คลอดคู่มือเปิดสอนอังกฤษเข้มข้นในโรงเรียน



#showpic
บอร์ด กพฐ.คลอดคู่มือการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียน เรียนแบบเข้มข้น 3 ระดับสู่มาตรฐานสากล

วันนี้ (20 พ.ค.) รศ.ดร.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม กพฐ.เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมได้รับทราบว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามความเข้มข้น 3 ระดับสู่สากล เสร็จสมบูรณ์แล้ว และจะให้สถานศึกษานำไปทบทวนการดำเนินการสอนภาษาอังกฤษเพื่อยกระดับและพัฒนาคุณภาพความสามารถของผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย 3 ระดับ ได้แก่ 1.หลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับทุกโรงเรียน General English Program (GEP) 2.หลักสูตรภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น Intensive English Program (IEP) และ 3.หลักสูตรภาษาอังกฤษนานาชาติ International Program (IP)

รศ.ดร.เอกชัย กล่าวต่อไปว่า หลักสูตร GEP จะให้เด็กเรียนภาษาอังกฤษครบทุกทักษะตั้งแต่ยังเล็กๆ เน้นการสอนให้สื่อสารได้ มีเป้าหมายให้เด็กไทยทุกคนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับดีภายในระยะเวลา 10 ปี หลักสูตร IEP จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งสถานศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตร English Program (EP) และหลักสูตร Mini English Program (MEP) หากต้องการปรับมาใช้หลักสูตร IEP ต้องประสานงานไปที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสถาบันภาษาอังกฤษเพื่อขอรับการประเมิน ส่วนหลักสูตร IP คือการจัดการเรียนการสอนที่ใช้หลักสูตรจากต่างประเทศ สอนโดยครูเจ้าของภาษา หรือ ครูที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก และผู้เรียนได้รับประเมินตามกรอบหลักสูตรของเจ้าของหลักสูตรที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ทั้งนี้ ไม่ได้บังคับว่าต้องจัดการเรียนการสอนในคู่มือนี้ในทันที ถ้าโรงเรียนไหนพร้อมปีนี้ก็ทำตามมาตรฐานที่ออกมาได้เลย แต่ถ้าไม่พร้อมก็ทำในปีหน้า แต่ชัดเจนว่าต่อไปนี้โรงเรียนไหนจะเปิดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษก็จะมีแนวทางให้หมดว่าควรจะทำอย่างไร

"คู่มือนี้เป็นเพียงการแนะนำ ถ้าสามารถทำได้ดีกว่าก็ทำเลยแต่อย่าทำต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดโดยจะมีการเชิญโรงเรียนที่เปิดสอน EP และ MEP มาทำความเข้าใจ เชื่อว่าเมื่อเห็นคู่มือนี้ ก็จะสามารถปรับตัวตามได้ แต่หากปรับตัวตามไม่ได้แล้วไปเก็บเงินค่าเล่าเรียนจากผู้ปกครองแพงก็จะมีปัญหาคุณภาพกับผู้ปกครองได้" รศ.ดร.เอกชัย กล่าวและว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการการเรียนการสอนภาษาจีนสู่สากล โดยมีผู้แทนจากสถาบันขงจื่อ สำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติฮั่นปั้น มาร่วมเป็นกรรมการ เพื่อกำหนดมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนของไทยที่มีหลากหลายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และจะมีการจัดทำคู่มือการเรียนการสอนภาษาจีน และมีการอบรมครูไทยที่สอนภาษาจีนให้ได้มาตรฐาน โดยครูจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสอนภาษาจีน จากสถาบันภาษาจีน สามารถไปสอนวัฒนธรรมไทยในประเทศจีนได้ ทำให้โอกาสของครูไทยมีมากขึ้น เป็นครูสอนภาษาจีนเทียบเท่านานาชาติ


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2562 

โพสต์เมื่อ 20 พ.ค. 2562 อ่าน 25618 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)