หลากความเห็น "โครงสร้างใหม่ ศธ."



ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)ได้นำเสนอแนวคิดการปรับโครงสร้าง ศธ. พร้อมรูปแบบโครงสร้างเบื้องต้น ต่อคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา หรือซูเปอร์บอร์ดด้านการศึกษา ที่มี พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งโครงสร้างใหม่จะมี "ปลัดกระทรวง" เป็นหัวหน้าส่วนราชการ ที่เป็นระดับ 11 เพียงคนเดียว (single command) และจะสลายองค์กรหลัก แตกเป็นกรมที่มีอธิบดี ระดับ 10 เป็นผู้บังคับบัญชา นั้น และ เมื่อวันที่ 4 พ.ย.2558 ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ อดีตโฆษกคณะกรรมาธิการปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ออกมาให้ความเห็นในลักษณะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว

ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 พ.ย.58 นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวคิดการปรับโครงสร้างของศธ.ว่า เท่าที่ดูคิดว่าโครงสร้างดังกล่าวน่าจะทำโดยข้าราชการศธ. ที่จะมองแต่ความก้าวหน้าของตนเอง ไม่เป็นกลาง มองแต่เรื่องของตำแหน่ง เรื่องผลประโยชน์ของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งหากทำแบบนี้ตนว่าเจ๊ง เพราะจะกลับไปสู่วังวนเดิม ที่มี 14 กรม มีความอุ้ยอ้าย เทอะทะ ซึ่งไม่ใช่แค่อุ้ยอ้ายที่รวมศูนย์แบบซิงเกิลคอมมานเท่านั้น แต่จะไปอุ้ยอ้ายที่ภาค และจังหวัดด้วย ซึ่งถือว่าผิดคอนเซ็ปต์อย่างมาก เพราะการปฏิรูปควรจะให้ส่วนกลางมีขนาดเล็กลง และกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาที่มีความเป็นนิติบุคคล มีเด็กและครูเป็นตัวตั้ง และมีกลุ่มงานเป็นตัวสนับสนุน แต่โครงสร้างนี้กลับรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ไม่มีพูดถึงนักเรียน ครู และโรงเรียนเลย อีกทั้งยังต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพราะต้องผ่านหลายขั้นตอน ตั้งแต่ส่วน กลาง ภาค จังหวัด กล่าวจะถึงตัวเด็ก ตนจึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการศธ. ทบทวนให้ดี ไม่เช่นนั้นจะเข้าทางข้าราชการ 

ทางด้าน นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า ตนได้เห็นรูปแบบโครงสร้างดังกล่าวแล้ว คิดว่าจะทำให้การปฏิรูปการศึกษาถอยหลังลงไปอีก ซึ่งตามจริงศธ.ควรลำดับความสำคัญของปัญหา ที่ปัจจุบันอยู่ที่คุณภาพครู ผู้เรียน สถานศึกษา สุดท้ายจึงจะเป็นเรื่องบริหารจัดการหรือโครงสร้าง และในการปฏิรูปการศึกษาเมื่อปี 2540 ก็เน้นเรื่องโครงสร้างไปครั้งหนึ่งแล้ว จนสุดท้ายพบว่า การปฏิรูปดังกล่าวลงไปไม่ถึงตัวผู้เรียน ดังนั้นรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ควรกลับมาดูปัญหาว่าอะไรที่ต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะขณะนี้เรากำลังจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่ยังไม่มีบุคลากรที่มีคุณภาพที่พร้อมจะรับ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเห็นด้วย ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการศึกษา แต่การที่พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการศธ. จะมาปรับโครงสร้างศธ. จะทำให้เกิดความสูญเปล่าและถอยหลังกลับไปอีก 20 ปี

“ยอมรับว่าเมื่อได้ฟังเรื่องนี้แล้ว ผมรู้สึกไม่สบายใจอย่างมาก เหมือนกับยิ่งถอยหลัง และเท่าที่ดูรูปแบบโครงสร้างที่ออกมา คนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดคือข้าราชการจากส่วนกลาง ไม่ใช่ครูซึ่งมีอยู่กว่า 800,000 คน ” นายชินวรณ์ กล่าว

เรื่องนี้ ต้องคอยติดตามบทสรุปจากคณะทำงานทบทวนบทบาท ภารกิจและโครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานคณะทำงาน ว่าจะสรุปหาข้อยุติในเรื่องนี้ต่อไปอย่างไรครับ

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 5 พ.ย.2558

นักวิชาการจวก ปรับโครงสร้างศธ. ขรก.มองแต่ตัวเองก้าวหน้า ขอดาว์พงษ์ทบทวน

"ชินวรณ์" ค้านปรับโครงสร้างศธ. ห่วงสูญเปล่า-ถอยหลัง

#showads

โพสต์เมื่อ 6 พ.ย. 2558 อ่าน 10200 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)