นักวิชาการจี้ศธ.วิจัยข้อดี-ข้อเสียก่อนใช้หลักสูตรสมรรถนะ



อดีตอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ห่วงการปรับหลักสูตรใหม่ จี้ ศธ.ทำวิจัยข้อดีและข้อเสียก่อนประกาศใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. รศ.ดร.วาสนา คุณาอภิสิทธิ์ ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เปิดเผยถึงการปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ในช่วง 2 ปีมานี้มีแต่คนพูดถึงการปรับหลักสูตรดังกล่าวว่าหลักสูตรฐานสมรรถนะคือหลักสูตรอะไร ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่และหลักสูตรเก่าที่ใช้อยู่ไม่ได้สามารถใช้สอนได้แล้วหรือไม่ โดยตนได้มาศึกษาการปรับหลักสูตรดังกล่าวด้วยตนเองจนค้นพบว่า มีค่าที่ต่างประเทศใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ Competency – based Education, Competency – based learning  สมรรถนะ (Competency) คือ ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ (Knowledge-K) ทักษะ ทักษะกระบวนการ (Psychomotor, Process-P) และเจตคติ (Affective-A) ในลักษณะบูรณาการ (K+A+P) ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ดังนั้นหากประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะอะไร อย่างไร จึงเป็นเรื่องของในการบริหารจัดการหลักสูตรหรือการนำหลักสูตรไปใช้ในระดับท้องถิ่นหรือสถานศึกษาแต่ละแห่ง ในลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละแห่ง (Competency – based learning-CBL) ซึ่งอาจบูรณาการเนื้อหาวิชาการที่จำเป็นและเกี่ยวข้องต่อการสร้างสมรรถนะนั้นๆ โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) โดยเฉพาะทักษะทางวิชาชีพผ่านการปฏิบัติจริงตามขั้นตอน รวมทั้งมีการประเมินอิงสมรรถนะ (Competency-based Assessment-CBA) ด้วย
#showads 

รศ.ดร.วาสนา กล่าวต่อไปว่า การจัดการศึกษาอิงสมรรถนะ (Competency-based Education-CBE) เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่ช่วยให้ผู้เรียนก้าวหน้าตามความสามารถของตนเองในการเรียนรู้ทักษะหรือความสามารถตามช่วงวัย วิธีการนี้ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละคน และยังสามารถนำไปสู่การมีผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในฐานะเป็นคนการศึกษาคนหนึ่งทั้งในอดีตและปัจจุบันก็จะหนีไม่พ้นเรื่องของหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และการประเมินผล ดังนั้นหาก ศธ.จะมีการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็อยากให้มีการสำรวจจุดอ่อนและจุดแข็งของหลักสูตรอิงมาตรฐาน หากพิจารณาหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยากนำเสนอจุดเด่น ข้อดี การจะเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะได้ต้องเป็นหลักสูตรสถานศึกษา หรือการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะไม่ใช่หลักสูตรแกนกลาง ในหลักสูตร 2551 มีสมรรถนะ 5 ด้าน และคุณภาพผู้เรียนของแต่ละกลุ่มสาระ 8 กลุ่มอยู่แล้ว และหลักสูตรฐานสมรรถนะจะเป็นหลักสูตรแกนกลางได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามหากจะมีการประกาศใช้จริง อยากให้มีการทำความเข้าใจให้แก่ครูผู้สอน เพราะไม่เช่นนั้นจะมีผลกระทบต่อการใช้งานอย่างแน่นอน เนื่องจากหลักสูตรฐานสมรรถนะเป็นการมุ่งเน้นการเรียนรู้ตามบริบทของโรงเรียน

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันที่ 19 ตุลาคม 2564 

โพสต์เมื่อ 20 ต.ค. 2564 อ่าน 3991 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)