กมว.ไม่สนเรียน4-5ปียึดคะแนนปฏิบัติการสอนให้ตั๋วครู



#showpic

กมว.คุรุสภา ปรับลดกรอบมาตรฐานวิชาชีพครูเหลือ 4 ด้าน ก้าวข้ามเวลาเรียนหลักสูตรครู 4 ปี หรือ 5 ปี ชี้ผู้มีสิทธิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องมีปริญญาทางการศึกษา ผ่านฝึกสอน 1 ปีตรงตามวิชาเอกที่เรียน

วันนี้ (27 ต.ค.) รศ.เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) คุรุสภา เปิดเผยว่า เมื่อเร็วนี้ที่ประชุม กมว.ได้รับหลักการกรอบมาตรฐานวิชาชีพครู จากเดิมกำหนดไว้ 11 ด้าน ปรับลดเหลือ 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านค่านิยมและคุณลักษณะความเป็นครู ด้านความรู้และศาสตร์การสอน ด้านการปฏิบัติงานในหน้าที่ครู และ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน แ ซึ่งคณะทำงานจะไปทำรายละเอียดมาตรฐานด้านต่างๆให้ชัดเจนและนำเข้าที่ประชุม กมว.พิจารณาอีกครั้งในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อให้สถาบันการศึกษามีทิศทางในการพัฒนาหลักสูตรสอดรับกับมาตรฐานวิชาชีพครูใหม่

ประธาน กมว.กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือเรื่องการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู โดยยึด พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 เป็นหลัก ซึ่งในกฎหมาย ระบุว่า ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ต้องมีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือ มีคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และ ผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนั้น สถาบันการศึกษาที่จะผลิตครูไม่ว่าจะเป็นหลักสูตร 4 ปี หรือหลักสูตร 5 ปี แล้ว ถูกรับรองปริญญาทางการศึกษา โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ผ่านการปฏิบัติการสอน 1 ปี ก็จะมีสิทธิได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

“ข้อถกเถียงว่า เรียนหลักสูตรครู 4 ปี หรือ 5 ปี มีคุณภาพหรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็นในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่ง กมว.พูดถึงเรื่องปริญญาทางการศึกษา และเงื่อนไขที่คุรุสภากำหนด โดยในการมาขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ทางคุรุสภา จะดูคะแนนการปฏิบัติการสอนเป็นหลัก ดังนั้นจะได้หรือไม่ได้รับใบอนุญาตฯขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการสอน ซึ่งต่างจากเดิมที่ได้รับโดยอัตโนมัติ เช่น บางมหาวิทยาลัยถ้าผลิตครู เจ้าหน้าที่เทคโนโลยี แต่ไม่ได้ไปฝึกสอน 1 ปีการศึกษา ก็ไม่มีสิทธิได้ใบอนุญาตฯ ถ้าเรียนเอกภาษาไทยแล้วไปฝึกสอนไม่ตรงกับวิชาเอกของตนเอง ก็จะไม่ได้ตามหลักเกณฑ์ ซึ่งการฝึกปฏิบัติการสอนต้องสอนตรงตามวิชาเอกที่เรียน แต่ถ้าบางสถาบันดูแลเรื่องการฝึกสอนเด็กไม่เข้มมีการปล่อยคะแนน และทางคุรุสภาเห็นว่าจะมีปัญหาเรื่องคุณภาพ เราก็สามารถจะจัดสอบได้อีกส่วนหนึ่ง แต่การจัดสอบจะเน้นเรื่องเกี่ยวข้องกับการสอน ทั้งนี้ ในการฝึกปฏิบัติการสอน 1 ปี ไม่ใช่หมายความว่าฝึกสอนต่อเนื่อง สามารถเก็บเวลาการฝึกปฏิบัติการสอนให้ครบ 1 ปีการศึกษาได้”รศ.เอกชัย กล่าว.

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม 2561
 

 

 

โพสต์เมื่อ 29 ต.ค. 2561 อ่าน 4401 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)