นำโรงเรียนเข้าขอรับการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับทองใน ปี2554 และผลกระทบที่ก่อให้เกิดผลดีตามมา คือ นักเรียนมีสุขภาพกายและจิตที่ดี รวมถึงสุขภาพฟัน และมีผลงานเกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมทันตสุขภาพชนะเลิศในการประกวดนิทานส่งเสริมทันตสุขภาพ เป็นโรงเรียนแกนนำเครือข่าย เด็กไทยฟันดี ระดับประเทศ ซึ่งถือว่าการนำโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจอย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินโครงการมีความต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืนรวมทั้งให้ได้ข้อสนเทศอย่างรอบด้านในทุกมิติ จึงได้ดำเนินการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงรายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และศึกษาความพึงพอใจในการดำเนินงาน เพื่อหาข้อมูลในการปรับปรุงส่งเสริม และพัฒนาโครงการต่อไป

คำถามการประเมิน

ในการประเมินครั้งนี้ เพื่อให้มีแนวทางในการประเมินที่ชัดเจน เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ผู้ศึกษาจึงได้กำหนดคำถามการประเมินไว้ดังนี้

1. ผลการดำเนินการตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ด้านกระบวนการ (process) และด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับใด

2. ความพึงพอใจของบุคคลากรที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) อยู่ในระดับใด

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

1. เพี่อประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่121) ในด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product)

2. เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินการตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)

ความสำคัญของการประเมิน

จากผลการศึกษาการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) และความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งผู้บริหารสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาโครงการและจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และเป็นข้อมูลในการพิจารณาวางแผนปรับปรุงและพัฒนาโครงการนี้และโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันต่อไป

ขอบเขตในการประเมิน

1. ขอบเขตประชากร กลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มเป้าหมาย

1.1 ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 270 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน ครู จำนวน 10 คน นักเรียน 126 คน ผู้ปกครอง จำนวน 126 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน (ไม่รวมผู้บริหารและผู้แทนครู)

1.2 กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ตัวแทนประชากร จำนวน 108 คน ผู้ศึกษาได้ดำเนินการดังนี้

1) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของเครสซี่และมอร์แกน (Robert V. Krejcie and Morgan. 1970: 608-609)

2) กำหนดจำนวนของกลุ่มตัวอย่างดังนี้

2.1) กลุ่มตัวอย่างที่เป็น ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาผู้ศึกษาเลือกมาทั้งหมด 18 คน

2.2) กลุ่มตัวอย่างที่เหลือซึ่งได้แก่นักเรียน และผู้ปกครอง ผู้ศึกษาได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายให้ได้ครบตามจำนวนของขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหลือ จำนวน 90 คน ซึ่งได้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 45 คน ผู้ปกครองจำนวน 45 คน

กลุ่มตัวอย่าง ได้เลือกมาแบบเจาะจง ครูประจำชั้น จำนวน 8 คน ตัวแทนผู้ปกครองแต่ละชั้น จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 47 คน

1.3 กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ศึกษาได้เลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา มาประชุมสนทนากลุ่ม เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับด้านบริบทของสถานศึกษา

2. ขอบเขตเพื่อหาการประเมิน

การประเมินครั้งนี้ได้ยึดรูปแบบประเมินซิปป์ (CIPP MODEL) โดยมีการประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนและด้านผลผลิต

3. ขอบเขตด้านตัวแปร

ผู้ศึกษาได้ศึกษาตัวแปรดังนี้

3.1 ความคิดเห็นของบุคคลากรต่อการดำเนินการโครงการตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต

3.2 ความพึงพอใจของบุคคลากรต่อการดำเนินการโครงการตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)

4. ขอบเขตด้านวิธีการประเมิน

การประเมินครั้งนี้ได้ยึดรูปแบบประเมินซิปป์(CIPP MODEL) โดยมีการประเมินโครงการ 4 ด้าน คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต

