นักการศึกษาและคณาจารย์ในเอเชีย-แปซิฟิก สนับสนุนระบบโมบิลิตี้ ในห้องเรียน



อะโดบีเปิดเผยผลการศึกษา "เรื่องการปฏิรูปการศึกษาด้วยเทคโนโลยีโมบายล์และดิจิตอล" (Transforming Education with Mobile and Digital Technology’) ระหว่างการประชุมผู้นำด้านการศึกษาของอะโดบี (Adobe Education Leadership Forum) ครั้งที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยนักการศึกษากว่า 1,000 คนจาก 13 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้ตอบแบบสอบถามสำหรับการศึกษาวิจัยดังกล่าว ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดสถานะ "การปรับใช้เทคโนโลยีโมบายล์ในห้องเรียน" รวมถึง "ความสำคัญของโมบิลิตี้ และเครื่องมือดิจิตอลในแวดวงการศึกษา"

ผลการศึกษาดังกล่าวเปิดเผยว่า แทนที่จะลังเลในการยอมรับการปรับใช้อุปกรณ์พกพาในห้องเรียน นักการศึกษากลับเชื่อมั่นว่า การใช้อุปกรณ์พกพาอย่างแพร่หลายก่อให้เกิดผลดี และมีอิทธิพลต่อรูปแบบการเรียนการสอน ขณะที่นักการศึกษากลุ่มผู้อนุรักษ์นิยมเห็นว่า อุปกรณ์พกพาในห้องเรียนจะบั่นทอนสมาธิของผู้เรียน แต่ 77% ของนักการศึกษาจากเอเชีย-แปซิฟิก และ 85% ของนักการศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่าการใช้อุปกรณ์พกพาในการเรียนการสอนจะก่อให้เกิดผลดีโดยรวม

การสนับสนุนระบบโมบิลิตี้ดังกล่าวมีเหตุผลที่เรียบง่าย กล่าวคือ 83% นักการศึกษาจากเอเชีย-แปซิฟิก และ 98% ของนักการศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกว่า การเข้าใช้เครื่องมือดิจิตอลและแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ บนอุปกรณ์พกพาจะช่วยให้เข้าใจแนวคิดและข้อมูลต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และสามารถปรับปรุงแนวคิดและข้อมูลดังกล่าวก่อนที่จะรวมไว้ในบทเรียนที่จะใช้สอนนักเรียน อย่างไรก็ตาม นักการศึกษา 89% จากเอเชีย-แปซิฟิก และ 100% จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกว่าสถาบันการศึกษาจำเป็นที่จะต้องดำเนินการบางอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์พกพาได้

นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังเน้นย้ำถึงอุปสรรคที่ขัดขวางการปรับใช้เทคโนโลยีโมบายล์ในสถาบันการศึกษา ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นักการศึกษารู้สึกว่าการจัดสรรงบประมาณ (39%) และปัญหาในการบูรณาการระบบโมบิลิตี้เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ (27%) เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการปรับใช้เทคโนโลยีโมบายล์ในสถาบันการศึกษา

"เวย์น เวส" ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจด้านการศึกษาของอะโดบี ซิสเต็มส์ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษานี้ โดยระบุว่า “ความสามารถในการแสดงผล หรือผสานประสบการณ์การเรียนรู้แบบอินเทอร์แอคทีฟในห้องเรียนผ่านทางอุปกรณ์พกพาจะช่วยสร้างความแตกต่างอย่างมากใน "ผลของการเรียนรู้"

"โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กรุ่นใหม่ ผลการศึกษาของเราชี้ว่า ปัญหาท้าทายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็คือ การขาดการสนับสนุนการปรับใช้เทคโนโลยีโมบายล์อให้กว้างขวางมากขึ้น นักการศึกษาและสถาบันการศึกษาจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยจะต้องเสริมสร้างศักยภาพให้แก่นักเรียนในการใช้งานดิจิตอลคอนเทนต์อย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ดิจิตอลด้วยเช่นกัน"

ผลการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก

· นักการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลีใต้ (85% ทั้งคู่) เชื่อมั่นในผลดีของเทคโนโลยีโมบิลิตี้สำหรับการศึกษา มากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้  ในทางตรงกันข้าม นักการศึกษาในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ) (69%) ไม่ค่อยเชื่อมั่นใจผลดีของการใช้อุปกรณ์พกพาในการเรียนการสอน

· โดยรวมแล้ว นักการศึกษาส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ (83%) เชื่อมั่นในศักยภาพของเครื่องมือดิจิตอลและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้อาจารย์และนักเรียนนักศึกษาเพลิดเพลินกับการเรียนการสอน โดยนักการศึกษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (98%) และจีน (90%) มีความเชื่อมั่นในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

· นักการศึกษาทั้งหมดทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเชื่อว่า สถาบันการศึกษาควรสนับสนุนนักเรียนนักศึกษาอย่างเต็มที่ ด้วยการจัดหาเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการศึกษาดิจิตอล เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับยุคดิจิตอลคอนเทนต์ (89%)
 



ภาพประกอบจาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

 

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 30 มีนาคม 2558

 

โพสต์เมื่อ 31 มี.ค. 2558 อ่าน 4545 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)