"ลดภาระงานครู"สาเหตุคะแนนโอเน็ตสูงขึ้น



#showpic

2 เม.ย.62 - นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้มีการสรุปรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ปีการศึกษา 2561 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ (ม.) 3 และม. 6 ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าสอบโอเน็ตทั่วประเทศระดับ ป.6 จำนวน 443,839 คน ม.3 จำนวน 474,487 คน และ ม.6 จำนวน 287,643 คน พบว่าภาพรวมเป็นที่น่าพอใจ และแม้ว่าคะแนนเฉลี่ยจะยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ สพฐ.คาดหวังไว้ แต่ในระดับ ป.6 ก็มีคะแนนสูงขึ้นทุกวิชายกเว้นวิชาคณิตศาสตร์ ม.3 มีคะแนนเพิ่มขึ้นทุกวิชายกเว้นวิชาภาษาอังกฤษ และ ม.6 เพิ่มขึ้นทุกวิชาเช่นเดียวกันยกเว้นวิชาภาษาไทย โดยในส่วน ม.6 วิชาภาษาไทยที่มีคะแนนต่ำลงนั้นก็อาจเป็นไปได้ว่าเด็กกลุ่มนี้มุ่งมั่นเรียนเพื่อสอบแข่งขันต่อระดับอุดมศึกษาจึงเน้นหนักไปที่วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งในจำนวนที่มีคะแนนโอเน็ตสูงขึ้นได้รวมไปถึงโรงเรียนในกลุ่มเกาะแก่ง โรงเรียนพื้นที่สูง โรงเรียนที่จัดการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โรงเรียนประชารัฐ และโรงเรียนในโครงการ Partnership School ทั้งนี้ในวิชาที่มีคะแนนต่ำลง สพฐ.จะใช้โครงการ DLTV เข้ามาช่วยเติมเต็มมากขึ้น เพราะเห็นลัพธ์ที่เกิดขึ้นชัดเจนกับโรงเรียนที่ได้คะแนนโอเน็ตเพิ่มขึ้นจากการใช้โครงการ DLTV


สำหรับผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้คะแนนโอเน็ตสูงขึ้นจากการประเมินของสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสพฐ. สำรวจจากครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้ปกครอง จำนวน 29,487 คน พบว่า นโยบาย 3 เรื่องของสพฐ.ส่งผลให้คะแนนโอเน็ตสูงขึ้น ได้แก่ นโยบายการลดภาระงานครูเพิ่มคุณภาพผู้เรียน (จัดสรรอัตราครูธุรการ) นโยบายระบบเครือข่ายไฮสปีดอินเตอร์เน็ต และการลงพื้นที่ของผู้อำนวยการเขตฯ ส่วนโครงการที่ส่งผลให้คะแนนโอเน็ตสูงขึ้นได้ การพัฒนาการอ่านออกเขียนได้ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยระบบ DLTV การพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร และการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

“ทั้งนี้ในปีการศึกษาหน้าเราจะใช้วิธีการบริหารงานแบบจิ๊กซอว์โมเดล คือ จะแบ่งโรงเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย เพื่อให้มีเป้าหมายของการดำเนินการ ซึ่งจะให้มีผู้รับผิดชอบแต่ละกลุ่มโรงเรียน โดยจะดูว่าโรงเรียนกลุ่มไหนยังขาดอะไรที่สพฐ.จะลงไปเติมเต็มให้ครบ เช่น ขาดงบประมาณ ขาดแคลนครู หรือเทคนิคการเรียนการสอน เป็นต้น ทั้งนี้แม้โรงเรียนจะมีเงินอุดหนุนรายหัวเด็กที่ยังได้รับการอุดหนุนเท่าเดิมแล้ว แต่ต่อจากนี้ไปการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆเราจะมีเงินท็อปอัพพิเศษลงไปให้เป็นไปตามเฉพาะกลุ่มโรงเรียนอีกด้วย เหมือนเป็นการเติมเต็มงบประมาณพิเศษซึ่งใช้เป็นงบปกติในการดำเนินการ เพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาได้เกิดขึ้นอย่างเท่าเทียมในอนาคต”เลขาฯ กพฐ. กล่าว


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยโพสต์ วันที่ 2 เมษายน 2562

 

โพสต์เมื่อ 3 เม.ย. 2562 อ่าน 13876 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)