5. ขอบเขตด้านพื้นที่

ผู้ศึกษาดำเนินการประเมินโครงการในโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ถนนศรีสะเกษ – อุทุมพรพิสัย ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

6. ขอบเขตด้านเวลา

ผู้ศึกษาได้ดำเนินการประเมินโครงการในปีการศึกษา 2558 ระหว่างเดือน พฤษภาคม 2558 – มีนาคม 2559

กรอบแนวคิดในการรายงาน

1.การประเมินครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของ สตัฟเฟิลบีม (Stuffle beam CIPP Model) ซึ่งแบ่งการรายงานออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

1.1 การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

1.2 การประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับ งบประมาน วัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และการบริหารจัดการในโรงเรียน

1.3 การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการตามโครงการ

1.4 การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) เป็นการประเมินเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามโครงการ

2. การประเมินความพึงพอใจการดำเนินการตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)

จากขอบข่ายของกลุ่มตัวแปรที่ต้องการศึกษาข้างต้น ผู้ศึกษาได้นำมากำหนดกรอบแนวคิดเชิงระบบ(System Approach) เพื่อเป็นแนวทาง ดังแสดงในแผนภาพที่ 1.1

แผนภาพที่ 1.1 แสดงกรอบแนวคิดในการศึกษา (Conceptual Framwork)

นิยามศัพท์เฉพาะ

เพื่อให้การรายงานโครงการมีความสมบูรณ์สื่อความหมายและเกิดความเข้าใจให้ตรงกัน ผู้ศึกษาได้นิยามศัพท์เฉพาะไว้ดังนี้

1. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ที่เป็นศูนย์กลางพัฒนาสุขภาพของนักเรียนคณะครู และบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพดีและขยายผลไปสู่ครอบครัว และชุมชน ภายใต้การบริหารจัดการของโรงเรียน

2. การประเมินโครงการ หมายถึง กระบวนการรวบรวม วิเคราะห์ แปลผลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงาน โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพว่า บรรลุตามวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)

2.1 ด้านบริบท(Context Evaluation) หมายถึง การดำเนินการของผู้รับผิดชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งระดับของสภาพแวดล้อมที่ทำให้การดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ประกอบด้วยความต้องการความพร้อม และการกำหนดนโยบาย หมายถึง ข้อความที่กำหนดทิศทางการดำเนินงาน ด้านส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อกิจกรรม และการจัดสรรทรัพยากร เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ

2.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) หมายถึง การดำเนินการของผู้รับผิดชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งระดับของความเหมาะสมในส่วนที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการและการกำหนดการใช้ทรัพยากร ประกอบด้วย

2.2.1 บุคลากร หมายถึง จำนวนบุคลากรในสถานศึกษาที่มีความรู้ความสามารถเข้าใจโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

2.2.2 วัสดุอุปกรณ์ หมายถึง การได้รับสนับสนุนสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นเพียงพอ และมีประสิทธิภาพมาใช้ในการดำเนินการ

2.2.3 งบประมาณ หมายถึง การได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณแผ่นดินเงินรายได้และงบประมาณขององค์กรที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการดำเนินการอย่างเพียงพอ

2.2.4 การบริหารจัดการในโรงเรียน หมายถึง การจัดองค์กรและระบบการบริหารงาน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความต่อเนื่องเหมาะสมกับบริบทโรงเรียน

2.3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) หมายถึง การดำเนินการของผู้รับผิดชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งระดับของขั้นตอน วิธีการดำเนินงานตามโครงการประกอบด้วย

2.3.1 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและหน่วยงานอื่น หมายถึง โครงการหรือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพดำเนินการร่วมกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กร หน่วยงานอื่น

2.3.2 การบริหารอนามัยโรงเรียน หมายถึง การที่โรงเรียนจัดให้มีการบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับนักเรียนทุกคน ได้แก่ การเฝ้าระวังสุขภาพ การตรวจสุขภาพ และการรักษาพยาบาลเบื้องต้น

