การชี้แจงข้อมูลเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการยุบโรงเรียนของ สพฐ. โดย ประธาน กพฐ. (25 พ.ค.2561)



#showpic

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2562 รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธาน กพฐ. ได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก "Ekachai Keesookpun" ถึงกรณีที่ที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปรวบรวมระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เพื่อที่จะให้ศึกษาธิการจังหวัดกระตุ้นให้ยุบเลิก หรือควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดของตนเอง 15,000 แห่งทั่วประเทศ และให้โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่มีโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาอยู่บริเวณใกล้เคียง หยุดรับนักเรียนชั้น ม.1 สาเหตุเพราะมีจำนวนเด็กน้อยมาก ดังนี้

เรียนผู้บริหาร ครู อาจารย์ นักการศึกษาและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกท่าน

ตามที่มีข่าวข้อเสนอแนะของ กพฐ เกี่ยวกับการยุบโรงเรียน ผมขออนุญาตชี้แจงให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับการยุบโรงเรียนของ สพฐ ตรงกันนะครับ ข้อมูลที่ผมได้มาจาก กระทรวงศึกษาฯเมื่อปีที่แล้ว มีโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศประมาณ 18,000 โรงเรียน (คิดเป็นประมาณ 50% ของโรงเรียนทั้งหมดทั่วประเทศครับ) สำหรับโรงเรียนบนเกาะ หรือ ชายขอบ หรือที่ทุรกันดารห่างไกลซึ่งจำเป็นต้องมีอยู่ คิดว่าไม่น่าจะอยู่ในโรงเรียนเป้าหมาย 15,000 โรงเรียนครับ การยุบ หรือใช้ว่าควบรวม(เพื่อไม่ให้เสียความรู้สึกหรือแรงต้าน) ก็ตามต่างมีเป้าหมายเพื่อคุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทยทั้งสิ้น ผมเคยเสนอให้ สพฐใช้หลัก SCC เมื่อปีที่แล้ว คือ

Stand alone ใช้สำหรับโรงเรียนห่างไกลนักเรียนเดินทางมาเรียนลำบากมีความจำเป็นต้องเปิด ไม่ว่าจะมีนักเรียนกี่คนก็ไม่ควรปิด ในทางตรงกันข้าม สพฐ กลับต้องหาทางข่วยเหลือโดยอาจมีการสร้างเรือนพักนอน จัดสรรงบค่าอาหารให้ นักเรียนยากจนเหล่านี้ เพื่อจูงใจให้มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

Combined คือการควบรวมโรงเรียนใกล้กันที่สามารถทำได้และไม่เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางของนักเรียนแต่อย่างใด อาจมีงบประมาณของสพฐ ช่วยเหลือค่าเดินทางหรือพื้นที่สามารถจะประสานงานกับ อบต อปท. ให้ความช่วยเหลือได้(เหมือนที่ขอความช่วยเหลือเรื่องอาหารเช้า อาหารกลางวันของเด็กในบางพื้นที่)

Closed คือโรงเรียนที่สมควรปิดหรือยุบครับเพราะนักเรียนน้อยมากและสามารถเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนใกล้เคียงโดยไม่เดือดร้อนมากนัก ซึ่งต้องแก้ระเบียบ ประกาศ ที่เป็นอุปสรรคทั้งหลายครับ เพราะมีหลายโรงเรียนอยู่ในกรณีนี้ แต่ไม่ยอมยุบตัวเองครับแล้วใช้ระเบียบ ประกาศเก่าๆเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้วมาใช้เป็นข้ออ้าง(จึงได้ขอให้สพฐ ไปทบทวนระเบียบปฏิบัติ คำสั่งเก่าๆที่เป็นอุปสรรคทั้งหมด) หาเหตุที่จะไม่ยอมปิดโรงเรียนทั้งๆที่บางห้องมีนักเรียน 2-4 คน แล้วคุณภาพของการเรียนการสอนนักเรียนจะดีขึ้นได้อย่างไร

