"ครูตั้น" เล็งปรับหลักสูตรประวัติศาสตร์ไทยให้น่าภูมิใจ หวังพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ



‘ครูตั้น’ เล็งปรับหลักสูตรประวัติศาสตร์ให้น่าสนใจภูมิใจแก่ผู้เรียน เชื่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่น -ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถพัฒนาผู้เรียนสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าในท้องถิ่นตนเองเพื่อดึงคนไปท่องเที่ยว

22 กุมภาพันธ์ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยภายหลังหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ ว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการปรับหลักสูตรการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพราะตนมองว่าการเสนอและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของไทยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ โดยจะต้องนำเสนอให้มีความน่าสนใจและทำให้ผู้เรียนซึมซับความภูมิใจในความเป็นไทย การปรับหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์จะผสมผสานกับแผนบูรณาการการศึกษา ที่ศธ.ได้ทำเตรียมเอาไว้

โดยให้โรงเรียนคุณภาพชุมชน นำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเข้ามาให้ความรู้กับผู้เรียน แม้จะเป็นเสี้ยวหนึ่งของการบูรณาการการศึกษา แต่ถือเป็นส่วนสำคัญ เพราะในอนาคตเรื่องที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น จะสามารถทำให้ผู้เรียนพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าในท้องถิ่นของตนได้ ดังนั้น ศธ.จะต้องวางรากฐานเรื่องเหล่านี้ให้มีความเข้มแข็งไว้ตั้งแต่วันนี้

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ จะทำงานร่วมกับฝ่ายวิชาการของ สพฐ. และคณะทำงานปรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ตั้งขึ้นมาจะได้หารือร่วมกันว่าจะมีวิธีการปรับหลักสูตรการเรียนประวิตศาสตร์นี้อย่างไร และสามารถ ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้อย่างไร ส่วนครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในแต่ละพื้นที่ ในแต่ละจังหวัดด้วย และถ้า ศธ.สามารถบูรณาการจัดระบบองค์ความรู้ของแต่ละจังหวัดได้ จะช่วยให้ครูเข้าใจประวัติศาสตร์ของพื้นที่นั้นได้ ส่วนวิธีการนำเสนอและวิธีการสอนประวัติศาสตร์ ตนเชื่อว่าครูสามารถปรับเปลี่ยนการสอนให้น่าสนใจได้อยู่แล้ว

"ผมอยากให้เด็กได้ซึมซับประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์มีเสน่ห์หลายอย่าง ไม่ใช่การสู้รบเพียงอย่างเดียว และต่อไปประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ ศธ.จะต้องโปรโมทอย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้เหมือนกับที่เราไปเที่ยวประเทศอื่น ก็เพราะมีประวัติศาสตร์น่าสนใจ วันนี้ก็มีการเรียนประวัติศาสตร์อยู่ แต่อาจจะยังเข้มข้น และไม่มีแรงจูงใจทำให้คนมาเที่ยวได้มากพอ แต่หากเราสามารถยกระดับความสวยงามของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นทั่วประเทศได้อย่างแท้จริงผ่านกระบวนการการศึกษาได้ ในอนาคตก็น่าจะสามารถต่อยอดช่วยประเทศได้เป็นอย่างดี" นายณัฏฐพล กล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 

โพสต์เมื่อ 24 ก.พ. 2564 อ่าน 3093 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)