2.3.3 การให้คำปรึกษาและสนับสนุน หมายถึง ระบบการบริการให้คำปรึกษา แนะแนว ให้ความรู้ ช่วยเหลือนักเรียนไม่ให้มีปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพจิต และลดภาวะเสี่ยง รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน

2.4 ด้านผลผลิต(Product Evaluation) หมายถึง การดำเนินการของผู้รับผิดชอบเพื่อให้ได้มาซึ่งระดับของการดำเนินโครงการ บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการประกอบด้วย ความร่วมมือของนักเรียน ครู ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง และได้รับประโยชน์ในการพัฒนาสุขภาพจากโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพประกอบด้วย

2.4.1 สุขศึกษาในโรงเรียน หมายถึง การที่โรงเรียนจัดกิจกรรมสุขศึกษาทั้งในหลักสูตร และผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ และมีการฝึกปฏิบัติที่นำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่นำไปสู่สุขภาพดี

2.4.2 การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ หมายถึง การจัดการควบคุม ดูแล ปรับปรุงภาวะต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ เอื้อต่อการเรียนรู้รวมถึงการป้องกันโรคและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

2.4.3 โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย หมายถึง การส่งเสริมให้นักเรียนมีภาวะเจริญเติบโต สมวัย โดยจัดให้มีอาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ สะอาด ปลอดภัย และน้ำดื่มสะอาด บริการให้นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน

2.4.4 การส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน หมายถึง การจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นส่งเสริมสุขภาพให้นักเรียนและบุคลากรมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ส่งผลดีต่อสุขภาพตนเองและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น

3. การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง การดำเนินการของผู้รับผิดชอบ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการดำเนินงานตามโครงการของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)

4. ความพึงพอใจ หมายถึง ระดับความพอใจของบุคคลากรที่มีต่อการดำเนินการตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)

5. ครู หมายถึง ผู้ที่สอนและรับผิดชอบในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

6. คณะกรรมการสถานศึกษา หมายถึง ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามระเบียบคณะกรรมการสถานศึกษา ให้มีส่วนร่วมในการบริหารงานสถานศึกษาในโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) (ไม่รวมผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้แทนครู)

7. ผู้ปกครอง หมายถึง บิดา มารดา หรือญาติพี่น้องหรือผู้อุปการะที่ดูแลรับผิดชอบนักเรียนของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)

8. นักเรียน หมายถึง เด็กที่กำลังศึกษาในโรงเรียนเทศบาล4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ในปีการศึกษา 2558

9. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา หมายถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ซึ่งผู้ศึกษานำมาจัดประชุมสนทนากลุ่มประกอบด้วย

9.1 นักวิชาการศึกษาจากสำนักการศึกษา จำนวน 1 คน

9.2 ครู จำนวน 2 คน ที่รับผิดชอบโครงการ

9.3 ตัวแทนกรรมการสถานศึกษา จำนวน 2 คน

9.4 ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 2 คน

9.5 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1 คน

บทที่ 5

สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนสงเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) 4 ด้าน ดังนี้ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และเพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือผู้บริหารจำนวน 1 คน นักเรียนจำนวน 126 คน ครูจำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาจำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 126 คน รวม 270 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 108 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาเลือกแบบเจาะจงมาทั้งหมด 18 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 45 คน ผู้ปกครองได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 45 คน รวม 90 คน กลุ่มเป้าหมายมาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา จำนวน 7 คน เพื่อจัดสนทนากลุ่มในด้านบริบท เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 และแบบประเมินความ

พึงพอใจต่อการประเมินโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)

สรุปผลการศึกษา

จากการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

1.ผลการสังเคราะห์ข้อมูลจากการวิพากษ์ และให้ข้อเสนอแนะในด้านบริบทของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ การจัดสรรทรัพยากรเพียงพอ โครงการเกิดจากความต้องการของครู นักเรียน และบุคลากร และสนองต่อนโยบายของต้นสังกัด ซึ่งสามารถปฏิบัติได้จริง มีการกำกับ นิเทศ และติดตามอย่างต่อเนื่อง

