สพฐ.ไม่ทิ้งเด็กเก่งแม้ชวดเป็นตัวแทนปท.



สพฐ.ไม่ทิ้งเด็กเก่งที่ไม่ผ่านรอบสุดท้ายการคัดเลือกเป็นตัวแทนไปแข่งขันในต่างประเทศ เผยแต่ละมีประมาณ 12% ได้รับโอกาสพัฒนาความสามารถตามเกณฑ์สากลต่อไป รวมทั้งมุ่งสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้โรงเรียนต่างๆ

นางนิจวดี เจริญเกียรติบวร รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า ในการคัดเลือกนักเรียนที่จะเข้ามาร่วมแข่งขันในเวทีการแข่งขันวิชาการระดับประเทศนั้น จะต้องมีการคัดเลือกเริ่มจากการเปิดรับสมัครและสอบ เพื่อคัดผู้ที่ผ่านเข้ารับจำนวน 30% จากนั้นจะคัดให้เหลือ 12% ที่จะเป็นตัวแทนของนักเรียนที่จะไปแข่งขันระดับประเทศจากผู้ที่สมัครทั้งหมด ทำให้จะมีนักเรียนที่ไม่ผ่านเข้ารอบ 12% อยู่ ดังนั้น สนก.จึงเดินหน้าพัฒนาเด็กกลุ่มดังกล่าวผ่านโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้สู่สากล ที่จะดำเนินงานใน 2 มิติ คือ 1.การส่งเสริมเด็กที่มีศักยภาพอยู่แล้ว ให้พัฒนาได้อย่างตรงจุดและถูกต้อง 2.การทำนวัตกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย อาทิ หลักสูตรคณิตศาสตร์เข้มข้น การบูรณาการให้เข้ากับชีวิตประจำวัน เพื่อให้เด็กเห็นว่าทุกอย่างรอบตัวคือคณิตศาสตร์ การจัดการเรียนการสอน เป็นต้น โดยนวัตกรรมดังกล่าวจะพัฒนามาจากการวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียของเด็กให้การแข่งขันต่างๆ ที่ผ่านมา ทั้งนี้ทาง สนก.จะนำนวัตกรรมนี้ถ่ายทอดไปสู่ครูผู้สอนใช้ในการสร้างเด็กเก่งรุ่นใหม่

นางนิจวดีกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ สนก.ยังได้จัดค่ายจำลองการแข่งขันเวทีระดับโลกต่างๆ เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่โรงเรียน และจัดกิจกรรมให้เด็กเหล่านี้ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมที่เพิ่มเติมความสนุกสนาน ไม่สร้างความเครียดให้แก่เด็ก รวมถึงบูรณาการเรื่องศิลปะ เพื่อให้เด็กได้มีตวามคิดสร้างสรรค์ พัฒนาสมองทั้งสองข้างพร้อมกัน และบูรณาการเรื่องทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน รู้จักการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทั้งยังเป็นการให้เด็กได้เรียนรู้การใช้ชีวิตกับคนจำนวนมากด้วย นอกจากเด็กที่มาอบรมในค่ายจะได้รับสิ่งต่างๆ แล้ว ครูที่ดูแลนักเรียนก็จะได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ เพื่อนำไปปรับในการเรียนการสอนของตนเองด้วย

"แต่เป้าหมายหลักของ สพฐ. คือการที่เด็กทุกคนได้รับโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นทาง สนก.จึงจัดทำเอกสารเสริมความรู้เกี่ยวกับยุทธวิธีช่วยคิดคณิตศาสตร์ต่างๆ เพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้พัฒนาต่อไป ซึ่งเด็กจะเก่งได้ไม่เพียงแต่พรสวรรค์หรือความตั้งใจเท่านั้น แต่สิ่งที่สำคัญคือครู ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องพัฒนาครูให้เป็นมืออาชีพ ทั้งในเรื่องเทคนิคการสอนต่างๆ ในการจัดการเรียนรู้ ความแม่นยำในเนื้อหาสาระ เพื่อรองรับความหลากหลายของโจทย์ทางคณิตศาสตร์ และออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กเข้าใจได้ง่าย และสิ่งที่เราพยายามดำเนินการต่อคือการสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับโรงเรียน หากโรงเรียนมีความเข้มแข็งทางวิชาการ ผู้ที่จะได้รับผลโดยตรงคือนักเรียน" รอง ผอ.สนก.กล่าว.

 

 

ที่มา ไทยโพสต์ วันที่ 20 ก.ค.2558

โพสต์เมื่อ 20 ก.ค. 2558 อ่าน 4013 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)