ฟื้นกรมวิชาการ



กมลทิพย์ ใบเงิน

การยุบรวม 'กรมวิชาการ' ไปสังกัด 'สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน' (สพฐ.) ตามโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ใหม่ เมื่อปี 2546 หรือเมื่อ 12 ปีที่ผ่านมา

ถึงเวลานี้ได้คำตอบที่ชัดเจนแล้วว่า 'ปฏิรูปการศึกษา' ในอดีต เกิดความผิดพลาดอย่างมหาศาล และ 'ไร้ทิศทาง' ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาไทยดิ่งเหว

"ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศที่ไม่มีกรมวิชาการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการพัฒนาและ วิจัยหลักสูตรการเรียนการสอน ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ควรต้องมีกรมวิชาการเกิดขึ้น ซึ่งทราบว่าในการปรับปรุงโครงสร้าง ศธ.ได้มีการนำเสนอดังกล่าวด้วย" ตวง อันทะไชย ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งขาติ (สนช.) ระบุ

ตวง เสนอว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องเชื่อมโยงกับการปฏิรูปประเทศไทย เพราะการศึกษาต้องแก้ไขประเทศได้ด้วย ไม่ใช่แก้ไขปัญหาการศึกษาอย่างเดียว โดยการปฏิรูปต้องเริ่มจาก สร้างคนไปพัฒนาชาติได้ ต่อยอดสิ่งที่ดีอยู่ของการปฏิรูปที่ผ่านมารวมถึงปฏิรูปการศึกษาไปสู่เส้นทางใหม่ๆ ทั้งกระแสอาเซียนและกระแสโลก รวมถึงแก้ปัญหาของชาติ ทั้งปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และปัญหาความขัดแย้ง

ขณะเดียวกัน 'ตวง' ได้วิพากษ์ว่า บทบาทของสภาการศึกษาก่อนปี 2515 อยู่ในรูปแบบตวง อันทะไชยของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานที่สามารถชี้นำแนวทางการจัดการศึกษาได้อย่างแท้จริง แต่เมื่อมาเป็นสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ในปัจจุบัน กลับกลายเป็นหน่วยงานของคนทั่วไป ต่างคนต่างนำเสนอ ทำให้แนวทางเพี้ยนไปจากเดิม ดูได้จากการปฏิรูปการศึกษากลายเป็นว่าเมื่อ สกศ.พูดอะไรออกไปไม่มีพลังมากพอ ต่างจากเมื่อสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) หรือสำนักงานส่งเสริมสังคมและการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ออกมาเสนอกลับมีพลังให้คนเชื่อถือ

ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ก็ต้องศึกษาบทเรียนในอดีตด้วย และการปฏิรูปครั้งนี้ ต้องระเบิดจากข้างในนั่นคือ ครู

ว่ากันว่า สนช.ได้พิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา และคาดว่ากฎหมายที่ต้องแก้ไข ได้แก่ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ, ร่าง.พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ, ร่างพ.ร.บ.ครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนร่างกฎหมายที่ใกล้จะผ่านการพิจารณาของ สนช. คือร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาชาติ หรือซูเปอร์บอร์ดการศึกษา ซึ่งกำลังหาข้อสรุปเกี่ยวกับสังกัด ว่าจะให้ขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรี หรือเป็นองค์กรอิสระ ดูเหมือนว่า แนวคิดฟื้นกรมวิชาการ ไม่เพียงแต่ สนช.เท่านั้นสนับสนุน เพราะแม้แต่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ก็เคยมีข้อเสนอ ดังกล่าวมาแล้ว ซึ่ง ดร.อมรวิชช์

ดังกล่าวมาแล้ว ซึ่ง ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อดีตโฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สปช. เล่าว่า สปช.มีการเสนอให้มีการแยกสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (หรือกรมวิชาการในอดีต) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ออกมาทำหน้าที่ดูแลมาตรฐานหลักสูตรและวิชาการต่างๆ แต่ในข้อเสนอของ สปช. ได้เสนอเป็นโครงสร้าง 'สำนักส่งเสริมและประกันคุณภาพ' ทำหน้าที่ และพัฒนาการศึกษาทั้งหมดของประเทศไทย

จะใช้ชื่อว่า 'กรมวิชาการ' หรือ 'สำนักส่งเสริมและประกันคุณภาพ' แต่หน้าที่สำคัญต้องดูแลมาตรฐานหลักสูตรทุกระดับ และงานวิชาการอื่นๆ นะ ขอบอก!!

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 25 - 31 ธ.ค. 2558 

โพสต์เมื่อ 28 ธ.ค. 2558 อ่าน 2791 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)