2.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) สรุปผลได้ดังนี้

ด้านปัจจัยนำเข้า

ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ การดำเนินกิจกรรมในโครงการมีความต่อเนื่อง มีงบประมาณในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ และบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ระยะเวลาดำเนินการเหมาะสมกับกิจกรรมที่กำหนด

ด้านกระบวนการ

ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยกัน และโรงเรียนจัดกิจกรรมในโครงการเสริมการเรียนการสอน มีการประเมินผลการจัดกิจกรรมในกรอบเวลาที่กำหนด และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ มีการประสานการทำงานร่วมกันของกรรมการแต่ละฝ่าย

ด้านผลผลิต

ผลการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ มีการควบคุมป้องกันโรคต่างๆ ที่มีตามฤดูกาลอย่างจริงจังในโรงเรียนและชุมชน และนักเรียนมีทักษะแปรงฟันให้สะอาดอย่างถูกวิธี สุขภาพและอนามัยของครู และนักเรียนดีขึ้น และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ โรงเรียนสะอาด สวยงาม ร่มรื่น มีมาตรการควบคุมอุบัติเหตุ

3.ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ นักเรียนมีสุขภาพที่ดี ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองได้ มีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการ และผลงานการประกวดแข่งขันเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีการประชุมเพื่อปรับแผนการดำเนินงานระหว่างดำเนินการ

อภิปรายผล

การศึกษาการประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) ผลการศึกษา สามารถอภิปรายได้ดังนี้

1.จากผลการศึกษา ในด้านบริบท พบว่าโรงเรียนมีความพร้อมในระดับมาก

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีหน่วยงานให้การสนับสนุน ได้แก่ หน่วยงานต้นสังกัด คือเทศบาลเมืองศรีสะเกษ หน่วยงานอื่นๆ เช่น โรงพยาบาลศรีสะเกษ สำนักงานสาธารณสุขศรีสะเกษ โครงการมีแนวโน้ม ที่จะแก้ปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพฟันของเด็กได้ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ชัดเจนในการดำเนินโครงการ สอดคล้องนโยบายเทศบาลเมืองศรีสะเกษ “ศรีสะเกษเมืองน่าอยู่ เมืองสุขภาพดี ประชาชนมีการศึกษา พึ่งพาตนเองได้” งบประมาณที่สนับสนุนเพียงพอทั้งภายในและภายนอก โครงการสามารถปฏิบัติได้จริง มีแผนกำกับ นิเทศ และติดตามโครงการ

จากผลการศึกษานี้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ พรรษชล โมสิกะ (2548:186) คือ โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสมชาย สุขสมศักดิ์ (2548:58-59) ซึ่งพบว่า ด้านบริบท โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการและวัตถุประสงค์ของโครงการการดำเนินการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนมีความเหมาะสมสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และยังสอดคล้องกับเกรียงศักดิ์ พานโคกสูง (2551:107-108) พบว่า ด้านบริบท มีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทั้งด้านนโยบายและด้านความต้องการและความพร้อมมีการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. จากผลการศึกษาด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)มีการดำเนินการโดยรวม อยู่ในระดับมาก

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโรงเรียนสนับสนุนให้ครูเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุภาพและมีการดำเนินกิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่อง และตามระยะเวลาที่กำหนด โดนมีการตรวจสุขภาพนักเรียนทุกปีตามที่กำหนด มีการเฝ้าระวังภาวะการณ์เจริญเติบโตของนักเรียนโดยการรายงาน น้ำหนัก ส่วนสูง ของนักเรียนทุกๆเดือนและมีการรายงานภาวะทุพโภชนาการต่อสำนักการศึกษาภาคเรียนละ 1 ครั้ง และรายงานภาวะฟันผุต่อกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมปีการศึกษาละ 1 ครั้ง ครูอนามัยโรงเรียนเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการส่งเสริมสุขภาพโดยได้รับการสนับสนุนให้เข้ารับการอบรมประชุมสัมมนา ศึกษาดูงานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง งบประมาณที่สนับสนุนโครงการนั้นมีเพียงพอละยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด เช่น เงินอุดหนุนจากกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพ ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เทศบาลเมืองศรีสะเกษ

