อัดรัฐแก้หนี้ครูเหลวเพราะไม่จริงใจแก้ปัญหา



คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ถก สหกรณ์ออมทรัพย์ครู แนะจัดหาแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ อัดรัฐไม่จริงใจแก้ปัญหา

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค. ที่หอประชุมคุรุสภา คณะอนุกรรมาธิการพิจรณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ได้เชิญประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกว่า 108 แห่งทั่วประเทศ ร่วมประชุม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างเป็นระบบ ทั้งระยะเร่งด่วนและระยะยั่งยืน โดย ดร.ปรีดา บุญเพลิง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคครูไทยเพื่อประชาชน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า หลังจากคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษา สำรวจและออกรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนครู ผู้นำองค์กรวิชาชีพครู เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ชมรมข้าราชการครูบำนาญ ตัวแทนสถาบันการเงินและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั่วประเทศมาระยะหนึ่ง ทั้งนี้สามารถสรุปเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ได้ 2 แนวทาง คือ ระยะเร่งด่วน และระยะยั่งยืน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำมาพูดคุยและหารือกับกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของครู

ดร.ปรีดา กล่าวต่อไปว่า สำหรับการหารือกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ ทำให้ได้รับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ความเป็นไปได้และที่มีประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างเป็นระบบจากประธานและผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทุกแห่ง โดยประเด็นที่น่าสนใจ คือ รัฐต้องมีความจริงใจที่จะแก้ไข จัดหาแหล่งทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำ อีกทั้งต้องมีการรวมหนี้สินครูไว้ที่เดียว มีสวัสดิการที่ดีในการดูแลช่วยเหลือครู มีการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขหนี้สินครู และมีมาตรการควบคุมวินัยการใช้จ่ายเงินของสมาชิกที่เข้าโครงการอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต้องมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำรงชีวิตที่ดี อย่างต่อเนื่อง และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศเห็นด้วย พร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการฯ จะได้นำผลการประชุมสัมมนาวันนี้ไปสรุปและเสนอที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ พิจารณา เพื่อสรุปเป็นแนวทางแก้ไขหนี้สินครูอย่างเป็นระบบ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไปโดยเร็วที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศในครั้งนี้ มีตัวแทนจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูต่าง ๆ ได้ลุกขึ้นอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูมีมายาวนานแต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ เพราะขาดความจริงใจจากรัฐบาล และไม่ควรใช้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เป็นหน่วยงานในการแก้ไขปัญหานี้ เนื่องจาก สกสค.ไม่มีเม็ดเงินที่จะเข้ามาดำเนินการได้โดยตรง แต่ควรให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของครูเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นการที่คณะอนุกรรมาธิการฯ เข้ามาพูดคุยและดึงสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเข้ามาร่วมระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาจึงเป็นเรื่องที่ดี และถือว่ามาถูกทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2563 

เวทีถกแก้หนี้ครู สหกรณ์ออมทรัพย์ ลุกขึ้นโวย ไม่ควรให้สกสค.เป็นเจ้าภาพ แต่ควรให้สหกรณ์เจ้าหนี้จัดการ

ที่หอประชุมคุรุสภา คณะอนุกรรมาธิการพิจรณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ได้เชิญประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกว่า 108 แห่งทั่วประเทศ ร่วมประชุม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างเป็นระบบ ทั้งระยะเร่งด่วนและระยะยั่งยืน

นายปรีดา บุญเพลิง ประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครู สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า หลังจากคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ศึกษา สำรวจและออกรับฟังความคิดเห็นจากผู้แทนครู ผู้นำองค์กรวิชชีพครู เครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ชมรมข้าราชการครูบำนาญ ตัวแทนสถาบันการเงินและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั่วประเทศมาระยะหนึ่ง ทั้งนี้สามารถสรุปเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ได้ 2 แนวทาง คือ ระยะเร่งด่วน และระยะยั่งยืน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำมาพูดคุยและหารือกับกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศซึ่งถือว่าเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของครู อีกทั้งจะต้องหาแหล่งเงินทุนตั้งเป็นกองทุนพัฒนาครูไทย เพื่อเปิดช่องให้ครูได้กู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ถูก เพื่อนำไปล้างหนี้เดิม ตนเชื่อว่าวิธีดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สิ้นให้ครูได้

นายปรีดา กล่าวต่อว่า สำหรับการหารือกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศ ทำให้ได้รับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ความเป็นไปได้และที่มีประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูอย่างเป็นระบบจากประธานและผู้จัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทุกแห่ง โดยประเด็นที่น่าสนใจ คือ รัฐต้องมีความจริงใจที่จะแก้ไข จัดหาแหล่งทุนที่มีดอกเบี้ยต่ำ อีกทั้งต้องมีการรวมหนี้สินครูไว้ที่เดียว มีสวัสดิการที่ดีในการดูแลช่วยเหลือครู มีการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขหนี้สินครู และมีมาตรการควบคุมวินัยการใช้จ่ายเงินของสมาชิกที่เข้าโครงการอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต้องมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำรงชีวิตที่ดี อย่างต่อเนื่อง และสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศเห็นด้วย พร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการฯ จะได้นำผลการประชุมสัมมนาวันนี้ไปสรุปและเสนอที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ พิจารณา เพื่อสรุปเป็นแนวทางแก้ไขหนี้สินครูอย่างเป็นระบบ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไปโดยเร็วที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศในครั้งนี้ มีตัวแทนจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูต่าง ๆ ได้ลุกขึ้นอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูมีมายาวนานแต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ เพราะขาดความจริงใจจากรัฐบาล และไม่ควรใช้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) เป็นหน่วยงานในการแก้ไขปัญหานี้ เนื่องจาก สกสค.ไม่มีเม็ดเงินที่จะเข้ามาดำเนินการได้โดยตรง แต่ควรให้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูทั่วประเทศซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของครูเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นการที่คณะอนุกรรมาธิการฯเข้ามาพูดคุยและดึงสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเข้ามาร่วมระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาจึงเป็นเรื่องที่ดี และถือว่ามาถูกทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยโพสต์ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563

โพสต์เมื่อ 10 ธ.ค. 2563 อ่าน 7469 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)