แยกตั้งกรมวิชาการส่อแววสะดุด



#showpic

“กำจร” หนุนตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ล้มร่างพ.ร.บ.อุดมศึกษา เผยปรับโครงสร้างใหม่แยกตั้งกรมวิชาการส่อแววสะดุด หลายฝ่ายเกรงกระทบงานที่กำลังเดินหน้าอยู่

วันนี้ (2 ก.พ.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประธานคณะทำงานทบทวนบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของ ศธ. เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์โครงสร้าง ศธ.ทั้งรูปแบบปัจจุบันที่มี 5 องค์กรหลัก และรูปแบบเดิมที่มี 14 กรม ต่างก็มีปัญหา คือ กรณี 5 องค์กรหลักมีปัญหาเรื่องการบูรณาการ ส่วนรูปแบบกรมอำนาจก็อยู่ที่ปลัด ศธ. ซึ่งอาจจะมีมากเกินไป หากตัดสินใจพลาดก็จะทำให้เกิดปัญหาทั้งกระทรวง อย่างไรก็ตามขณะนี้มีหลายฝ่ายเข้ามาให้ความคิดเห็นกันมาก และขณะนี้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.)ก็กำลังพิจารณาโครงสร้างเพื่อเสนอให้ ศธ.เป็นทางเลือก โดยเบื้องต้นทราบว่ามีทั้งการกระจายอำนาจออกไปให้หมด และการรวมศูนย์

ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศธ. บอกว่า เห็นด้วยกับการแยกสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)ไปตั้งเป็นกระทรวงอุดมศึกษานั้น ปัญหาการอุดมศึกษาที่ผ่านมาคือ การจัดการศึกษาที่ไม่เป็นไปตามกติกาในบางมหาวิทยาลัย มีปัญหาเรื่องธรรมภิบาล จึงมีการเสนอ 2 ทางเลือกคือ

1.ออกเป็น พ.ร.บ.การอุดมศึกษา เพื่อดูแลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาแต่เท่าที่ฟังเสียงมหาวิทยาลัยต่างๆไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะเป็นการก้าวก่ายงานของอุดมศึกษามากเกินไป และ

2. การแยก สกอ.ออกมาเป็นกระทรวงการอุดมศึกษา โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ในกฎหมายของกระทรวงการอุดมศึกษาว่าให้สามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาให้แก่สถาบันอุดมศึกษาในกรณีที่ไม่สามารถแก้ปัญหาโดยสภามหาวิทยาลัยได้

“โดยส่วนตัวผมเห็นว่าการแยกกระทรวงอุดมศึกษาน่าจะเป็นคำตอบที่เหมาะสม ภายในเวลา 15 เดือนที่เหลืออยู่ของรัฐบาลชุดนี้ ถ้าทุกฝ่ายเห็นพ้องกันกระทรวงการอุดมศึกษาน่าจะออกมาก่อนได้ โดยไม่ต้องรอการปรับโครงสร้างใหญ่ของ ศธ. รวมทั้งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) ที่ได้วางรูปแบบว่าจะเป็นคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย หรือซุปเปอร์บอร์ด ซึ่งถ้าเป็นเรื่องเดียวกันก็ควรไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ใช่ข้อสรุป ส่วนการใช้อำนาจตาม มาตรา 44 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) แยกกรมวิชาการออกมาก่อน ก็กำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่ แต่จากการหารือหลายฝ่ายกังวลว่าจะกระทบกับงานที่ทำอยู่และจะทำให้งานบางเรื่องล่าช้า ดังนั้นต้องดูความเป็นไปได้อย่างละเอียด”รศ.นพ.กำจรกล่าว

 

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2559

โพสต์เมื่อ 2 ก.พ. 2559 อ่าน 5943 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


สพฐ.ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) [อ่าน 190]
ก.ค.ศ.เห็นชอบแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา [อ่าน 2705]
ก.ค.ศ.เห็นชอบปรับปรุงการเข้าสู่ตำแหน่ง สายงานบริหารสถานศึกษาและบริหารการศึกษา ควรต้องผ่านการเป็นรองผู้อำนวยการฯ มาก่อน และควรมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าชำนาญการพิเศษ [อ่าน 1079]
ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2567 เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2567 [อ่าน 5597]
ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 2424]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)