จากการศึกษานี้ สอดคล้องกับ รักขณา สิงห์เทพ (2548 : 32) พบว่า บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจโครงการอยู่ในระดับมาก สมชาย สุขสมศักดิ์ (2548: 58-59) ปัจจัยนำเข้า โรงเรียนมีการดำเนินการตามแผนมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องมีงบประมาณเพียงพอ และกำจัด สุดโต (2553:76-77) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีการตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน มีแผนการติดต่อประสานงานชัดเจน การมอบหมายงานมีความเหมาะสม มีวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเหมาะสม ติดตามผล การดำเนินงาน มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ มีเอกสารหนังสือ คู่มือและข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ

3. จากผลการศึกษาด้านกระบวนการ พบว่า โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) มีการดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมาก

ทั้งนี้อาจเนื่องมาจาก โรงเรียนอยู่ในเครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพและเครือข่ายเด็กไทยฟันดี การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยกันจึงเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอเพราะมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างโรงเรียน เช่น เป็นวิทยากรร่วมกัน ร่วมมือกันจัดนิทรรศการ เด็กไทยฟันดี จัดนิทรรศการลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพื่อประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน การจัดกิจกรรมในโครงการเสริมการเรียนการสอน โรงเรียนมีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนซึ่งเป็นชุดการสอนเรื่อง สิ่งเสพติดให้โทษซึ่งอยู่ในกลุ่มสาระวิชาสุขศึกษาและพละศึกษา สนับสนุนให้นักเรียนจัดทำหนังสือนิทานเล่มเล็ก เกี่ยวกับทันตสุขภาพ บูรณาการในวิชาภาษาไทย และวิชารักการอ่าน สอนการคัดแยกขยะในวิชาสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศกำกับติดตามการดำเนินโครงการตามระยะเวลาที่กำหนด

ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ กำจัด สุดโต (2553:76-77) ที่พบว่า มีการประชุมวางแผนก่อนดำเนินโครงการ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องและการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แต่งตั้งกรรมการก่อนดำเนินโครงการ สำรวจข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเป็นปัจจุบัน นิเทศกำกับการดำเนินโครงการตามระยะเวลา สรุปประเมินผลการดำเนินงานโครงการตามแผน และนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง อรพรรณ นันติ (2556:64) ได้วิจัยและพบว่า ด้านกระบวนการมีการดำเนินงานเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด , การส่งเสริมสุขภาพระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและการจัดกิจกรรมโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็นไปตามแผนการปฏิบัติการที่วางไว้ตามลำดับ

4. จากผลการศึกษาด้านผลผลิต พบว่าโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121) มีการดำเนินการโดยรวมอยู่ในระดับมาก

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและครูร่วมกันส่งเสริมความรู้สุขศึกษาให้แก่นักเรียนโดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนนักเรียนสามารถนำความรู้สุขศึกษาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ รู้จักควบคุมป้องกันโรคต่างๆ เช่นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลาย การดูแลตนเอง ป้องกันตัวเองจากโรคไข้หวัด โรคอุจจาระร่วง โรคมือปากเท้าเปื่อย ฯลฯ นักเรียนรู้จักวิธีแปรงฟันที่สะอาดและถูกขั้นตอน เพราะมีกิจกรรมสาธิตการแปรงฟันหน้าเสาธงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และครูที่รับผิดชอบโครงการกำกับดูแล วิธีแปรงฟันและการรักษาความสะอาดช่องปาก มีแบบสังเกตพฤติกรรม ติดตามการแปรงฟันที่บ้าน โดยให้ผู้ปกครองกำกับดูแลช่วยอีกทางหนึ่ง ซึ่งผลที่ได้คือ นักเรียนมีสุขภาพฟันที่ดีขึ้น ผลการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพทำให้สุขภาพอนามัยของ ครู นักเรียน ดีขึ้น อัตราการเจ็บป่วยลดน้อยลง อัตราฟันผุของนักเรียนลดน้อยลง

