ลูกหนี้เฮ! กฎหมายช่วยแก้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยโหดคลอดแล้ว



ข่าวดี! กฎหมายสำคัญช่วยลูกหนี้ ทั้ง พ.ร.ก.ลดดอกเบี้ยผิดนัด และพ.ร.ก. ซอฟท์โลนช่วยผู้ประกอบการ 3.5 แสนล้าน มีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากราชกิจจานุเบกษา ประกาศออกมาเป็นที่เรียบร้อย

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่กฎหมายสำคัญ 2 ฉบับ ให้มีผลบังคับใช้แล้ว โดยฉบับแรก คือ พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 และมีผลบังคับใช้แล้ว เพื่อป้องกันเจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้สูงเกินจริง ซึ่งกฎหมายหมายฉบับเดิม ตั้งแต่ปี 2468 มีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ทั้งลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อนจากภาระดอกเบี้ยที่สูงเกินควร เจ้าหนี้บางรายอาศัยความไม่ชัดเจน กำหนดให้ลูกหนี้เมื่อผิดนัดงวดใดงวดหนึ่ง ต้องจ่ายดอกเบี้ยบนเงินต้นทั้งหมด และยังสร้างความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมด้วย

สำหรับสาระสำคัญของกฎหมาย เป็นการปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย คือ 1. อัตราดอกเบี้ยที่ไม่ได้กำหนดไว้ก่อนหรือไม่ได้มีกฎหมายกำหนด (แก้ไข มาตรา 7)  ปรับลดจากอัตรา 7.5% ต่อปี เป็นอัตรา 3% ต่อปี ซึ่งกระทรวงการคลัง จะทบทวน ทุก 3 ปี ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ 2.อัตราดอกเบี้ยผิดนัด (แก้ไข มาตรา 224) ปรับลดจาก 7.5% ต่อปี เป็นอัตรา 5% ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงนี้ เป็นอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  3% ต่อปี บวกด้วยอัตราเพิ่ม 2% ต่อปี และ 3. กำหนดฐานการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ในงวดใดงวดหนึ่ง เจ้าหนี้คำนวณดอกเบี้ยผิดนัดได้เฉพาะจากเงินต้นของงวดที่ลูกหนี้ผิดนัดแล้วเท่านั้น จากเดิมที่มาตรา 224/1 ไม่ได้กำหนดไว้ ส่งผลให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นที่ค้างอยู่ทั้งหมด

ส่วนอีกฉบับ คือ พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 เป็นการตัดวงเงินที่เหลือจากพระราชกำหนดฯ ฉบับ พ.ศ.2563 โดยฉบับล่าสุดประกอบด้วย 2 มาตรการ คือ 1. มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 250,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการช่วยผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ ทั้งที่เป็นลูกหนี้เดิมและลูกหนี้ใหม่ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องในกิจการได้มากขึ้น ขยายเวลา ขยายวงเงิน ขยายการชดเชยรองรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น และกำหนดดอกเบี้ยให้เหมาะสม 

2. มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์ชำระหนี้ และให้สิทธิลูกหนี้ซื้อคืน (โครงการพักทรัพย์ พักหนี้) วงเงิน  100,000 ล้านบาท เพื่อช่วยผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรุนแรง และต้องใช้เวลานานในการฟื้นตัวแต่ยังมีศักยภาพและมีหลักประกัน เป็นการลดความเสี่ยงในการขายทรัพย์สินในราคาต่ำเกินไป และช่วยให้ธุรกิจกลับมาเปิดกิจการได้ต่อไป

น.ส.รัชดา กล่าวว่า รัฐบาลมีความจำเป็นต้องออกพระราชกำหนดทั้งสองฉบับ ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการดูแลช่วยเหลือประชาชนและเอกชน มุ่งเป้าเพื่อการบรรเทาภาระลูกหนี้ทั่วไปที่ต้องแบกรับอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่ไม่เป็นธรรมและการคิดคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดอย่างโหดร้าย และช่วยภาคธุรกิจให้เดินหน้าต่อไปได้โดยขั้นตอนทางกฎหมายลำดับต่อไป คณะรัฐมนตรีต้องเสนอพระราชกำหนดดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณา

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน 2564

ราชกิจจาฯ เผยแพร่ พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 

ราชกิจจานุเบกษา 10 เมษายน 2564 ได้เผยแพร่พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับน้ี คือ โดยที่อัตราดอกเบี้ยท่ีมิได้กำหนด โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้งและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดท่ีกำหนดไวใ้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ได้ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานโดยมิได้มีการแก้ไขปรับปรุง ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจ ทำให้ลูกหนี้ได้รับความเดือดร้อนจากภาระดอกเบี้ยเกินสมควร สมควรปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยและกำหนดวิธีการในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาพเศรษฐกิจ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัดชำระหน้ี ให้เหมาะสม ประกอบกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ของประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้ประชาชนจำนวนมากมีภาระหน้ีสินเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ย ตามที่กาหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน จึงเป็นภาระอย่างมากต่อลูกหน้ีซี่งเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้งประชาชนทั่วไป และก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงท่ีจะทาให้ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้สมควรท่ีรัฐจะต้องดำเนินการปรับปรงุแก้ไข กฎหมายเพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ดังกล่าวโดยเร่งด่วน จึงเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ ของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้

 

ดาวน์โหลดไฟล์แนบ
 
ที่มา ราชกิจจานุเบกษา

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

โพสต์เมื่อ 11 เม.ย. 2564 อ่าน 9177 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)