1.การเนา
การเนาเป็นวิธีการเบื้องต้นของการเย็บผ้าก่อนที่จะสอย หรือเย็บตะเข็บอื่น ๆ เพื่อยึดผ้าให้ติดกันชั่วคราว และเป็นเครื่องหมาย สำหรับการเย็บในขั้นตอนต่อไป ทำให้เย็บได้ง่าย เมื่อเย็บผ้าเสร็จแล้ว ก็จะเลาะด้ายที่เนาออก วิธีการเนาให้แทงเข็มขั้นลงธรรมดาตามแนวผ้าที่ต้องการเย็บ ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ตะเข็บเนาเท่า ลักษณะฝีเข็มจะเท่ากันตลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยแต่ละฝีเข็มจะถี่และห่างสลับกันประมาณ ¼ นิ้ว หรือ ½ นิ้ว
1.2ตะเข็บเนาไม่เท่า ลักษณะฝีเข็มจะถี่และห่างสลับกัน โดยฝีเข็มห่างอยู่ด้านหน้าและมีความยาวประมาณ ¼ นิ้ว ฝีเข็มถี่อยู่ด้านหลัง ซึ่งมีความยาวประมาณ ½ นิ้ว ฝีเข็มห่างช่วยให้เห็นแนวยาวที่ง่ายต่อการเย็บ ส่วนฝีเข็มถี่จะช่วยตรึงผ้าให้แน่น
2.การด้น
การด้นเป็นตะเข็บที่คงทนมีระยะฝีเข็มถี่สามารถใช้แทนตะเข็บที่เย็บได้ มี 2 แบบ คือ
ด้นตะลุย เรียก อีกอย่างหนึ่งว่า ด้นปล่อย มีลักษณะฝีเข็มเหมือน กับตะเข็บเนาเท่าแต่มีระยะถี่กว่าประมาณ 5 ฝีเข็มต่อ 1 นิ้ว สำหรับ ผ้าบางหรือผ้าที่ค่อนข้างนิ่มสามารถแทงเข็มขึ้นลง 3 – 4 ครั้ง ติดต่อกันถึงค่อยดึงเข็มขึ้นครั้งหนึ่ง เหมาะสำหรับการเย็บตกแต่ง หรือทำจีบรูด
การด้นอีกแบบหนึ่งเรียกว่า ด้นถอยหลัง ลักษณะฝีเข็มเหมือน ตะเข็บที่เย็บด้วยจักร มักจะใช้เย็บตะเข็บข้างเนื่องจากมีความทนทาน ในการเย็บ เมื่อแทงเข็มลงบนผ้าแล้วให้เข็มแทงขึ้นด้านตรงข้าม กับมือที่จับเข็ม ดึงด้ายให้ตึงแล้วแทงเข็มย้อนกลับมาที่จุดกึ่งกลาง ระหว่างฝีเข็มเดิม หรือตรงรอยฝีเข็มเดิม
3.การสอย
การสอยจะทำให้มองไม่เห็นด้ายปรากฏภายนอกเด่นชัดจึงมักใช้ ในการเย็บปกเสื้อ สาบเสื้อ ขอบกระโปรงและกางเกง หรือสอยริมผ้าเพื่อกันลุ่ย เช่น ชายกระโปรง ชายเสื้อ ขากางเกง เป็นต้น การสอยมีทั้ง สอยซ่อนด้าย ซึ่งนิยมใช้เย็บผ้าพับริม เช่น ชายเสื้อ ชายกระโปรง ขากางเกง ก่อนจึงลงมือเย็บ จะต้องพับริมผ้าให้เรียบแล้วเนาตรึงไว้ อาจนำไปรีดทับ เพื่อให้ผ้าคงรูปยิ่งขึ้น จากนั้นจึงลงมือเย็บ โดยแทงเข็มสอดเข้าไป ในรอยพับของผ้าประมาณ ¼ หรือ 1/8 นิ้ว แล้วแทงเข็มออกมา จากรอยพับ ให้ปลายเข็มเกี่ยวที่ผ้าด้านนอกประมาณ 2 เส้นใยของผ้า ดึงด้ายให้ตึงพอประมาณ แล้วแทงสอดเข้าไปให้รอยพับของผ้าใหม่ ทำเช่นนี้จนสุดริมผ้า
ข้อควรระวังคือ ในขณะที่เย็บไม่ควรดึงด้ายตึงจนเกินไป เพราะจะทำให้ขอบผ้าย่น และหมั่นดึงขอบผ้าที่เย็บแล้วให้ตึงอยู่เสมอ
3.1 สอยพันริม ให้สอยเพื่อยึดขอบผ้าที่พับให้ติดกับผืนผ้าด้านหลัง เป็นการสอยที่ไม่ซ่อน ด้ายด้านหลัง ในการเย็บเมื่อพับริมผ้าเรียบร้อยแล้ว ใช้เข็มแทงขึ้นเหนือขอบผ้าเล็กน้อย ดึงด้ายให้ตึงแล้ว แทงเข็มลงใต้ขอบผ้าประมาณ 2 เส้นด้าย ให้อยู่ในแนวเฉียงเล็กน้อย ต่อด้วยแทงเข็มเฉียงขึ้นที่เหนือขอบผ้าให้เท่ากับรอยเดิม เย็บเช่นนี้ต่อไปจนเสร็จ
3.2 สอยสลับฟันปลา นิยมใช้เย็บตะเข็บที่ขอบแขนเสื้อ เป็นการสอยอย่างหลวม ๆ แต่สามารถยึดผ้าได้ดี ด้านนอกจะเห็นเป็นจุดด้ายเล็ก ๆ เรียงกันส่วนด้านในจะเป็นเส้นด้าย เย็บไขว้กัน ด้านล่างของรอยพับจะเย็บไขว้แบบซ้ายทับขวา ส่วนด้านที่อยู่บนขอบผ้าจะไขว้แบบขวาทับซ้าย
ที่มา maneerat40
โพสต์เมื่อ 26 พ.ค. 2566 อ่าน 27,416 ครั้ง
จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)