คู่มือการใช้สื่อบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การใช้โปรแกรม Paint ผลงานครูจารึก อัตตะชีวะ



 

 

ติดต่อเจ้าของผลงานได้ที่
jarruka@gmail.com

 

ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการใช้โปรแกรม Paint

โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ปีที่ 4

ผู้รายงาน นายจารึก อัตตะชีวะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

ปีการศึกษา 2555



บทคัดย่อ


การรายงานผลการใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการใช้โปรแกรม Paint โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการใช้โปรแกรม Paint โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การใช้โปรแกรม Paint โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการใช้โปรแกรม Paint โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนชุมชนบ้านคลองลาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) บทเรียน บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการใช้โปรแกรม Paint โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการใช้โปรแกรม Paint 3) แบบประเมินความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)

ผลการศึกษา พบว่า บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการใช้โปรแกรม Paint โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 81.77 /83.55 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 นักเรียนที่เรียนจากบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องการใช้โปรแกรม Paint โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 การประเมินความพึงพอใจนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การใช้โปรแกรม Paint โดยใช้รูปแบบ การเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ STAD พบว่าระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย (x̄) เท่ากับ 4.60 และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.53


โพสต์เมื่อ 11 ก.ย. 2557 อ่าน 10077 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านวังประดา จังหวัดกำแพงเพชร : นันทินี ขวัญมา [อ่าน 170]
การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สังกัด สพม.มหาสารคาม : อิสราพร สุขประเสริฐ [อ่าน 137]
งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกในการสนทนาภาษาอังกฤษของผู้เรียน โดยใช้วิธีการ แสดงบทบาทสมมติของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองกระทุ่ม จังหวัดอุทัยธานี : จารุวรรณ วงษ์เกษกรณ์ [อ่าน 190]
รายงานผลการวิจัย ผลการใช้แบบฝึกภาษาไทยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดสตูล : กัญญภา วงค์สุวรรณ [อ่าน 197]
คู่มือ การประเมินโครงการครอบครัวพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน โดยใช้รูปแบบ CIPPiest (CIPPiest Model) โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย : พุทธิภา เหล็กคงสันเทียะ [อ่าน 183]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)