ครม.ตีตก "พ.ร.ก.การศึกษาแห่งชาติ" รอรัฐบาลใหม่ตัดสิน



#showpic

"ธีระเกียรติ" สกัดกลุ่มค้านพ.ร.ก.การศึกษาชาติ หลังครม.ไม่มีมติ รอรัฐบาลหน้าพิจารณา ฟาก กอปศ.ห่วงหวั่นถูกแก้ไขในสภาฯ

วันนี้ (8 พ.ค.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเร็ว ๆ นี้ พิจารณาร่าง พ.ร.ก.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. … โดยครม.มีมติชัดเจนว่า จะไม่มีการออกเป็น พ.ร.ก. เพราะยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่สามารถพิจารณาเรื่องนี้ได้ ดังนั้นจึงต้องรอรัฐบาลหน้ามาพิจารณา และเสนอให้สภาฯ ให้ความเห็นชอบ ส่วนรัฐบาลหน้าจะรับลูกหรือไม่นั้น ตนไม่ทราบ

“ผมอยากแจ้งให้ทราบชัดเจนว่า รัฐบาลนี้จะไม่ออก กฎหมายการศึกษาแห่งชาติ เป็นพ.ร.ก. ใครที่ออกคัดค้านจะได้ไม่ต้องออกมาประท้วง เพราะต้องรอให้รัฐบาลหน้าพิจารณา เสนอเข้าสภาฯ ตามขั้นตอน ส่วนจะรับลูกต่อหรือไม่นั้น ผมก็ตอบไม่ได้ คงต้องไปถามรัฐบาลหน้า “นพ.ธีระเกียรติ กล่าว

นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้าง การก่อสร้าง โครงการสร้างศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา หรือ อควาเรียมหอยสังข์ ที่วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ อ.เมือง จ.สงขลานั้น ยืนยันว่าต้องเดินหน้าต่อโดย ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เสนอรายการก่อสร้างมาแล้ว เตรียมเสนอครม. ขอใช้งบฯในการก่อสร้างประมาณ 500 ล้านบาท รวมถึงจะส่งมอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นผู้ดูแล ซึ่งที่ผ่านมาทางทส. เคยรับจะดูแลแล้วด้วยวาจา แต่คงต้องเสนอเข้าครม.พิจารณาอย่างเป็นทางการอีกครั้ง

ด้าน รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รองประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) กล่าวว่า ยอมรับว่า กอปศ. ค่อนข้างกังวล หากไม่สามารถออกพ.ร.ก. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..ภายในรัฐบาลนี้ อาจต้องใช้เวลา อีกทั้งเมื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาสภาฯ อาจถูกปรับแก้ จนหลักการต่างๆ ที่วางไว้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แต่ก็เชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และครม. น่าจะมีเหตุผล อยากให้ผ่านสภาฯ ตามขั้นตอนกฎหมาย ซึ่งจากนี้ต้องเป็นหน้าที่ของศธ. ที่ต้องเดินหน้าผลักดัน และไม่ว่าพรรคการเมืองใด จะเข้ามาดูแลศธ. ก็เชื่อว่า จะเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาและผลักดันให้เกิดพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติขึ้นโดยเร็วตามที่ได้หาเสียงไว้

“กอปศ.สบายใจอย่างหนึ่งคือ แผนปฏิรูปประเทศผ่านความเห็นชอบจากครม.แล้ว รอประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งในแผนดังกล่าว กำหนดเรื่องการปฏิรูปการศึกษาไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นหากพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.. ยังไม่เกิดขึ้น จะส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ที่จะดูแลการศึกษาในภาพรวมทั้งประเทศ ยังไม่เกิดตามไปด้วย เป็นหน้าที่ของศธ. ที่ต้องเร่งผลักดัน ส่วนคนที่ออกมาคัดค้านและหวังจะไปปรับแก้ในช่วงการพิจารณาของสภาฯชุดใหม่ นั้น มั่นใจว่า หลักการใหญ่ๆ ที่วางไว้จะไม่ถูกปรับแก้ โดยอยากให้ผู้ที่คัดค้านทำความเข้าใจ และศึกษาหลักการของพ.ร.บการศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ ซึ่งจะเน้นการเพิ่มคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความสามารถในการแข่งขัน เรื่องที่ออกมาคัดค้านเป็นเพียบประเด็นเล็ก อาทิ การกำหนดชื่อตำแหน่งครูใหม่ ซึ่งต้องการให้ความสำคัญกับความเป็นครู ไม่ใช่ลดทอนคุณค่าให้ครูเป็นเพียงอาชีพหนึ่งเท่านั้น”รศ.ดร.ดารณี กล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก MGR Online วันที่ 8 พ.ค. 2562