สอดคล้องกับงานวิจัยของ กำจัด สุดโต (2553:76-77) ด้านผลผลิตมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก มีการควบคุมและการป้องกันโรคติดต่อแก่นักเรียน การเผยแพร่ความรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคต่างๆ อย่างทันท่วงที เผยแพร่ความรู้เรื่องโทษของบุหรี่ สุรา ยาเสพติด และการพนัน สถานที่เตรียมปรุงอาหารเพียงพอถูกหลักอนามัย การล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารของนักเรียน การจัดบริการดูแลสุขภาพในช่องปากให้แก่นักเรียน การจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้าน สุขภาพแก่นักเรียน การขยายผลสู่ชุมชนทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น การขาดเรียนของนักเรียนจากการเจ็บป่วยมีน้อยลง และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ อรพรรณ นันติ (2556:64) ที่พบว่า นักเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ, นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนมีสุขภาพแข็งแรง และนักเรียนสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากสารเสพติดได้

5. จากผลการศึกษาด้านผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าโรงเรียนมีการดำเนินการตามโครงการอย่างชัดเจนและต่อเนื่องส่งผลให้นักเรียน ครู มีสุขภาพที่ดีสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างปลอดโรคและปลอดภัย มีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผอดชอบโครงการ มีการกำกับติดตามนิเทศโครงการ นักเรียนมีผลงานประกวดแข่งขันเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพ เช่น รางวัลนิทานเล่มเล็กส่งเสริมทันตสุขภาพ เรื่อง “มหัศจรรย์ฟันหนูนา” “หนูดีฟันสวย” และ “ฟันหนูจำได้” นิทานเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์และเป็นลิขสิทธิ์ของกระทรวงสาธารณสุข นำไปเผยแพร่ในโรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศ ส่วนโรงเรียนได้รับรางวัลรองชนะเลิศโครงการเครือข่ายเด็กไทยฟันดี ปี 2556 โดยศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานีระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือและรางวัลชนะเลิศเครือข่ายเด็กไทยฟันดียอดเยี่ยม ปี 2558 จากกระทรวงสาธารณสุข สร้างความภาคภูมิใจในแก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน

ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับงานวิจัย สมชาย สุขสมศักดิ์ (2548: 58-59) ผลการศึกษาเห็นว่านักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจในรูปแบบของกิจกรรมในระดับมาก พบว่า โครงการมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้

จากการศึกษาผลพบว่า ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีการดำเนินการโดยรวม อยู่ในระดับมาก จึงควรนำข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาให้โครงการยั่งยืนและนำข้อค้นพบที่ได้ เผยแพร่ให้เครือข่ายโครงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยกันนำไปพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โรงเรียนควรมีการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต่อไป ซึ่งเห็นได้จากผลการศึกษาว่า ครู นักเรียน และผู้ปกครองร่วมมือกันจัดกิจกรรม เพื่อแก้ปัญหาในด้านสุขภาพของนักเรียน ครู และผู้ปกครองได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ควรมีการพัฒนาโครงการกิจกรรมต่อไปนี้ โครงการทันตสุขภาพ การออกกำลังกายหน้าเสาธง และการจัดกิจกรรมป้องกันสารเสพติดในโรงเรียน ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป

จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อค้นพบที่สำคัญหลายประเด็น ผู้ศึกษาได้พิจารณานำประเด็นที่น่าสนใจศึกษามาเป็นข้อเสนอแนะดังนี้

1. ผลการศึกษาพบว่า ด้านบริบทมีความพร้อมมาก ผู้ศึกษาควรวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อค้นหาประเด็นความพร้อมว่าโครงการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกหรือหน่วยงานภายใน

2. ผลการศึกษาพบว่าด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ควรศึกษาต่อเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยว่าปัจจัยใดที่มีความสำคัญและปัจจัยใดที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านโนนสำนักมิตรภาพที่ 121)

