ทำความเข้าใจ กรณี ไม่มีใบอนุญาตฯ ก็สมัครสอบบรรจุครูได้



ขอบคุณข้อมูลจากเพจของ 
Mask No Real Somkamol
 

ข่าวจากสื่อร้อนๆ ทั้งสิ่งพิมพ์และโลกออนไลน์ตอนนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง “ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพก็สมัครสอบบรรจุได้” นะคะ
ระหว่างที่เรากำลังรอประกาศคำอธิบายอย่างเป็นทางการจากทางคุรุสภา เรามาทำความเข้าใจกันอีกซักรอบนะคะ
คุณวุฒิที่เป็นหลักสูตรทางการศึกษา คือ ครุศาสตร์ (คบ.) / ศึกษาศาสตร์ (ศษ.บ.) / กศ.บ. / คอ.บ. หรือ หลักสูตรที่มีเป้าหมายผลิตบัณฑิตเพื่อเป็นครู
นอกเหนือจากนี้ เรียกว่า ป.ตรีอื่น

เอกสารการแสดงตนในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจากคุรุสภา มี 4 เอกสาร (อ่านรายละเอียดตามภาพ และมีคลิกถัดไปมีตัวอย่างและวิธีการได้มาให้ค่ะ) = คือ 2 ใบ 2 หนังสือ

1. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ = ผู้มีใบนี้ คือ มีคุณสมบัติครบในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา โดยกลุ่มหลักที่สามารถขึ้นทะเบียนได้เลย คือ ผู้เรียนหลักสูตรทางการศึกษาที่คุรุสภารับรองและจัดการเรียนสมบูรณ์ตามที่ขอรับรอง ( หลักสูตรปีการศึกษา 2557 ขึ้นไป เริ่มสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ)
2. ใบอนุญาตปฏิบัติการสอน = ผู้มีมาตรฐานความรู้ ทั้งจาก 9 มาตรฐาน หรือเรียนหลักสูตรที่ได้รับใบนี้ แต่ยังขาดประสบการณ์สอน ผู้มีใบนี้ สามารถสมัครสอบบรรจุได้ สามารถสมัครงานเป็นครูได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แสดงใบนี้ได้เลย เมื่อสอนครบ 1 ปี นำใบนี้ พร้อมประเมินการสอนที่ผ่านมา 1 ปี นั้น มาขึ้นทะเบียนใบอนุยาตประกอบวิชาชีพ
3. หนังสือรับรองสิทธิ = หนังสือนี้ ผู้ขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะได้รับทันที เมื่อมาขึ้นทะเบียน เพื่อเป็นหลักฐานในการขึ้นทะเบียน และอยู่ระหว่างรออนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ที่ผ่านมา ก.ค.ศ. ไม่อนุญาตให้ใช้สมัครสอบบรรจุ
4. หนังสือขออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ = หนังสือนี้ โรงเรียนจะเป็นผู้ขออนุญาตให้บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญตามที่โรงเรียนต้องการ แต่ไม่มีเอกสารแสดงตนใดๆ ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา มาทำการสอนในโรงเรียนได้

กลุ่มนี้ หากต้องการเป็นครู ก็จะต้องไปทำคุณสมบัติเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเรียน ป.ตรีทางการศึกษาใหม่ หรือการ ป.บัณฑิต ตามที่หน่วยงานต้นสังกัดทำโครงการให้ ฯ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร

เอกสารฉบับนี้ที่ผ่านมาไม่เคยมีการนำไปใช้สมัครสอบบรรจุได้ เพราะ แม้จะสมัครสอบได้ แต่ระยะเวลาในการเรียกบรรจุ จะไม่สามารถทำคุณสมบัติเพื่อขึ้นทะเบียนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครุได้ทัน

เพราะกลุ่มนี้ เมื่อแรกเข้า ไม่มีคุณสมบัติในการขึ้นทะเบียน และเป็นกลุ่ม ป.ตรีอื่นเป็นส่วนใหญ่

สำหรับกรณีที่เป็นข่าว เริ่มต้นและหลักการเป็นของครูในสังกัด สอศ. ใน 86 สาขา ที่ สอศ. ร้องขอเป็นวิชาเอกขาดแคลนและไม่มีเปิดสอนในหลักสูตรทางการศึกษา

ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้ว หากพิจารณาเส้นทางการเป็นครูของ สอศ. จะพบว่า ในชั้นแรกจะต้องเป็นครูจ้างของ สอศ. ก่อน จึงจะได้รับสิทธิในการสอบบรรจุ
และในการสมัครสอบเป็นครูจ้างนั้น เมื่อสอบได้แล้ว สอศ. จึงทำเรื่องขออนุญาตให้ครูกลุ่มนี้ทำการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ แล้วตั้งโครงการเรียน ป.บัณฑิตให้คุณครูกลุ่มนี้ได้เลย

เพราะอำนาจหน้าที่ คือ

สอศ. ในฐานะหน่วยผู้ใช้ครู ทำความตกลงเรื่องการรับสมัครครู กับ ก.ค.ศ. ได้เลย

ส่วนคุรุสภา จะดูแลเฉพาะ เรื่องที่เกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เท่านั้น

 

ครูบ้านนอกดอทคอม ขออนุญาตนำเสนอข้อมูลนี้เพื่อให้ท่านได้ศึกษาและทำความเข้าใจให้ละเอียดถี่ถ้วนนะครับ เพราะการฟังไปพูดมา อาจเกิดข้อขยายที่ทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากหลักการและเหตุผลเดิมได้ครับ

 

โพสต์เมื่อ 18 พ.ย. 2557 อ่าน 51839 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)