การบรรยายพิเศษ "ประเทศไทยกับการก้าวไกลทางการศึกษา" โดย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศธ.

วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการบรรยายพิเศษ เรื่อง "ประเทศไทยกับการก้าวไกลทางการศึกษา" ในการประชุมวิชาการเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลาง เพื่อการพัฒนาบัณฑิตอุดมศึกษา ประจำปี 2559 เมื่อวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2559 ณ ห้องประชุมมงกุฎเกล้าเวช ในโอกาสครบรอบ 53 ปี การก่อตั้งวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก และคณะกรรมการประสานภารกิจเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลาง โดยมี พล.ท.ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์ เจ้ากรมแพทย์ทหารบก และ พล.ต.หญิง วัฒนา อิ่มเงิน ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ให้การต้อนรับและร่วมการประชุม

 

 

ต้องยอมรับปัญหาและข้อเท็จจริง เพื่อนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน

รมว.ศึกษาธิการ บรรยายตอนหนึ่งว่า การพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ Thailand 4.0 นั้น สิ่งสำคัญคือเราทุกคนจำเป็นต้องหาปัญหาให้ลึกและชัดเจน ยอมรับข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้น มิฉะนั้นจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ เพราะเราจะไม่รู้ตัวเองว่าอยู่ตรงไหนที่จะก้าวต่อไป ซึ่งในการบริหารงานกระทรวงศึกษาธิการก็เช่นเดียวกัน ก่อนที่จะดำเนินการในเรื่องใดๆ ก็ตาม จำเป็นจะต้องให้ผู้คนทั้งกระทรวงเห็นสอดคล้องยอมรับกันก่อนที่จะดำเนินการเรื่องใดๆ ออกไป มิฉะนั้นจะเกิดการต่อต้าน

แนะหลักแก้ปัญหาในสภาวะวิกฤต

ทั้งนี้ หลักการแก้ปัญหาในสภาวะวิกฤต มี ด้าน คือ ระการแรก ต้องสร้างให้คนในองค์กรรับทราบข้อเท็จจริงในสภาวะวิกฤตนั้นๆ ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการต่อต้านเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องใดๆ ประการที่สอง การทำงานในสภาวะวิกฤติ การสั่งงาน การหาข้อมูล ต้องลงลึกและลงไปหาผู้ปฏิบัติเพื่อเก็บข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ลึกจริงและถูกต้องที่จะนำมาแก้ไขปัญหา ซึ่งทำให้เรารับทราบข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เป็นประเด็นปัญหาของการศึกษาไทย

ต้องยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นของการศึกษาไทย

 จากนั้นจึงนำมากำหนดเป็น ยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้, การผลิตและพัฒนาครู, การผลิตและพัฒนากำลังคนและงานวิจัย, การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา, ICT เพื่อการศึกษา และการบริหารจัดการ รวมทั้ง 32 ประเด็นเร่งด่วนของปัญหา แล้วจึงนำปัญหาต่างๆ ทั้งหมดมาคลี่ออกเพื่อแก้ไขให้ตรงจุด หารายละเอียดของปัญหานั้นๆ ให้เจอ โดยนำหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคเข้ามาช่วยแก้ปัญหา

 ดังนั้นหากโครงการใดที่ตอบโจทย์ "มรรค" คือ ได้กำหนดให้เห็นชัดเจนถึงแนวปฏิบัติที่นำไปสู่การแก้ไขประเด็นปัญหา ก็ส่งผลให้สามารถดำเนินการตามนโยบายต่างๆ ภายใต้งบประมาณ 5 แสนกว่าล้านบาทของกระทรวงศึกษาธิการ

แนะให้ครูซึ่งเป็น Immigrant Digital ต้องเข้าใจเด็กปัจจุบันในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็น Native Digital

นอกจากประเด็นปัญหาของการศึกษาไทย (ตามภาพข้างต้น) แล้ว ในการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนเมื่อเร็วๆ นี้ ก็เห็นพ้องกันว่า สภาพแวดล้อมทางการศึกษาของอาเซียนในปัจจุบัน "ห้องเรียน" ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19,ส่วน "ครูผู้สอน" ผลิตมาจากหลักสูตรที่ใช้สำหรับการสอนในศตวรรษที่ 20 ในขณะที่ "นักเรียน" ยุคปัจจุบัน ต้องมีทักษะสำหรับการทำงานและการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเด็กเหล่านี้ถือเป็น Native Digital ส่วนครูที่เป็น Immigrant Digital ก็จึงจำเป็นต้องถือสมาร์ทโฟนไปพร้อมกับเด็กได้ด้วย

