จ่อเปิด’ไร้ตั๋ว’สอบครูสาขาขาดแคลน สพฐ.ถก’เขต-กศจ.คณะครุศาสตร์’หาข้อสรุป ชงก.ค.ศ.คลอดแนวทางก่อนรับสมัคร21พ.ค.



#showpic

เมื่อวันที่ 29 เมษายน นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ส.ค.ศ.ท.) มีข้อกังวลเรื่องการจัดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งกำหนดจะรับสมัครในเดือนพฤษภาคม 2561 จัดสอบโดยส่วนกลาง หรือ สพฐ. และให้มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มสด.) เป็นผู้ออกข้อสอบว่า คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จะอนุมัติเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบสาขาอื่นมาสอบในสาขาขาดแคลนโดยไม่สอบถามความเห็นจากสถาบันฝ่ายผลิตว่า เท่าที่คิดและได้หารือในที่ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งล่าสุด มีหลักเกณฑ์ว่าการกำหนดสาขาขาดแคลนต้องสำรวจจากพื้นที่มาก่อน และถ้าพื้นที่บอกว่าขาดแคลน ก็ต้องมาดูภาพรวมว่าขาดแคลนทั้งประเทศหรือไม่ ถ้าขาดแคลนเฉพาะพื้นที่อาจจะกำหนดให้ คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ในพื้นที่นั้น ๆ ประกาศเป็นบัญชีขาดแคลนเฉพาะในพื้นที่ แต่ถ้าเป็นขาดแคลนทั้งประเทศ ก็จะต้องประกาศเป็นมติภาพรวม เช่น จ.ชลบุรี ผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.ค.ศ.สะท้อนว่า ทางจังหวัดเปิดรับวิชาเอกนาฏศิลป์ แต่ไม่มีคนมาสมัครสอบ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะสถาบันผลิตในพื้นที่ไม่เปิดสอนเอกนาฏศิลป์ ดังนั้น จ.ชลบุรีอาจจะประกาศให้เอกนาฏศิลป์เป็นสาขาขาดแคลน ซึ่งต้องมาดูว่าจะยกเว้นให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสามารถสมัครสอบครู ผู้ช่วยได้หรือไม่ ทั้งนี้ในการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งต่อไป สพฐ.จะต้องสรุปข้อมูลและเสนอให้ ก.ค.ศ.อนุมัติเปิดสอบ โดย สพฐ.จะประกาศรับสมัครครูผู้ช่วยในวันที่ 21 พฤษภาคม ดังนั้นทุกอย่างจะต้องเรียบร้อยก่อนวันประกาศรับสมัคร

"ผมจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) เพื่อวางแนวทางสำรวจข้อมูล โดยจะดูทั้งสาขาที่ขาดแคลน สาขาที่ขาดแคลนซ้ำซากไม่มีครูไม่มีใครย้ายไป และสำรวจว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีมหาวิทยาลัยใดที่ผลิตในสาขาที่ขาดแคลนบ้าง หรืออยู่ระหว่างการผลิตแต่ยังไม่จบ โดยจะขอให้ กศจ.ส่งข้อมูลมา เมื่อได้ข้อมูลจะเชิญคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์มาประชุม เพื่อให้มีความเห็นร่วมกันว่าเป็นสาขาขาดแคลนเฉพาะพื้นที่หรือเป็นสาขาขาดแคลนภาพรวมทั้งประเทศ" นายบุญรักษ์กล่าว และว่า ทั้งนี้เมื่อกำหนดสาขาขาดแคลนแล้วจะเปิดกว้างให้ผู้ที่ไม่ได้จบครูมาสมัครสอบได้หรือไม่นั้น เบื้องต้นคิดว่าคิดว่าน่าจะมี เพราะการสอบครูผู้ช่วยปีที่ผ่านมาเปิดโอกาสให้สอบได้ ปีนี้ก็คงต้องมีแต่คิดว่าน้อยมาก เพราะต้องเป็นสาขาขาดแคลนจริงๆ จนไม่มีคนมาสมัคร เช่น สายวิชาชีพ ส่วนใหญ่คนที่จบสาขาเหล่านี้ไม่ใบอนุญาต ก็อาจต้องเปิดโอกาสให้คนที่ไม่มีใบอนุญาตมาสอบ เพราะขณะนี้โรงเรียนเปิดสายอาชีพค่อนข้างมาก และคนที่จบในสาขาเหล่านี้ไม่ได้เตรียมตัวมาเป็นครู ดังนั้น ต้องมีช่องทางให้เขาสามารถเข้ามาเป็นครูได้ สพฐ.เลือกเปิดสอบสาขาขาดแคลนตามประโยชน์ของเด็ก ไม่ใช่ตามประโยชน์ ของใคร

ผู้สื่อข่าวถามว่า ส.ค.ศ.ท.ระบุว่าผู้ที่จบสาขาอื่นมามาเป็นครูส่วนใหญ่สอนไม่เป็น นายบุญรักษ์กล่าวว่า อาจจะไม่จริงทุกคน ที่สอนเก่งก็เห็นจำนวนมาก เพราะคนที่เป็นติวเตอร์ดังๆ ก็ยังมาสอบเป็นครูผู้ช่วยสังกัด สพฐ. ส่วนที่บอกว่าเก่งแต่ติวนั้นต้องดูที่ผลลัพธ์ของเด็ก


ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก มติชน ฉบับวันที่ 1 พ.ค. 2561 (กรอบบ่าย)

นำเสนอใน เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 30 เมษายน 2561

 

โพสต์เมื่อ 30 เม.ย. 2561 อ่าน 11627 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)