สพฐ.ย้ำไม่มีนโยบายให้ซื้ออุปกรณ์เสริมเรียนออนไลน์



เลขาธิการกพฐ.ลงพื้นที่จ.นนทบุรี ตรวจความพร้อมทดสอบระบบการเรียนผ่านทีวี-ออนไลน์ เผย สพฐ.ยันไม่มีนโยบายให้เด็กไปซื้อมือถือ-ทีวีใช้เรียนออนไลน์ หากเด็กคนไหนไม่พร้อมให้แจ้งปัญหามาที่โรงเรียน

เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ที่โรงเรียนวัดบางไกรนอก (แย้มพร้อมอุปถัมภ์) จ.นนทบุรี ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียนและโรงเรียน ซึ่งถือเป็นวันแรกในการทดสอบระบบการจัดการเรียนการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ DLTV และระบบออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19

โดยดร.อำนาจ กล่าวว่า ภาพรวมการจัดการศึกษาในวันนี้ถือเป็นการทดลองระบบตั้งแต่วันที่ 18-30 มิ.ย. เพื่อเตรียมความพร้อมหากในวันที่ 1 ก.ค.เปิดภาคเรียนแล้วสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสยังไม่พ้นวิกฤตก็สามารถจัดการเรียนการสอนผ่านระบบต่างๆที่ศธ.เตรียมความพร้อมไว้ให้ได้

ซึ่งแน่นอนว่าการทดสอบระบบดังกล่าวไม่มีความพร้อม 100% แต่การทดสอบระบบครั้งนี้จะนำไปสู่ความพร้อมหากในวันที่ 1 ก.ค.สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสยังไม่พ้นวิกฤต เพราะหากเราไม่มีการเตรียมความพร้อมอะไรไว้เลย เด็กจะหาแหล่งเรียนรู้จากที่ไหน อีกทั้งเมื่อเปิดภาคเรียนใหม่ท่ามกลางไวรัสยังแพร่ระบาดมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากอยู่ความวุ่นวายในการจัดการศึกษาจะตามมาอย่างแน่นอนถ้าเราไม่เตรียมพร้อมและรับมือกับวิกฤตนี้


ดร.อำนาจ กล่าวต่อไปว่า สำหรับโรงเรียนวัดบางไกรนอกถือเป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลางมีนักเรียนจำนวน185 คน มีครู 19 คน โดยครูใช้การประสานงานผ่านระบบไลน์กลุ่ม ซึ่งมีนักเรียนที่ไม่มีความพร้อม จำนวน 20 คน โดยในจำนวนนี้เป็นกลุ่มเด็กต่างด้าว 6 คนจึงไม่สามารถสื่อสารความเข้าใจในการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ซึ่งครูใช้วิธีการโทรศัพท์แจ้งข้อมูล และเด็กอีก 2 คนไม่มีความพร้อมทั้งโทรศัพท์มือถือและทีวีแต่ได้ความอนุเคราะห์จากผู้นำชุมชนให้มาเรียนผ่านทีวีที่บ้านของผู้ใหญ่บ้านแทน

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ตนขอย้ำว่าการเรียนผ่านระบบออนไลน์และทีวีดิจิทัลนั้นเป็นมาตรการเตรียมความพร้อมเท่านั้น และเป็นการทดลองระบบเพื่อให้เห็นข้อบกพร่องในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้จากการรายงานการทดสอบระบบจากพื้นที่ต่างๆพบปัญหานักเรียนบางบ้านไม่สามารถดูผ่านทีวีได้ ซึ่งขอชี้แจงว่าเป็นระบบสัญญาณที่ต้องเปลี่ยนจากดีแอลทีวีมาเป็นระบบดิจิทัล ซึ่งได้รับการแก้ไขแล้ว

นอกจากนี้สพฐ.ยืนยันว่าไม่มีนโยบายให้ไปผู้ปกครองไปเสียเงินเสียทองซื้อโทรศัพท์มือถือหรือทีวีใหม่ หรือไปซื้ออุปกรณ์เสริมใดๆมาเพิ่มเติม โดยหากครอบครัวไหนไม่มีความพรัอมให้แจ้งมาที่โรงเรียน เพราะขณะนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรือโรงเรียนพร้อมให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างเต็มที่

“เรื่องนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นการวิจัยภาคสนามของการเรียนการสอนผ่านระบบทีวีและออนไลน์ รวมถึงจะได้นวัตกรรมที่ครู โรงเรียน ผู้ปกครอง และนักเรียนจะมีแหล่งเรียนรู้ใหม่ และมีระบบที่ใช้นำไปต่อยอดการจัดการศึกษาได้ อย่างไรก็ตามช่วงเวลานี้ไม่ใช่ช่วงเวลาของการเรียนปกติ แต่เป็นการเรียนเสริมความรู้ระหว่างเลื่อนการเปิดภาคเรียนเท่านั้นเพราหากเราไม่ได้เตรียมพร้อมด้านการศึกษาอะไรไว้ให้เด็ก กระบวนการเรียนรู้ของเด็กจะหายไปอย่างแน่นอน” ดร.อำนาจ กล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม 2563

โพสต์เมื่อ 18 พ.ค. 2563 อ่าน 5421 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)