 ดังนั้น เราจำเป็นต้องยอมรับสภาพและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และคำนึงว่าเรายังคงมีปัญหาต่างๆ ในการจัดการศึกษาของประเทศหลายด้าน เช่น ประชาชนและนักเรียนไทยยังคงใช้ภาษาอังกฤษไม่เก่ง หรือนักเรียนมีเวลาเรียนชั่วโมงเรียนต่อปีสูงเป็นอันดับต้นของโลก เป็นต้น

เตรียมเกลี่ยอัตรากำลังครูทั้งประเทศ ในเดือนตุลาคมนี้

อีกประเด็นปัญหาที่สำคัญ คือ ภาพรวมอัตรากำลังครู ซึ่งขณะนี้อัตราครู สพป.ทั้งประเทศเกินอัตรากำลังถึง 8,963 อัตรา ส่วนครู สพม. และครูการศึกษาพิเศษทั่วประเทศ กลับขาดอัตรากำลังถึง 8,644 อัตรา และ 5,529 อัตราตามลำดับ ซึ่งการแก้ไขปัญหาโดยการเกลี่ยอัตรากำลังครู ไม่ง่ายเท่ากับวงการทหารที่จะออกคำสั่งย้ายได้โดยเร็ว เพราะในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบต่างๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะกฎระเบียบที่ ก.ค.ศ. กำหนด อีกทั้งการบริหารจัดการที่จะต้องคำนึงถึงสภาพของโรงเรียนขนาดเล็กด้วย เพราะปัจจุบันเรามีโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก ในจำนวนนี้เป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 20 คน จำนวน 1,072 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนที่มีนักเรียน คน จำนวน 207 แห่ง, นักเรียน คน 8 แห่ง, นักเรียน คน 20 แห่ง

 กรณีนี้ทำให้เราเสียอัตรารักษาการผู้บริหารโรงเรียนและครู ซึ่งกฎระเบียบระบุว่าโรงเรียนที่ไม่มีนักเรียนทั้ง 207 โรง จึงสามารถยุบโรงเรียนได้หลังจาก ปีการศึกษาไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม เป็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการ หลังจากเดือนตุลาคมนี้ จะดำเนินการเกลี่ยอัตรากำลังครูทั้งประเทศ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาให้โรงเรียนที่ขาดแคลน หากโรงเรียนใดขาดนักการภารโรง ก็จะได้นักการภารโรง หรือโรงเรียนใดที่มีครูธุรการเกิน ก็จะเกลี่ยออกไปให้โรงเรียนอื่นที่ขาดแคลน

แนวทางขับเคลื่อนการศึกษาไทยสำหรับ Thailand 4.0

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวถึงการขับเคลื่อนบริบทคนไทยไปสู่ยุค Thailand 4.0 ซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลว่า หากย้อนมองไปในอดีต ยุค 1.0 คือการเกษตรกรรม, 2.0 คืออุตสาหกรรมเบา, 3.0 คืออุตสาหกรรมหนัก, 4.0 คือนวัตกรรม ดังนั้น การขับเคลื่อนบริบทของภาครัฐเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 ทุกกระทรวงจำเป็นต้องรู้ตัวเองว่าทำไมต้องเปลี่ยนแปลง (Change) และปรับตัว

 ภาคการศึกษาก็เช่นเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการต้องมีแนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อรองรับการเป็น Thailand 4.0 ที่ชัดเจน โดยเริ่มจาก สพฐ./สช. ต้องสร้าง School 4.0 ตั้งแต่อนุบาล 1-ม.6, สกอ.ต้องสร้าง University 4.0ตั้งแต่ปริญญาตรี-ปริญญาเอก, สอศ. ต้องสร้าง Vocation 4.0 ในระดับ ปวช.-ปวส., กศน. ก็ต้องช่วยพัฒนานวัตกรรมและทักษะอาชีพให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน กศน.ด้วย

นอกจากนี้ หน่วยงานในสังกัดต้องคำนึงถึง ประเด็นปฏิรูปเร่งด่วน คือ 1) โครงสร้างการบริหารและงบประมาณ 2) การบริหารงานบุคคล 3) ระบบสารสนเทศ ซึ่งทั้งสามด้านจะนำไปสู่ 4) คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ด้วยความมีธรรมาภิบาล

 ย้ำถึงพันธสัญญาของกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องดำเนินการในเวลาที่กำหนด

รมว.ศึกษาธิการ ได้กล่าวถึงพันธสัญญา (Commitment)ของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่ประกาศไว้ 11 ข้อ คือ