ครม.ตีตก พ.ร.ก.การศึกษาแห่งชาติ

คณะรัฐมนตรี มีมติไม่ส่งร่างพระราชกำหนดการศึกษาแห่งชาติ รอรัฐบาลใหม่พิจารณาเป็นพระราชบัญญัติตามขั้นตอนของสภาฯ ด้าน รองประธาน กอปศ.หวั่นหลักการใหญ่ถูกปรับแก้

วันนี้ (8 พ.ค.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พิจารณาร่างพระราชกำหนด( พ.ร.ก.)การศึกษาแห่งชาติ และมีมติชัดเจนว่า จะไม่มีการออกเป็น พ.ร.ก. เพราะยังไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ดังนั้น ต้องรอให้รัฐบาลชุดใหม่มาพิจารณา เสนอกฎหมายเข้าสภาฯตามขั้นตอน ส่วนรัฐบาลใหม่จะรับลูกต่อหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ

ด้าน รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รองประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) กล่าวว่า ค่อนข้างกังวลว่า หากไม่สามารถออก พ.ร.ก. การศึกษาแห่งชาติ ได้ภายในรัฐบาลนี้ อาจต้องใช้เวลา อีกทั้งเมื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏร อาจถูกปรับแก้ไขจนหลักการต่างๆ ที่วางไว้ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ แต่ก็เชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ครม. น่าจะมีเหตุผล อยากให้ผ่านสภาฯ ตามขั้นตอนกฎหมาย ซึ่งจากนี้ต้องเป็นหน้าที่ของศธ. ที่ต้องเดินหน้าผลักดัน และไม่ว่าพรรคการเมืองใด จะเข้ามาดูแลศธ. ก็เชื่อว่า จะเห็นความสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาและผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ขึ้นโดยเร็ว

“ กอปศ.สบายใจอย่างหนึ่ง คือ แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้ว รอประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งในแผนดังกล่าว กำหนดเรื่องการปฏิรูปการศึกษาไว้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม หากพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ หรือ พ.ร.ก.การศึกษาแห่งชาติ ยังไม่เกิดขึ้น จะส่งผลให้คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ ที่จะดูแลการศึกษาในภาพรวมทั้งประเทศ ยังไม่เกิดตามไปด้วย จึงเป็นหน้าที่ของศธ. ที่ต้องเร่งผลักดัน ส่วนคนที่ออกมาคัดค้านและหวังจะไปปรับแก้ในช่วงการพิจารณาของสภาฯชุดใหม่ นั้น มั่นใจว่า หลักการใหญ่ๆ ที่วางไว้จะไม่ถูกปรับแก้ โดยอยากให้ผู้ที่คัดค้านทำความเข้าใจ และศึกษาหลักการของร่าง พ.ร.บการศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ ซึ่งจะเน้นการเพิ่มคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความสามารถในการแข่งขัน เรื่องที่ออกมาคัดค้านเป็นเพียบประเด็นเล็ก อาทิ การกำหนดชื่อตำแหน่งครูใหญ่ ซึ่งต้องการให้ความสำคัญกับความเป็นครู ไม่ใช่ลดทอนคุณค่าให้ครูเป็นเพียงอาชีพหนึ่งเท่านั้น” รศ.ดร.ดารณี กล่าว.


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวและอ่านเพิ่มเติมได้จาก เดลินิวส์ วันพุธที่ 8 พฤษภาคม 2562

 

โพสต์เมื่อ 8 พ.ค. 2562 อ่าน 29407 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)