ศธ.เผยแผนควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก



#showpic

ศธ.สรุปแผนรวมโรงเรียนขนาดเล็ก พบ 5,447 โรง ทยอยควบรวมใน 3 ปีงบประมาณ ขณะที่ 3,364 โรงไม่ควบรวม

ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหนังสือ ลงวันที่ 29 ส.ค.2562 แจ้งให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัดร่วมมือกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก (โรงเรียนที่มีนักเรียน 120 คนลงมา) แบบขั้นบันไดที่มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ในเป็นผลอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 2 ปี (พ.ศ.2563-2564) และเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีคำสั่ง สป.2547/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ นั้น นายประเสริฐ บุญเรือง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า สำนักบูรณาการยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้สรุปข้อมูลการทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ได้รับจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด(ศธจ.)ทั่วประเทศแล้ว และได้รายงานต่อนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ แล้ว

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 29 พ.ย. เป็นดังนี้

  • มีโรงเรียนทั่วประเทศที่ได้ควบรวมไปแล้วรวมทั้งสิ้น 658 โรง
  • โรงเรียนที่จะไม่ควบรวมมีทั้งสิ้น 3,364 โรง
    • โดยเป็นโรงเรียนที่มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่เกาะ พื้นที่สูง ทำให้ไม่สามารถไปเรียนรวมกับโรงเรียนอื่นได้ จำนวน 445 โรง และ
    • เป็นโรงเรียนที่ไม่ประสงค์ควบรวม 2,919 โรง
    • ส่วนกรุงเทพมหานครไม่มีการควบรวม เนื่องจากไม่มีโรงเรียนขนาดเล็ก
  • อย่างไรก็ตามสำหรับโรงเรียนที่มีแผนจะควบรวมปี พ.ศ.2563-2565 มีทั้งสิ้น 5,447 โรง
    • โดยจะควบรวมในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 1,398 โรง
    • ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 2,963 โรง
    • และปีงบประมาณ 2565 จำนวน 1,086 โรง

นายประเสริฐ กล่าวว่า ทั้งนี้ สำนักบูรณาการฯได้สังเคราะห์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะทำงานบูรณาการจัดทำแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กระดับจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อสร้างโอกาสและคุณภาพการศึกษามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ควรมีวิธีการที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในแต่ละบริบทของพื้นที่ , การนำนักเรียนจากโรงเรียนขนาดเล็กไปเรียนโรงเรียนหลักเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความจำเป็น เพื่อนำไปสู่การสร้างโอกาสและคุณภาพให้แก่ผู้เรียน เพราะทำให้มีครูที่เพียงพอในการดูแลนักเรียน มีสื่อการเรียนการสอนที่เพียงพอและหลากหลาย แต่ก็ต้องฟังความเห็นจากผู้ปกครองและชุมชนด้วย อย่างไรก็ตามได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับผลกระทบจากการควบรวมโรงเรียน เช่น ชุมชนจะขาดสถาบันการศึกษาในพื้นที่ เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายของนักเรียนและผู้ปกครอง การเดินทางไม่สะดวกและไม่ปลอดภัย และอาจมีผลกระทบต่อสถานภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น

 

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562

 

โพสต์เมื่อ 10 ธ.ค. 2562 อ่าน 11147 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)