โออีซีดีจัดอันดับการเรียนการสอนสายวิทย์-คณิตฯโลก เวียดนามนำไทยลิ่ว!



เป็นที่ฮือฮาอีกครั้ง สำหรับการจัดอันดับที่ใหญ่ที่สุดที่เคยจัดอันดับโรงเรียนทั่วโลกที่ได้รับการตีพิมพ์ โดยโออีซีดี หรือ หน่วยงานคลังสมองของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ได้จัดอันดับการเรียนการสอนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ทั่วโลก ยกโรงเรียนในสิงคโปร์ขึ้นแท่นอันดับหนึ่ง ขณะประเทศไทยอยู่อันดับ 47 ตามหลังเวียดนามที่อยู่ในอันดับที่ 12

 

เรื่องมีอยู่ว่า หน่วยงานคลังสมองของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว หรือโออีซีดี ได้ออกรายงานจัดอันดับคุณภาพการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของ 76 ประเทศทั่วโลก เพื่อเตรียมนำเสนอในการประชุม World Education Forum ที่เกาหลีใต้ในสัปดาห์หน้านี้ 

โออีซีดีได้เปิดเผยว่า ประเทศเอเชียครองตำแหน่งในห้าอันดับแรกของโลก โดยเรียงลำดับคือ (1) สิงคโปร์ (2) ฮ่องกง (3) เกาหลีใต้ (4) ญี่ปุ่น ครองอันดับ (4) ร่วมกับไต้หวัน ทั้งนี้ อังกฤษอยู่อันดับที่ 20 และสหรัฐฯ ที่ 28 ขณะประเทศที่รั้งท้ายประกอบด้วย (72) โอมาน (73) โมร็อกโก (74) ฮอนดูรัส (75) แอฟริกาใต้ และ (76) กานา

แอนเดรียส ชเลเชอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาขององค์การความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือโออีซีดี บอกว่า การจัดอันดับดังกล่าวเป็นผลจากการจัดสอบเด็กนักเรียนในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก โดยใช้เกณฑ์วัดประเมินเดียวกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา และเป็นครั้งแรกที่ทางองค์การจัดอันดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทั่วโลก โดยมีความตั้งใจที่ให้ประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะรวยหรือจนเปรียบเทียบประเทศของตนกับประเทศที่เป็นผู้นำทางการศึกษาของโลก เพื่อค้นพบจุดแข็งและจุดอ่อนในการศึกษาในประเทศ และนำมาคิดวางแผนระยะยาว เพื่อนำความสำเร็จทางเศรษฐกิจมาปรับปรุงคุณภาพการศึกษา

แต่ข้อมูลที่น่าสนใจคือ เมื่อพิจารณาจากอันดับของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า เวียดนามมาเป็นอันดับที่ 12 ตามด้วยประเทศไทยในอันดับที่ 47 ตามด้วยมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 52 และอินโดนีเซียอยู่อันดับที่ 69

และเมื่อดูจากการสิงคโปร์ที่ติดอันดับ 1 แสดงให้เห็นว่าการศึกษาในประเทศนี้มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก จากทศวรรษ 1960 ที่มีประชากรไม่รู้หนังสือจำนวนมาก ทุกวันนี้ถ้าเข้าไปในห้องเรียนของประเทศในเอเชียที่ติดอยู่ในอันดับต้นๆ จะพบว่าครูที่สอนมีความเข้มงวดและคาดหวัง ให้นักเรียนทุกคนประสบความสำเร็จ และ ประเทศเหล่านี้จะดึงดูดครูที่มีความสามารถให้มาสอน

โดยข้อมูลการจัดอันดับดังกล่าว แสดงผลได้ตามตารางนี้ 

Countries ranked on maths and science
 
1. Singapore
2. Hong Kong
3. South Korea
4. Japan (joint)
4. Taiwan (joint)
6. Finland
7. Estonia
8. Switzerland
9. Netherlands
10. Canada
11. Poland
12. Vietnam
13. Germany
14. Australia
15. Ireland
16. Belgium
17. New Zealand
18. Slovenia
19. Austria
20. United Kingdom
21. Czech Republic
22. Denmark
23. France
24. Latvia
25. Norway
26. Luxembourg
27. Spain
28. Italy (joint)
28. United States (joint)
30. Portugal
31. Lithuania
32. Hungary
33. Iceland
34. Russia
35. Sweden
36. Croatia
37. Slovak Republic 
38. Ukraine
39. Israel
40. Greece
41. Turkey
42. Serbia
43. Bulgaria
44. Romania
45. UAE
46. Cyprus
47. Thailand
48. Chile
49. Kazakhstan
50. Armenia
51. Iran
52. Malaysia
53. Costa Rica
54. Mexico
55. Uruguay
56. Montenegro
57. Bahrain
58. Lebanon
59. Georgia
60. Brazil
61. Jordan
62. Argentina
63. Albania
64. Tunisia
65. Macedonia
66. Saudi Arabia
67. Colombia
68. Qatar
69. Indonesia
70. Botswana
71. Peru
72. Oman
73. Morocco
74. Honduras
75. South Africa
76. Ghana

 

ซึ่งในรายงานนี้ได้แสดงให้เห็นว่าประเทศกลุ่มตะวันตกกำลังจับตาเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางด้านการศึกษาของประเทศจากเอเชีย โดยเฉพาะเวียดนามที่มีอันดับแซงขึ้นมา ในขณะที่สวีเดนมีอันดับที่ต่ำลงกว่าเดิมอย่างมาก ว่าระบบการศึกษาของประเทศเหล่านั้นกำลังอยู่ในสภาวะที่ประสบปัญหาอย่างร้ายแรง

 

Figures mapped above show estimated growth in GDP over the lifetime of pupils. The figures assume that all pupils are enrolled in schools and that they achieve at least basic skills.

 

 

- ครูบ้านนอกดอทคอม รายงาน -

- อ้างอิงข้อมูลจาก BBC NEWS -

โพสต์เมื่อ 14 พ.ค. 2558 อ่าน 56935 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1243]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)