จะขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อย่างไร



ตามที่พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 กาหนดไว้ว่า วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพควบคุมห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และควบคุมเฉพาะการจัด การเรียนการสอนในสถานศึกษาปฐมวัย (อนุบาล) ขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาะมัธยมศึกษา) และอุดมศึกษาที่ต่ากว่าปริญญา (ปวช, ปวส.) เท่านั้น แล้วการจะขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

คุณสมบัติตามที่กฎหมายกาหนด คือ 1) อายุไม่ต่ากว่า 20 ปี บริบูรณ์ 2) มีวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง 3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ คณะกรรมการคุรุสภากาหนด 4) ต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี 5) ต้องไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ และ 6) ต้องไม่เคยต้องโทษจาคุกในคดีที่ คุรุสภาเห็นว่าอาจนามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

ผู้ที่สามารถจะขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูทางหลักและเป็นช่องทางตามมาตรฐานที่เหมาะสมที่สุด คือ ผู้ที่สาเร็จการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาหลักสูตร 5 ปี จากสถาบันอุดมศึกษาที่คุรุสภาให้การรับรองปริญญาทางการศึกษานั้น ไม่ว่าจะสาขาหรือวิชาเอกใดก็ตามที่คุรุสภาให้การรับรองแล้ว สามารถนามาขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ เพราะคุรุสภาประเมินมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิตที่สาเร็จการศึกษาแล้วว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่คุรุสภากาหนดไว้ ซึ่งหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาที่คุรุสภาให้การรับรองจะต้องรวมประสบการณ์ในการปฏิบัติการสอนของนักศึกษาไว้ อย่างน้อย 1 ปี (1 ปีการศึกษา) ซึ่งเป็น คุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ตามหลักสูตร จะต้องเรียน 5 ปี ซึ่งต่างจากปริญญาตรีอื่น ที่เรียน 4 ปี

ผู้ที่สาเร็จการศึกษาในสาขาอื่นๆ เก่งเป็นที่ยอมรับด้วย เช่น แพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก พยาบาล แล้วอยากเป็นครูบ้าง คุรุสภากีดกันไม่ให้มาเป็นครู คงต้องตอบว่าไม่ใช่ แต่หลักการสาคัญ คือ ทาอย่างไรให้คนคนนั้นมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู คือ มีความรู้วิชาชีพครูและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติการสอนไม่น้อยกว่า 1 ปี ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันของการเข้าสู่วิชาชีพครู แม้ว่าวิธีการเข้าสู่วิชาชีพครูอาจจะแตกต่างกันไป ดังนี้

แนวทางที่ 1 การศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูที่คุรุสภารับรอง ซึ่งเดิมกาหนดให้เป็นแนวทางหลักแนวทางหนึ่งสาหรับผู้ที่จบสาขาวิชาอื่นมาแล้วต้องการเป็นครู สามารถศึกษาต่อยอดตามหลักสูตรดังกล่าว โดยจะศึกษาเฉพาะวิชาชีพครูตามมาตรฐานและปฏิบัติการสอนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี สาเร็จการศึกษาแล้วสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ปัจจุบัน คุรุสภาให้การรับรองเฉพาะของสถาบันที่เปิดสอนให้กับครูของ หน่วยงานต้นสังกัดที่มีผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ยังไม่มีคุณวุฒิปริญญาทางการศึกษา

