คนไทยอันดับร่วง ใช้ภาษาอังกฤษ รั้งอันดับ 16 จาก 21 ประเทศในเอเชีย



#showpic

ความสามารถคนไทยใช้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับต่ำลง ร่วงจากอันดับ 53 ปีที่แล้ว มาเป็นที่ 64 ของโลก ส่วนในเอเชีย รั้งอันดับ 16 จาก 21 ประเทศ มีสิงคโปร์ แชมป์ที่ 1...

เมื่อวันที่ 7 พ.ย. ดร.มิน ทราน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายงานวิจัย “อีเอฟ เอดูเคชันเฟิสต์” เปิดเผยผลการจัดอันดับความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษประจำปี ซึ่งสำรวจจากคนจำนวน 1.3 ล้านคน จาก 88 ประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก จากผลการสำรวจพบว่า ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ โดยประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 64 ของโลก ซึ่งร่วงลงจากอันดับที่ 53 ในปีก่อน และหากเปรียบเทียบในระดับเอเชีย ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 16 จาก 21 ประเทศ

ทั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 8 ปี ที่ประเทศสวีเดนติดโผอันดับสูงสุดจากผลการทดสอบความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ทำให้ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งติดอันดับหนึ่งในปีที่แล้วลดลงมาเป็นอันดับที่ 2 และผลสำรวจยังพบว่าในระยะเวลา 1 ปี อันดับความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยตกลงไป 11 อันดับ ส่วนยุโรปยังคงเป็นผู้นำระดับโลกด้านความสามารถทางภาษาอังกฤษ โดย 8 ใน 10 อันดับประเทศที่มีความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษสูงสุดเป็นประเทศจากแถบยุโรป

นอกจากนี้ นับเป็นครั้งแรกของประเทศในแถบเอเชียที่ติดโผ 3 อันดับแรก คือ สิงคโปร์ อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก อย่างไรก็ตาม เอเชียยังคงมีช่องว่างที่ใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาค และประเทศที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษต่ำสุด โดยประเทศอุซเบกิสถาน อยู่อันดับที่ 86 ของโลก ขณะที่แอฟริกาแสดงถึงความสามารถด้านภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยประเทศแอลจีเรีย อียิปต์ และแอฟริกาใต้ ได้พัฒนาเพิ่มขึ้น 2 คะแนนหรือมากกว่า

ส่วนละตินอเมริกาเป็นประเทศเดียวที่แสดงถึงความสามารถด้านภาษาอังกฤษโดยรวมลดลงเล็กน้อย ผลคะแนนในภูมิภาคยังคงสม่ำเสมอกว่าที่อื่นๆ โดยมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างประเทศที่มีระดับความสามารถภาษาอังกฤษต่ำสุดและสูงสุด

พร้อมระบุผู้หญิงยังคงมีทักษะด้านภาษาอังกฤษดีกว่าผู้ชาย โดยความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษระหว่างสองเพศจากทั่วโลกเริ่มแตกต่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ ปี 2559 เป็นต้นมา และพบว่าความสามารถทางภาษาอังกฤษในประเทศส่งผลต่อความเท่าเทียม โดยประเทศที่มีความสามารถทางการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นจะมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น โดยพบว่าจำนวนเด็กผู้หญิงในประเทศเหล่านี้ได้รับโอกาสในการเรียนหนังสือเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีบัญชีเงินฝากในชื่อตัวเองอีกด้วย

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก ไทยรัฐ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2561

 

 

โพสต์เมื่อ 8 พ.ย. 2561 อ่าน 8077 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) [อ่าน 190]
ก.ค.ศ.เห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา [อ่าน 2704]
ก.ค.ศ.เห็นชอบปรับปรุงการเข้าสู่ตำแหน่ง สายงานบริหารสถานศึกษาและบริหารการศึกษา ควรต้องผ่านการเป็นรองผู้อำนวยการฯ มาก่อน และควรมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ [อ่าน 1079]
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2567 [อ่าน 5591]
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 2421]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)