สพฐ.นำร่อง รร.อนุบาล 82 แห่งใช้นวัตกรรมไฮสโคป



#showpic

เลขาธิการ กพฐ. ถก การเรียนการสอนการศึกษาเด็กปฐมวัย เตรียมนำร่องโรงเรียนอนุบาลระดับจังหวัด 82 แห่ง ใช้นวัตกรรม "ไฮสโคป" เชื่อตอบโจทย์ผู้เรียนในศตววรรษที่ 21

วันนี้ (4 ม.ค.) นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมการจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope) เมื่อเร็ๆวนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงการวางแผนที่จะนำการจัดการเรียนการสอนแบบไฮสโคปลงสู่กระบวนการปฎิบัติให้แก่เด็กระดับปฐมวัย โดยจะนำร่องในโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน จำนวน 82 แห่งแบบเข้มข้น เพื่อชูให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ ซึ่งการที่นำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไฮสโคปมาใช้นั้นจะส่งผลให้เราได้ฝึกประสบการณ์ครูที่ไม่ได้จบการศึกษาปฐมวัยด้วยเหมือนเป็นการเติมเต็มครบวงจรของการจัดการศึกษาปฐมวัย ทั้งนี้ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มอบความอิสระการจัดการเรียการสอนปฐมวัยให้ใช้การสอนได้หลากหลายรูปแบบตามความพร้อมของเด็กและโรงเรียน เช่น มอนเตสซอรี่ Montessori เป็นต้น แต่ครั้งเราอยากนำรูปแบบการสอนไฮสโคปมานำร่องโรงเรียนอนุบสลระดับจังหวัดที่มีความพร้อมก่อน ซึ่งจะเริ่มดำเนินการทันที เพราะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่เราจะยกระดับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบมากขึ้น

เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า สำหรับนวัตกรรมไฮสโคปเป็นการสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเปียเจต์นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง โดยรูปแบบการสอนแบบไฮสโคปมีโรงเรียนตัวอย่างที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้แล้ว 2 แห่ง คือ โรงเรียนอนุบาลร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด และโรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งน้อย “พิพัฒน์โสภณวิทยา จ.พิจิตร ซึ่งทำได้อย่างเข้มแข็งและประสบความสำเร็จมาก ดังนั้นจึงนำมาขยายผลต่อยอดในโรงเรียนอนุบาลระดับจังหวัดที่มีความพร้อม เพราะเชื่อมั่นว่าจะตอบโจทย์คุณสมบัติผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างแน่นอน ขณะเดียวกันในปีการศึกษา 2562 สพฐ.จะขยายโครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อยให้เต็มครอบคลุมทุกพื้นที่ ซึ่งจะมีการเพิ่มกิจกรรมทักษะวิทยาศาสตร์จากเดิม 8 หน่วยการเรียนรู้ เป็น 10 หน่วยการเรียนรู้ พร้อมกับพัฒนาครูผู้สอน และหาคลิปวิดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์ในรูปแบบอออนไลน์ที่ดีมีคุณภาพมาส่งเสริมการเรียนมากขึ้นด้วย

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 4 มกราคม 2562

 

 

โพสต์เมื่อ 4 ม.ค. 2562 อ่าน 12598 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) [อ่าน 192]
ก.ค.ศ.เห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา [อ่าน 2708]
ก.ค.ศ.เห็นชอบปรับปรุงการเข้าสู่ตำแหน่ง สายงานบริหารสถานศึกษาและบริหารการศึกษา ควรต้องผ่านการเป็นรองผู้อำนวยการฯ มาก่อน และควรมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ [อ่าน 1082]
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2567 [อ่าน 5614]
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 2425]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)