แนวทางที่ 2 การขอรับรองความรู้วิชาชีพครูตามมาตรฐานวิชาชีพ คุรุสภากาหนดให้มี 3 วิธี คือ การเทียบโอน (คือ การนาเอาความรู้ตามหลักสูตรไม่ต่ากว่าปริญญาตรี โดยดูจากคาอธิบายรายวิชามาเทียบกับสาระความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพครู) การทดสอบ (คือ การสอบความรู้วิชาชีพครูตามมาตรฐาน โดยใช้แบบทดสอบที่คุรุสภากาหนด) และการฝึกอบรม (คือ การจัดอบรมเนื้อหาวิชาชีพครู 9 มาตรฐาน) ซึ่งสามารถใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีรวมกันให้ผ่านการรับรองความรู้ ผู้ผ่านการรับรองความรู้ครบ 9 มาตรฐานแล้ว สามารถขอรับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงคุณสมบัติของผู้ถือว่ามีมาตรฐานความรู้วิชาชีพครูแต่ยังขาดประสบการณ์การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ากว่าปริญญาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี คุรุสภาให้มีสิทธิในการเป็นครูโดยอยู่ในความควบคุมของผู้บริหารสถานศึกษาได้ เมื่อประกอบวิชาชีพครูต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการประเมินของสถานศึกษาแล้ว สามารถนาแบบประเมินพร้อมใบอนุญาตปฏิบัติการสอน มาขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ ปัจจุบัน คุรุสภายกเลิกการฝึกอบรมแล้ว คงเหลือแต่การเทียบโอน และการทดสอบ
แนวทางที่ 3 การขอรับรองคุณวุฒิ ตามที่กฎหมายมาตรา 44 กาหนดว่าเป็นคุณวุฒิปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง คุรุสภาจึงกาหนดให้ผู้ต้องการประกอบวิชาชีพครูสามารถขอรับรองคุณวุฒิได้ตามประกาศหลักเกณฑ์ที่คุรุสภากาหนด โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นคุณวุฒิที่เป็นความต้องการของผู้ใช้ โดยให้หน่วยงานผู้ใช้ระบุเหตุผลความจาเป็น พร้อมกับผู้นั้นต้องมีประสบการณ์ที่เป็นที่ยอมรับและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวิชาชีพครูด้วย

ตามแนวทางที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นว่ามีหลายช่องทางที่ผู้มีคุณวุฒิอื่นสามารถเข้าสู่วิชาชีพครูได้ แต่จะเป็นคนละเรื่องกับการเข้าสู่ ตาแหน่งครูหรือการสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู คุรุสภาอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพครูได้ภายใต้เงื่อนไขที่กาหนดในแต่ละช่องทาง แต่การเข้าสู่ตาแหน่งเป็นเรื่องของหน่วยงานผู้ใช้หรือหน่วยงานต้นสังกัด เช่น ในการสอบบรรจุหน่วยงานต้นสังกัดให้ใช้ใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพครู หรือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน เป็นหลักฐานในการสมัครสอบ ผู้ที่จะสมัครสอบก็ต้องมีหลักฐานตามเงื่อนไขของหน่วยงาน โดยคุรุสภามิได้ปิดกั้นผู้มีความรู้ ความสามารถเข้าสู่วิชาชีพครู แต่ในทางตรงกันข้าม เราหาวิธีการให้เข้าสู่วิชาชีพครูได้ภายใต้ หลักการการมีมาตรฐานวิชาชีพ

สาหรับอีกแนวทางหนึ่งของผู้ที่ยังไม่มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแต่สถานศึกษามีความจาเป็นต้องรับเข้าสอน สถานศึกษาจะต้องทาหนังสือขออนุญาตจากคุรุสภา โดยแจ้งเหตุผล ความจาเป็นประกอบการพิจารณาอนุญาต คุรุสภาจะพิจารณาตามเหตุผลความจาเป็น ความเหมาะสม ในเรื่องคุณวุฒิ วิชาที่รับผิดชอบสอน และจะสอนได้เฉพาะในสถานศึกษาที่เป็นผู้ขออนุญาตให้เท่านั้น โดยอนุญาตให้เป็นเวลา 2 ปี เพื่อไปพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ แต่สถานศึกษาก็จะต้องช่วยกันพิจารณาขอเท่าที่จาเป็น เพราะยังมีผู้ที่ได้รับ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูแล้วแต่ยังไม่ได้เป็นครูอยู่เป็น จานวนมาก จึงขอความร่วมมือให้พิจารณารับครูจากผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภาแล้ว

คุรุสภา :สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา Call Center : 0-2304-9899
www.ksp.or.th

โพสต์เมื่อ 14 ก.พ. 2556 อ่าน 68482 | 0 ความเห็น

·····

เรื่องอื่นๆ


จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบบุคลากร และงบดำเนินงาน เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างพนักงานราชการ (ครั้งที่ 1) [อ่าน 1413]
ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 6450 การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ้างอัตราจ้างครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ครั้งที่ 1 [อ่าน 879]
แนวทางการดำเนินการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ [อ่าน 1244]
สพฐ.ข้อมูลเพื่อการบริหารงานบุคคลตำแหน่ง ผอ. สพท. [อ่าน 1493]
ซักซ้อมการย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สพฐ. [อ่าน 3711]

·····

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)