โพสต์โดย เอม : [23 พ.ย. 2559 เวลา 09:18 น.]
อ่าน [9358] ไอพี : 1.1.218.235
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โพสต์โดย

คุณ -

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 16,293 ครั้ง
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับผลไม้
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับผลไม้

เปิดอ่าน 92,043 ครั้ง
เพลงลูกเสือ เพลงประกอบท่าทาง
เพลงลูกเสือ เพลงประกอบท่าทาง

เปิดอ่าน 11,505 ครั้ง
วัคซีน"หวัด09"เข็มเดียวอยู่
วัคซีน"หวัด09"เข็มเดียวอยู่

เปิดอ่าน 17,225 ครั้ง
งูพันไม้เท้าสัญลักษณ์ของการแพทย์
งูพันไม้เท้าสัญลักษณ์ของการแพทย์

เปิดอ่าน 30,558 ครั้ง
วัสดุในชีวิตประจำวัน
วัสดุในชีวิตประจำวัน

เปิดอ่าน 13,111 ครั้ง
สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ
สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ

เปิดอ่าน 83,514 ครั้ง
หลักการใช้ Verb to have
หลักการใช้ Verb to have

เปิดอ่าน 2,436 ครั้ง
ประโยชน์ของน้ำขิง
ประโยชน์ของน้ำขิง

เปิดอ่าน 8,284 ครั้ง
มิวสิควิดีโอเพลง ดีใจได้เรียนฟรี ลุงตู่จัดให้ [Official MV]
มิวสิควิดีโอเพลง ดีใจได้เรียนฟรี ลุงตู่จัดให้ [Official MV]

เปิดอ่าน 15,888 ครั้ง
การเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก เพลินๆ สร้างรายได้ รับชมกันได้เลยครับ
การเลี้ยงกบคอนโดร่วมกับปลาดุก เพลินๆ สร้างรายได้ รับชมกันได้เลยครับ

เปิดอ่าน 10,711 ครั้ง
ดูแลสมอง ให้แจ๋วเสมอ
ดูแลสมอง ให้แจ๋วเสมอ

เปิดอ่าน 66,108 ครั้ง
การอ่านแบบ Scanning
การอ่านแบบ Scanning

เปิดอ่าน 30,861 ครั้ง
สารทเดือนสิบ ประเพณีประจำภาคใต้ ร่วมระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ
สารทเดือนสิบ ประเพณีประจำภาคใต้ ร่วมระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ

เปิดอ่าน 8,878 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด
ปฏิรูปการศึกษา ติดอาวุธครูสอนคิด

เปิดอ่าน 20,539 ครั้ง
รู้ไว้เพื่อระวัง กรุ๊ปเลือดบอกความสุ่มเสี่ยงของโรคได้นะ
รู้ไว้เพื่อระวัง กรุ๊ปเลือดบอกความสุ่มเสี่ยงของโรคได้นะ

เปิดอ่าน 30,775 ครั้ง
การประเมินผลการเรียนโดยการสัมภาษณ์
การประเมินผลการเรียนโดยการสัมภาษณ์
เปิดอ่าน 20,423 ครั้ง
อีกวิธีสำหรับหยุดอาการ "สะอึก"
อีกวิธีสำหรับหยุดอาการ "สะอึก"
เปิดอ่าน 12,375 ครั้ง
เก็บหนังสือเก่าไม่ให้ขึ้นรา
เก็บหนังสือเก่าไม่ให้ขึ้นรา
เปิดอ่าน 14,482 ครั้ง
นอนหลับท่าไหนดีที่สุด
นอนหลับท่าไหนดีที่สุด
เปิดอ่าน 23,655 ครั้ง
นางสงกรานต์ปี 2556 นามว่า "มโหธรเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว มีนกยูงเป็นพาหนะ
นางสงกรานต์ปี 2556 นามว่า "มโหธรเทวี" ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว มีนกยูงเป็นพาหนะ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