เปิดตัวคู่มือทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมลูกเสือ



สพฐ.จับมือ สสส.-สำนักงานลูกเสือ-สมาคมวางแผนครอบครัวฯ เปิดตัวคู่มือการเรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมลูกเสือ เพื่อสร้างทักษะชีวิต ภูมิคุ้มกันเยาวชน พร้อมขยายผลไปยังโรงเรียนทั่วประเทศ

วันนี้ ( 7 มิ.ย.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ลงนามความร่วมมือกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และสมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในโครงการลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิต โดย ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวว่า การสร้างทักษะชีวิตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งประกอบไปด้วย การคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ สื่อสารเป็น และรู้จักปรับตัวในอนาคต หลายประเทศมุ่งสร้างทักษะดังกล่าวให้สอดแทรกอยู่ในการเรียนการสอน โดยเฉพาะวิชาลูกเสือที่เน้นการฝึกปฎิบัติมีตัวอย่างการสอนลูกเสือ เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ ได้มีการอบรมลูกเสือรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติ ประเทศศรีลังกา สอนทักษะการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เป็นต้น ดังนั้น สสส.จึง ร่วมมือกับ หน่วยงานดังกล่าว ออกแบบคู่มือการเรียนรู้ทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมลูกเสือ โดยเป็นการออกแบบการเรียนรู้แต่ละช่วงวัยและดึงสถานการณ์ปัจจุบันเข้ามาอยู่ในกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการติดอาวุธทักษะชีวิตให้แก่เด็ก

นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สพฐ.เห็นความสำคัญต่อการสร้างทักษะชีวิต ซึ่งอยากให้ครูผู้สอนได้ให้ความสำคัญและนำคู่มือนี้ไปใช้ประโยชน์ เรียนเทคนิคการตั้งคำถาม และการออกแบบวิธีการสอน เพื่อนำไปปรับใช้ในวิชาลูกเสือและวิชาอื่นๆ มุ่งให้เกิดการสร้างทักษะที่แท้จริงของนักเรียน ทั้งนี้ สพฐ.ยินดีให้การสนับสนุนการทำงานร่วมกันในการค้นหานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับสร้างทักษะชีวิตจนนำไปสู่การขยายผลในโรงเรียนอื่นๆต่อไป

ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กล่าวว่า เชื่อมั่นว่าคู่มือการเรียนรู้จะสามารถสร้างให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะชีวิตอย่างแท้จริงจึงให้การรับรองและออกตราสัญลักษณ์ลูกเสือหน้าคู่มือ เพื่อรับรองในการสอนในห้องเรียน นอกจากนี้คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติยังได้รับรองหลักสูตรการฝึกอบรมผู้กำกับลุกเสือของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ ประเภท ลูกเสือสำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ และวิชาสามัญ ในระดับความรู้เบื้องต้นและขั้นสูง รวม 8 หลักสูตร ทั้งนี้คาดหวังว่าความร่วมมือนี้จะส่งผลให้เปิดสอนอย่างกว้างขวางต่อไป

ดร.กาญจนา กาญจนสินิทธ์ นายกสมาคมวางแผนครอบครัวฯ กล่าวว่า คู่มือดังกล่าวได้มีการทดลองใช้นำร่องในโรงเรียน 26 แห่ง พร้อมกับประเมินผลพบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น เช่น กิจกรรมแผนที่อบายมุขรอบโรงเรียน ด้วยการเดินสำรวจและเขียนเป็นแผนที่แหล่งอบายมุขรอบโรงเรียน และ “นาทีชีวิต” ฝึกการช่วยเหลือตัวเองจากภัยทางน้ำและวิธีป้องกันด้วยการจำลองเหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเวลากลางคืน หรือแผนดินไหว เพื่อให้เกิดการวิเคราะห์และตัดสินใจได้ด้วยตนเองเมื่อเกิดเหตุการณ์ 

 

ที่มา เดลินิวส์ วันอังคารที่ 7 มิถุนายน 2559 เวลา 17.30 น.

โพสต์เมื่อ 7 มิ.ย. 2559 อ่าน 24399 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)