เสมา 2 รุกเปิดตัวโค้ดดิ้ง-ติวครูแกนนำ ส.ว.จี้ลดนโยบายจากส่วนกลาง เลิกใช้โอเน็ตประเมินครู



#showpic

โละใช้โอเน็ตประเมินผู้บริหาร-แม่พิมพ์

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์ภายหลังเปิดงานประชุมระดมความคิดเห็นเรื่องกรอบแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนตามช่วงวัยว่า การผลิตกำลังคนในทุกช่วงวัยเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่เราต้องวางแผนการดำเนินการเตรียมพลเมืองให้พร้อม โดยไม่สามารถปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม เพราะเรากำลังเผชิญกับโลกที่มีความผันผวนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าทุกยุคที่ผ่านมา โดยประชาชนทุกช่วงวัยจะต้องมีคุณภาพ ซึ่งนโยบายหนึ่งที่ตนเร่งผลักดันคือ เด็กปฐมวัยจะต้องเรียนโค้ดดิ้ง ซึ่งในวันที่ 9 ส.ค.นี้ ตนจะแถลงเปิดตัว
การเรียนโค้ดดิ้ง โดยมีผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องมาอธิบายให้สังคมทราบว่า สาเหตุใดที่ปฐมวัยเรียนโค้ดดิ้งโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียนอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ทำง่ายกว่าที่คิด ครูทุกคนสามารถสอนได้ หากได้รับการแนะนำ หลังจากนั้นภายในเดือน ต.ค.นี้ จะมีการอบรมแกนนำครู จำนวน 1,000 คน เพื่อจะอบรมแนะนำครูไปสอนนักเรียนชั้น ป.1-3 ทั่วประเทศ โดยจะอบรมครูและโรงเรียนที่มีความพร้อมก่อน คาดว่าภายในภาคเรียน 2 ปีการศึกษา 2562 จะสามารถเห็นเป็นรูปธรรม เปิดสอนได้ทันที

นายตวง อันทะไชย สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวว่า สกศ. ต้องรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน และต้องเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงในการผลิตและพัฒนากำลังคนตามช่วงวัย อย่างไรก็ตาม ปัญหาระบบการศึกษายังวนสู่ปัญหาเดิมๆ เช่น กฎหมายการศึกษาที่มีมากมายซึ่งต้องสังคายนากันใหม่ ลดนโยบายและการสั่งการจากส่วนกลาง และต้องปรับโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ที่เน้นกระจายอำนาจจากส่วนกลางให้สถานศึกษา ปรับระบบการวัดผลและประเมินผลตามข้อมูลจริงของสถานศึกษาแต่ละท้องถิ่น เลิกใช้คะแนนโอเน็ตเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลงานของผู้บริหารและการเลื่อนวิทยฐานะของครู

ขณะที่ ศ.ดร.จรัส สุวรรณเวลา อดีตประธานกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) กล่าวว่า ปัจจุบันต้องเร่งปรับปรุงระบบการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนทุกระดับ ทุกกลุ่ม สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างตลอดชีวิต ขณะที่การสื่อสารกับสังคมยังต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การติวเด็กเล็ก หรือพาไปกวดวิชาเปรียบเสมือนการทำลายเด็ก เพราะเป็นวันที่เรียนรู้สิ่งรอบตัวมากกว่าต้องมาแข่งขันเข้าเรียนในโรงเรียนชื่อดัง รวมทั้งการวัดประเมินผลต้องมีการปรับเปลี่ยนการใช้คะแนนโอเน็ตเพื่อประเมินผลงานผู้บริหาร ขณะที่ สทศ.เปิดโอกาสให้ ร.ร.มีสิทธิไม่ต้องส่งนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้ หรือ Learning Disablilities หรือ LD เข้าสอบโอเน็ต ส่งผลให้ ร.ร.ประเมินว่าเด็กมีภาวะ LD ทั้งหมดเพื่อหนีการประเมิน ซึ่งถือเป็นการผิดจริยธรรม เป็นจุดอ่อนการศึกษาที่เรายังไม่สามารถแก้ไขได้ และเป็นสิ่งที่ สทศ.ควรต้องแก้ไข เรื่องการนำโอเน็ตไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการให้คุณให้โทษครูและผู้บริหาร แต่ต้องนำโอเน็ตไปใช้เพื่อประโยชน์ของเด็กอย่างแท้จริง.


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 3 ส.ค. 2562

 

โพสต์เมื่อ 5 ส.ค. 2562 อ่าน 7618 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)