ติงร่างเกณฑ์การรับรองหลักสูตรครู 4 ปีไม่ชัดเจนเพียบ



#showpic

คุรุสภาเปิดวิพากษ์ร่างเกณฑ์การรับรองหลักสูตรครู 4 ปี “รัฐกรณ์”ชี้หลายประเด็นไม่ชัดเจน-มีปัญหาในทางปฎิบัติเพียบ แนะสรุปข้อเสนอที่ประชุมก่อนออกร่างประกาศ

วันนี้ (14 ก.ย.) ผศ.ดร.รัฐกรณ์ คิดการ คณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ(สครภ) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆนี้ คุรุสภาได้จัดสัมมนาเพื่อวิพากษ์ ร่างประกาศคุรุสภา เรื่องหลักเกณฑ์การรับรองปริญญาตามมาตรฐานวิชาชีพหลักสูตรครู 4 ปี ซึ่งเท่าที่ฟังตนเห็นว่าร่างดังกล่าวยังมีหลายประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนและอาจมีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น การกำหนดให้หลักสูตรที่สถาบันเสนอขอรับรอง ต้องเป็นหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบหรือได้รับการอนุมัติจากสภาสถาบัน และได้รับทราบจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)โดยให้ดำเนินการรับรองปริญญาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน ซึ่งจะมีปัญหาในทางปฏิบัติคือปัจจุบันกว่าสำนักงานคณะกรรมการกาอุดมศึกษา(สกอ.)จะรับทราบหลักสูตรก็เกิน 180 วันแล้ว ที่สำคัญมีหลายหลักสูตรที่นักศึกษาเรียนจบแล้ว แต่สกอ.ยังกลับไม่รับทราบ ทำให้ไม่สามารถนำวุฒิการศึกษาไปใช้ได้ จนเกิดการฟ้องร้องจากนักศึกษาอยู่หลายแห่ง ดังนั้นถ้าจะรอให้สกอ.รับทราบหลักสูตรก่อนจึงจะยื่นขอรับรองปริญญาจากคุรุสภาได้นั้นจะทำให้มีปัญหาในการรับนักศึกษาอย่างแน่นอน

ผศ.ดร.รัฐกรณ์ กล่าวต่อไปว่า ประเด็นต่อมาการระบุว่า ”สถานที่เปิดสอนหลักสูตรปริญญาต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากสภาสถาบัน” อันนี้ไม่มีความชัดเจนเรื่อง สถานที่ว่าหมายถึงอะไร และมีอีกหลายประเด็นมีการกำหนดซ้ำซ้อนกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี(มคอ.1)สาขาครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี เช่น หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักสูตรผลิตครู ทักษะภาษาอังกฤษ กิจกรรมเสริมความเป็นครู เป็นต้น ประเด็น สำคัญที่สุด คือการออกประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาตามมาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักสูตร 4 ปี หรือ 5 ปี คุรุสภาล้วนต้องอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 โดยเฉพาะ มาตรา 44(3) ที่ระบุ ”ผู้ที่จะขอรับใบประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด” ดังนั้น หากคุรุสภาจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในส่วนของการประเมินปฏิบัติการสอนใหม่ ก็ควรยกเลิกหลักเกณฑ์เดิม หรือเปิดโอกาสให้หลักสูตร 5 ปี ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติการสอนเต็มรูปแบบ 2 ภาคเรียน ขณะที่หลักสูตร 4 ปีกำหนดไม่น้อยกว่า 1 ภาคเรียน สามารถใช้หลักเกณฑ์ใหม่ได้ด้วย สำหรับหลักเกณฑ์ในส่วนอื่นๆ นั้น คงต้องกำหนดตามมคอ.1 ของแต่ละหลักสูตร ซึ่งอาจแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตามตนคิดว่าคุรุสภาคงจะนำข้อคิดเห็น ปัญหาและข้อเสนอแนะจากตัวแทนสถาบันผลิตครูที่เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ไปปรับแก้ก่อนที่จะมีการประกาศใช้ต่อไป

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2562

 

โพสต์เมื่อ 15 ก.ย. 2562 อ่าน 7315 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)