1. ภายใน 1 ปี : ให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาและคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน 
2. ภายใน 5 ปี : ส่งเสริมให้ครูใช้ศักยภาพในการสอนอย่างเต็มที่
3. ภายใน 1 ปี : จะทำครูให้ครบตามเกณฑ์ 
   ภายใน 2 ปี : จะทำครูให้มีครูประจำชั้นครบทุกห้อง 
   ภายใน 5-10 ปี : จะทำให้ครูตรงสาขา 
4. ภายใน 2 ปี : จะทำให้เด็กเรียนท่องจำ ในสิ่งที่ควรจำ และนำสิ่งที่จำไปฝึกคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ครบทุกโรงเรียน 
5. ภายใน 5 ปี : จะทำให้มีการเรียนการสอน STEM Education (Science Technology Engineering and Mathematics) ครบทุกโรงเรียน 
6. ภายใน 3 ปี : ยกระดับภาษาอังกฤษให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ 
7. ภายในปี 2560 : ปรับระบบการสอบ O-NET ให้เป็นที่ยอมรับ และสะท้อนถึงคุณภาพของการจัดการศึกษา 
8. ภายใน 10 ปี : จะผลิตกำลังคน ให้ตรงกับความต้องการของประเทศ 
9. ผลิตคนดีออกสู่สังคม 
10. ภายในปี 2560 : ซ่อมบ้านพักครูให้แล้วเสร็จทั้งหมด 
11. การแก้ปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ

ติดตามอ่านรายละเอียดประเด็นดังกล่าวเพิ่มเติมที่ ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 324/2559

 เผยคุณลักษณะครูที่อยากเห็นในศตวรรษที่ 21

 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวเพิ่มเติมถึงคุณลักษณะครูที่อยากเห็นในศตวรรษที่ 21 ว่าควรมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ - มีจิตวิญญาณความเป็นครู หรือมุ่งมั่นที่จะทำให้ศิษย์เป็นคนดีมีความรู้ - บุคลิกภาพดี - มีความรู้ รู้เรื่อง Key ที่สอน - เทคนิคการสอนดี - มีทักษะการพูด - ถ่ายทอดเข้าใจง่าย - มีความรู้ความชำนาญด้าน ICT

ดังนั้น หากครูได้พัฒนาตนเองหรือได้รับการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลถึงคุณภาพการศึกษา

 

หลากหลายแนวทางของ ศธ.ในการแก้ข้อกล่าวหาว่า "ครูไม่เก่ง"

อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการก็มีแนวทางสำคัญที่จะช่วยแก้ข้อกล่าวหาที่ว่า "ครูไม่เก่ง" ในหลายด้าน เช่น ดำเนินโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยคัดเลือกนักเรียนเกรดไม่ต่ำกว่า 3.0 เข้าร่วมโครงการ แต่ในปีแรกจะเริ่มจากการบรรจุเป็นครูเข้าร่วมโครงการจำนวน 4,079 อัตรา จากจำนวนผู้สมัครทั้งสิ้น 39,400 คน ในวันที่ 25 ตุลาคม 2559 ซึ่งจากข้อมูลการเปิดรับสมัครพบว่า สพม.33 (สุรินทร์) เปิดรับสมัครครูมากที่สุด 41 อัตรา และเป็นจังหวัดที่มียอดผู้สมัครสอบสูงที่สุดถึง 757 คน ส่วนเขตที่มีผู้สมัครน้อยที่สุดคือ สพม.(สิงห์บุรี) มีจำนวนผู้สมัคร 12 คน ทั้งนี้ โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ถือเป็นโครงการที่จะช่วยผลิตครูที่มีคุณภาพโดยใช้งบประมาณน้อยมาก 10 ปี เฉลี่ยปีละ 500 ล้านบาท แต่ได้ครูที่มีคุณภาพเข้าในระบบเฉลี่ยปีละ 4,000 คน

นอกจากนี้ จะมีการทดสอบความรู้ครู เพื่อจัดสอบวัดมาตรฐานความรู้ตามรายวิชาที่สอน โดยดูจากผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน คือนำผลการทดสอบและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนมาเป็นตัวกำหนดว่าครูท่านใดจะต้องอบรมในสาระใดบ้าง และการอบรมเพื่อพัฒนาครูในปีงบประมาณหน้า จะเน้นให้มีการพัฒนาในจังหวัดมากขึ้น โดยให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดดำเนินการ ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่ครูควรได้รับการพัฒนา และมีการประเมินความรู้ครูก่อนว่าควรเข้ารับการอบรมในเรื่องใด

ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการศึกษา (Super Board) ครั้งที่ 1/2559 นายกรัฐมนตรีได้ขอให้พิจารณาการผลิตครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าครูที่จบการศึกษาจากวิทยาลัยครูในอดีต ถือว่าเป็นครูที่มีคุณภาพ ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการควรมีแนวทางดำเนินการให้ครูที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏในปัจจุบัน กลับมามีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับแบบในอดีตได้ และให้มีคุณภาพในการผลิตครูระบบเปิดให้ใกล้เคียงกับระบบปิด ดังนั้นจะมีการหารือกับสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครูทั้ง 98 แห่งในเร็วๆ นี้ต่อไป

ในขณะเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการได้มีการวางแผนอัตรากำลังครูล่วงหน้า 10 ปี (.ศ.2559-2568) ไว้แล้วเพื่อทดแทนจำนวนครูที่เกษียณอายุราชการจำนวน 223,301 อัตรา รวมทั้งนำข้อมูลความต้องการของหน่วยงานต่างๆ มาประกอบการพิจารณาการผลิตด้วย เช่น อาชีวะ ต้องการครูภาษาอังกฤษมากที่สุด ในขณะที่ สพฐ. ขาดแคลนครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จำนวนมาก

นอกจากการผลิตและพัฒนาครูแล้ว จะมีการแก้ไขปัญหาระบบนิเทศ เพราะปัจจุบันศึกษานิเทศก์ยังไม่ได้รับการยอมรับจากครูมากนัก เพราะคุณสมบัติปัจจุบันกำหนดว่าครูที่มีอายุราชการ ปีก็สอบเป็นศึกษานิเทศก์ได้ ทำให้ไม่มีประสบการณ์ ไม่ได้รับการยอมรับจากครูเท่าที่ควร ดังนั้นต่อไปจะกำหนดคุณสมบัติของศึกษานิเทศก์โดยให้ครูมีคุณสมบัติด้านการสอนอย่างน้อย 10 ปี และจะสร้างความก้าวหน้าในอาชีพ เพื่อให้การนิเทศมีบทบาทสำคัญต่อคุณภาพการเรียนการสอนในโรงเรียน

 

อีกประเด็นที่ได้ดำเนินการ คือ การใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาลงไปช่วยพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ที่รับผิดชอบจำนวน 10,947 โรงทั่วประเทศ

โครงการคืนครูผู้ทรงคุณค่าแห่งแผ่นดิน ก็เป็นอีกโครงการที่จะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2559 โดยหลักการคือสรรหาครูที่เกษียณอายุราชการและมีจิตอาสาเข้าร่วมโครงการเข้ามาช่วยสอน จำนวน 1,097 คน ส่วนปี 2560 จะอนุมัติงบประมาณให้เพิ่มเติมอีก 5,400 คน

นอกจากนี้ มีแนวทางที่สำคัญอีกหลายเรื่อง เช่น การเลื่อนวิทยฐานะครูให้เป็นเรื่องเดียวกับการพัฒนาครู การวิจัยในโรงเรียนและมีความสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน, การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษาที่กำลังพิจารณาให้มีความเหมาะสมทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ และประสบการณ์ จะไม่เน้นการสอบเป็นหลัก, การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู, การซ่อมบ้านพักครู 12,928 หลังให้เสร็จสิ้นในปีงบประมาณนี้, การแก้ไขปัญหาการประเมิน โดยปรับระบบการทดสอบ O-NET ให้เน้นการคิดวิเคราะห์ เป็นที่ยอมรับ และสะท้อนถึงคุณภาพของการจัดการศึกษา เป็นต้น

 

 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า นอกจาก ยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการข้างต้นแล้ว มีอีกหลายประเด็นสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญดำเนินการในเวลานี้ เช่น การแก้ปัญหาเด็กไทยไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาและเด็กตกหล่น, การดูแลเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (เด็กมีความสามารถพิเศษ) เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสที่มีอยู่กว่า 341,000 คน โดยจะจัดการศึกษาในโรงเรียนเฉพาะ 48 แห่งสำหรับเด็ก 15,000 คน ในศูนย์การเรียน 77 แห่งสำหรับเด็ก 26,000 คน และเด็กเรียนร่วมอีกประมาณ300,000 คน, การแก้ปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบในกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2560-2574) ที่จะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายนนี้


 บัลลังก์ โรหิตเสถียร : สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ
19/8/2559

 

 

ขอบคุณที่มาภาพและเนื้อหาจาก กระทรวงศึกษาธิการ 19 ส.ค.2559

โพสต์เมื่อ 22 ส.ค. 2559 อ่าน 11,715 ครั้ง

จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)

ดูในหน้าเว็บปกติ