กระทรวงศึกษาธิการได้รับรายงายการวิจัยของธนาคารโลกเมื่อต้นปีนี้เกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้งบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษาและคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้นจากการใช้งบประมาณที่ได้รับ แล้วพบว่าใช้งบประมาณมากขึ้นแต่คุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทยไม่ได้ดีขึ้นตามงบประมาณที่ได้รับอย่างชัดเจน มีข้อเสนอแนะในเรื่องการยุบโรงเรียน ยุบชั้นเรียน และต้องจัดให้มีครูครบขั้นทุกโรงเรียนขณะเดียวกันก็จะเป็นการเพิ่มสัดส่วนนักเรียนต่อห้องให้มากขึ้นเพื่อประสิทธิภาพการใช้งบประมาณและคุณภาพศึกษาของเยาวชน

ถ้าสังคมไทย คนไทยไม่กล้าเผชิญหน้ากับความจริงด้วยเหตุผล และข้อมูล มัวแต่รักษาหน้า และใช้ความรู้สึกมากกว่าความจริงและไม่ยอมรับเหตุผลที่ดีกว่า จะแก้ปัญหายากครับ การใช้คำว่ายุบ อาจเสียความรู้สึก จึงใช้คำว่าควบรวมผมก็เคยใช้คำนี้เช่นกัน จากการลงพื้นที่พบว่าโรงเรียนขนาดเล็กใกล้กันสองโรงเรียนในจังหวัดหนึ่งมีนักเรียนรวมกันทั้งสองโรงเรียนไม่ถึง 100 คน นักเรียนเดินทางมาทั้งสองโรงเรียนได้สะดวกไม่ถึง 5 นาที แต่โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งไม่ยอมยุบตัวเอง กลับใช้วิธีควบรวมนักเรียนนักเรียนป 1,2,3 ของโรงเรียนหนึ่งไปเรียนกับอีกโรงเรียนหนึ่ง และนำนักเรียนป 4,5,6 ของอีกโรงเรียนหนึ่งมาเรียนรวมกับอีกโรงเรียนหนึ่งเช่นกัน ทั้งๆที่สามารถยุบโรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งได้แต่กลับใช้ควบรวม นำนักเรียนมาเรียนรวมกัน(นี่คือตัวอย่างที่ได้เห็นของจริงมาแล้วครับ) และอ้างว่าชุมชนไม่ยอมให้ยุบ (ความจริงบางสถานศึกษาผู้บริหารไปให้ข้อมูลกับชุมชนในทำนองอย่ายุบโรงเรียน)

หากเราสามารถยุบโรงเรียนใดได้แล้วนำสถานที่ให้ กศน. ใช้ หรือ อบต. ใช้เป็นศูนย์กลางพัฒนาคุณภาพชีวิตหรือส่งเสริมอาชีพชุมชน ชาวบ้านในชุมชนก็จะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นครับ

อนึ่งอำนาจการยุบ เลิกโรงเรียนเป็นของเขตพื้นที่และศึกษาจังหวัดไม่ใช่ของ กพฐ โดยตรงครับ แต่หาก กพฐ ได้รับทราบผลการวิจัยของธนาคารโลกซึ่งใช้งบประมาณไปมากพอสมควร แล้วไม่นำผลการวิจัย มาทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้ สพฐ เขตพื้นที่ หรือศึกษาจังหวัดพิจารณานำไปสู่การปฏิบัติเหมือนงานวิจัยการศึกษาอื่นๆ ที่ผ่านมา เราจะสร้างคุณภาพการศึกษาของเยาวชนไทยในอนาคตให้ดีขึ้นได้อย่างไร

เอกชัย กี่สุขพันธ์
ประธาน กพฐ
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒

 

ขอบคุณที่มาจาก Facebook : Ekachai Keesookpun

 

โพสต์เมื่อ 26 พ.ค. 2562 อ่าน 14440 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)