หัวอกผู้ปกครองยุค "โควิด-19" สุดเหนื่อยค่าใช้จ่ายเพิ่ม - เรียนออนไลน์ไม่มีคุณภาพ



สรุปผลการสำรวจ : หัวอกผู้ปกครองในยุคโควิด-19

13 ก.พ. 2565 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานในวัยเรียน เรื่อง “หัวอกผู้ปกครองในยุคโควิด-19” จำนวนทั้งสิ้น 1,089 คน ระหว่างวันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2565 พบว่า ผู้ปกครองมีบุตรหลาน ที่ต้องดูแลรับผิดชอบ จำนวน 1 คน ร้อยละ 46.84 จำนวน 2 คน ร้อยละ 41.51 มีภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเทอม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนมากที่สุด ร้อยละ 78.26 รองลงมาคือ ค่าอาหารการกิน ร้อยละ 76.23 เรื่องที่หนักใจคือเรื่องสุขภาพของบุตรหลาน การฉีดวัคซีนโควิด-19 ร้อยละ 83.79 รองลงมาคือ การเรียนออนไลน์ ร้อยละ 70.63 ส่วนมาก ไม่ค่อยเชื่อมั่นต่อคุณภาพของการเรียนการสอนออนไลน์ ร้อยละ 55.52 โดยอยากให้โรงเรียน/สถานศึกษาออกแบบการเรียนการสอนที่สนุกและได้สาระความรู้ ไม่เครียด บรรยากาศการเรียนดี ร้อยละ 87.42 ทั้งนี้ค่อนข้างมีความกังวลกับการฉีดวัคซีนให้กับเด็ก (อายุ 5 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 45.54 สิ่งที่กังวลใจคือเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีน ร้อยละ 72.72 และมองว่าสำหรับการป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มบุตรหลานนั้นต้องฉีดวัคซีนและป้องกันตัวเองอย่างเข้มงวดควบคู่กัน ร้อยละ 66.75

 

วิกฤติเด็กไทยที่อัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง เห็นได้ชัดเจนจากจำนวนบุตรหลานที่ผู้ปกครองดูแลมีประมาณ 1-2 คน เท่านั้น แต่ถึงกระนั้นกลับมีภาระค่าใช้จ่ายการเลี้ยงดูอยู่ไม่น้อย และโควิด-19 ก็ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทั้งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ การเรียนออนไลน์ อาหารการกิน ยิ่งไปกว่านั้นยังต้องตัดสินใจเกี่ยวกับวัคซีนของบุตรหลาน อีกด้วย หัวอกของผู้ปกครองในยุคโควิด-19 นี้จึงมีปัญหาที่น่าหนักใจหลายอย่าง การให้กำลังใจดูแลซึ่งกันและกัน ในครอบครัวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์เช่นนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกกานต์ วีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปัจจุบันผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมากในเรื่องการเรียนของบุตรหลาน อันเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีการเรียนการสอนออนไลน์เป็นหลัก ทำให้ผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง และการเรียนออนไลน์ยังคงเป็นปัญหากับผู้ปกครองและเด็กในหลายครอบครัว โดยเฉพาะในครอบครัวที่เป็นเด็กเล็ก ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากการปรับตัวของครูและโรงเรียนอาจไม่ตอบโจทย์การเรียนออนไลน์เต็มรูปแบบ บรรยากาศการเรียนการทำกิจกรรมยังไม่หลากหลาย ไม่น่าสนใจ ทำให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของบุตรหลานยังไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังมีความกังวลในเรื่องของสุขภาพและการฉีดวัคซีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ เช่น ประสิทธิภาพของวัคซีน และอาการข้างเคียงยังมีไม่มากพอ และการฉีดวัคซีนยังไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100% อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองก็ยังคงปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขคือการฉีดวัคซีน และให้บุตรหลานป้องกันตนเองอย่างเข้มงวด


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565

 

โพสต์เมื่อ 13 ก.พ. 2565 อ่าน 3465 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) [อ่าน 193]
ก.ค.ศ.เห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา [อ่าน 2718]
ก.ค.ศ.เห็นชอบปรับปรุงการเข้าสู่ตำแหน่ง สายงานบริหารสถานศึกษาและบริหารการศึกษา ควรต้องผ่านการเป็นรองผู้อำนวยการฯ มาก่อน และควรมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ [อ่าน 1086]
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2567 [อ่าน 5662]
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 2435]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)