ต้องคิดให้หนักลดห้องเรียนโรงเรียนดัง



แนะก่อนปรับลดจำนวนห้องเรียนของโรงเรียนดังต้องคิดให้หนัก หากข้อมูลไม่เพียงพอมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเสียหายต่อระบบการศึกษาได้

วันนี้(27มี.ค.)จากกรณีที่ ดร.สุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(กอศ.)กล่าวในการมอบนโยบายการรับนักเรียนนักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) และการเพิ่มจำนวนผู้เรียนอาชีวศึกษา รวมถึงผู้เรียนโครงการทวิศึกษา โดย ดร.สุเทพจะเสนอนพ.ธีรเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ให้ปรับลดจำนวนห้องเรียนระดับ ม.ปลายของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอัตราการแข่งขันสูงนั้น นายกำจัด คงหนู ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา(สพป.)ปทุมธานี เขต 1 กล่าวว่า การตัดสินในทางวิชาการที่เป็นส่วนได้ส่วนเสียของเด็กนั้น ต้องมีข้อมูลที่เพียงพอและต้องคิดไปในอนาคต การตัดสินใจเชิงนโยบายโดยผู้มีอำนาจย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการศึกษาได้

“อย่างไรก็ตามสำหรับผมให้ความร่วมมือกับสอศ.ในการให้ครูอาชีวะเข้าไปแนะแนวในโรงเรียนมัธยมศึกษามาโดยตลอด แต่บางครั้งก็ติดปัญหาที่วิทยาลัยของ สอศ.เอง เพราะบางวิทยาลัยมีข้อจำกัดในการรับนักเรียน โดยเฉพาะวิทยาลัยเทคนิคที่มีอัตราการแข่งขันสูงไม่สามารถรับนักเรียนที่ต้องการเรียนในสาขาที่ต้องการได้ทั้งหมด ซึ่งก็ต้องดูในจุดนี้ด้วยว่า วิทยาลัยเหล่านี้มีความพร้อมหรือยังที่จะรับนักเรียนที่ต้องการเข้าเรียนในสาขาที่เป็นความต้องของพวกเขาได้ทั้งหมดหรือไม่ ขณะเดียวกันต้องกลับไปมองเรื่องค่านิยมของผู้ปกครองด้วย ไม่ใช่อะไร ๆ ก็โยนความผิดให้สพฐ.”นายกำจัดกล่าว

ด้าน ดร.สุปราณี ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา กล่าวว่า โรงเรียนสตรีวิทยามีการแนะแนวการเรียนต่อให้แก่เด็กที่กำลังจะจบ ม.3 ทุกปี และเปิดให้วิทยาลัยในสังกัด สอศ.เข้ามาแนะแนวด้วย ส่วนเด็กจะตัดสินใจเลือกเรียนต่อสายสามัญ หรือสายอาชีพนั้น ก็ขึ้นอยู่กับค่านิยมของเด็กและผู้ปกครอง ซึ่งที่ผ่านมานักเรียนสตรีวิทยาส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเด็กผู้หญิงมักจะเรียนต่อม.ปลาย เพราะคาดหวังว่าจะได้เรียนต่อมหาวิทยาลัย แต่ก็มีบางส่วนที่ไปเรียนสายอาชีวศึกษา ซึ่งเท่าที่สังเกตระยะหลังมีเด็กไปเรียนต่อสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น เพราะอาชีวศึกษาก็มีการพัฒนาขึ้นมาก โดยเด็กคาดหวังว่าเมื่อเรียนจบแล้วจะมีงานทำ อย่างไรก็ตามการลดจำนวนห้องเรียนไม่น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด เพราะการตัดสินใจเรียนต่อสายอาชีพหรือสายสามัญขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของตัวเด็กและผู้ปกครอง หากจะให้ปรับลดห้องเรียนคงต้องดูบริบทอื่นประกอบด้วย

ขอบคุณที่มาเนื้อหาข่าวจาก เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 27 มีนาคม 2560 เวลา 11.18 น.

โพสต์เมื่อ 27 มี.ค. 2560 อ่าน 9524 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)