การประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ (1)



#showpic

สถานี ก.ค.ศ.
การประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ (1)

ตามที่สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งเวียนหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.1/ ว 1 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เรื่อง การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญทุกตำแหน่ง ไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเผยแพร่ ผ่านเว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ.ด้วยนั้น ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งได้มีข้อสอบถามเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าว เข้ามายังสำนักงาน ก.ค.ศ. เป็นจำนวนมาก ในสัปดาห์นี้ จึงได้สรุปสาระสำคัญเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับทราบ ดังนี้

1.การยื่นคำขอรับการประเมินกำหนดให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ยื่นคำขอในระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน 2559 ซึ่งผู้ขอรับการประเมินจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กำหนด ในวันที่ยื่นขอรับการประเมิน โดยส่วนราชการต้นสังกัดจะต้องเสนอรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ครั้งเดียว พร้อมเอกสารหลักฐานถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 กันยายน 2559 สำหรับรายที่เกษียณอายุราชการในปี พ.ศ. 2559 ให้ส่งถึงสำนักงาน ก.ค.ศ. ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2559

2.ก.ค.ศ. ได้ให้การรับรองรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป จำนวน 203 รางวัล เพื่อใช้ในการยื่นขอรับการประเมินเพื่อให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ในสังกัด สพฐ./กศน./สอศ. โดยมีทั้งรางวัลที่เคยรับรองเดิม และรางวัลที่ให้การรับรองใหม่รวมอยู่ในบัญชีรายชื่อรางวัลทั้งหมดแล้ว ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดหรือดาวน์โหลดเอกสาร ได้ทางเว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ.

3.กำหนดให้ใช้ผลงานดีเด่นที่ได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป และผลงานดีเด่นที่มีคุณภาพเทียบเทียงรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 – 30 เมษายน 2559 กรณีเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนด ผู้ขอรับการประเมินต้องชี้แจงข้อมูลและเอกสารหลักฐานอย่างชัดเจนว่าหลังจากนั้นได้มีการพัฒนาและนำผลงานดีเด่นฯ ไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องอย่างไร

4.ผู้ขอรับการประเมินจะต้องมีผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ในกรณีได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป หรือผลงานดีเด่นที่ส่วนราชการต้นสังกัดพิจารณาว่าเป็นผลงานดีเด่นที่มีคุณภาพเทียบเคียงรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไปตรงหรือสอดคล้องกับสาขา/สาขาวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ขอรับการประเมิน สำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษไม่น้อยกว่า 2 รางวัล ซึ่งจัดทำขึ้นเองร้อยละ 100 จำนวน 1 รางวัล วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่น้อยกว่า 3 รางวัล ซึ่งจัดทำขึ้นเองร้อยละ 100 จำนวน 2 รางวัล กรณีมีผู้ร่วมจัดทำหลายคนผู้ขอรับการประเมินจะต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

5.ผู้ขอรับการประเมินต้องจัดทำเอกสารสรุปผลงานดีเด่น จำนวน 1 เล่ม ไม่เกิน 50 หน้า และภาคผนวกไม่เกิน 10 หน้า โดยรวมผลงานดีเด่นที่เสนอขอรับการประเมิน ทุกรายการในเล่มเดียวกัน

ยังมีสาระสำคัญที่ควรรู้อีกหลายประเด็น ซึ่งจะนำมาบอกกล่าวเพิ่มเติมในสัปดาห์หน้าแต่ขอย้ำว่าผลงานดีเด่นที่ยื่นเพื่อขอรับการประเมินต้องเป็นผลงานดีเด่น ที่แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์ถึงผลที่เกิดกับนักเรียน และพัฒนาการเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนอย่างเด่นชัดเท่านั้น

พินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์
เลขาธิการ ก.ค.ศ.



ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันจันทร์ ที่ 14 มีนาคม 2559

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

การประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ (จบ)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.kroobannok.com/article-78359-การประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์-(จบ).html

โพสต์เมื่อ 14 มี.ค. 2559 อ่าน 32425 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) [อ่าน 193]
ก.ค.ศ.เห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา [อ่าน 2724]
ก.ค.ศ.เห็นชอบปรับปรุงการเข้าสู่ตำแหน่ง สายงานบริหารสถานศึกษาและบริหารการศึกษา ควรต้องผ่านการเป็นรองผู้อำนวยการฯ มาก่อน และควรมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ [อ่าน 1086]
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2567 [อ่าน 5672]
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 2436]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)