มนุษย์มีความรับรู้ต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป ซึ่งการรับรู้เกิดขึ้นจากประสาทสัมผัสแต่ ในด้านของความคิดและความเข้าใจยังเป็นสิ่งที่ถูกต้องบ้างและไม่ถูกต้องาง จนกว่ามนุษย์จะได้รับรู้ต่อสิ่ง เดียวกันหลายๆ ครั้ง จนเกิดการเรียนรู้ต่อสิ่งเหล่านั้น ซึ่งหลังจากเรียนรู้ก็จะสามารถวิเคราะห์ จำแนก และ อบรมสั่งสอน
สำหรับพื้นฐานทางการรับรู้ของมนุษย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้
1. การรับรู้ทางการมองเห็น
การรับรู้ทางการมองเห็น คือ การรับรู้ที่เกิดจากจักษสัมผัส ซึ่งเป็นการรับรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเทียบกับการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสด้านการได้ยิน ด้านกายสัมผัส และด้านรสสัมผัส มนุษย์สามารถรับรู้ ได้จากการมองเห็น โดยใช้นัยน์ตาเป็นอวัยวะรับภาพและมีสมองทำหน้าที่แปลความหมายของภาพที่ได้รับม า จากการมองเห็น ซึ่งการรับรู้จากการมองเห็นในทางจิตวิทยา สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1) การมอง(Looking)เป็นอาการของมนุษย์ที่กระทำโดยไม่ได้มีความตั้งใจแน่นอน แต่เป็นไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งขณะนั้น เช่น เวลาเราเดินข้ามถนน เป้าหมายของเราเป็นฝั่งตรง ข้าม ซึ่งเราจะต้องข้ามไป ดังนั้น เราก็จะมองดูให้แนใจว่าไม่มีรถวิ่งผ่านมา ถนนว่าง แล้วเราจึงเดินข้าม นั่น คือ วัตถุประสงค์หลักของการมอง ซึ่งการมองในลักษณะนี้ ผู้มองจะไม่ใส่ใจว่ารถที่ผ่านหน้าไปมีสีอะไร เป็นรถ ประเภทใด หรือมีคนนั่งทั้งสิ้นกี่คน เราจะไม่เก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ นอกจากรู้ว่ามีรถผ่านไป การมองลักษณะนี้ ถือเป็นการมองแบบธรรมดา
2) การเห็น(Seeing) เป็นกระบวนการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทางตา ซึ่งสามารถบอกรายละเอียด สิ่งที่เห็นได้ ผู้เรียนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "มองไปที่ภาพวาดนั้นแล้วบอกด้วยว่าเห็นอะไรบ้าง" การกล่าว เช่นนี้ช่วยทำให้เราแยกความแตกต่างของการมองกับการเห็นได้ชัดเจนขึ้น การเห็นมีกระบวนการเก็บข้อมูลของ สมองไปตามระดับการเห็น โดยอาจเป็นการเห็นแบบธรรมดาที่ไม่มีรายละเอียดมากนัก ไปจึงถึงเห็น ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน อันเป็นระดับการเห็นที่มีความทะลุปรุโปร่งมีความละเอียดลึกซึ้ง
การศึกษาเกี่ยวกับการมองเห็น ผู้เรียนต้องพยายามสั่งสมประสบการณ์ทางการเห็นให้มากขึ้นด้วย การฝึกสังเกตจากสิ่งรอบๆ ตัวอย่างพินิจพิเคราะห์โดยอาจเริ่มต้นจากมองงานทัศนศิลป์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็น ภาพรวมก่อน แล้วจึงมองแบบจำแนกและแยกแยะหาองค์ประกอบของภาพ เช่น ความสมดุลของรูปทร หรือน้ำหนักอ่อน - แก่ของสี ความกลมกลืน ความเป็นเอกภาพของงานทัศนศิลป์ชิ้นนั้น รายละเอียดของเส้น แสง - เงา พื้นที่ว่าง รูปทรง ตลอดจนลักษณะพื้นผิว ซึ่งทั้งหมดเป็นรายละเอียดของภาพ ก็จะทำให้เรา เห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของรูปแบบทัศนธาตุที่ปรากฏอยู่ในรูปทรงของภาพ การมองเห็นเช่นนี้ถือเป็น ข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ตัวผลงานทัศนศิลป์ รูปแบบของทัศนธาตุ ประเภทของผลงาน หรือเนื้อหาที่ต้องการสื่อตามแนวคิดของศิลปีนผู้สร้างได้ง่ายขึ้น
2. ทฤษฎีการเห็น(Visual Theory)
การรับรู้การเห็นของมนุษย์ ถือเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ โดยเป็นเรื่องของจักษุสัมผัส ความสัมพันธ์กับประสบการณ์ที่แต่ละบุคคลได้เคยผ่านพบมาหรือเป็นสิ่งเร้าภายนอก ทำให้เกิดการรับรู้ ภาพที่ปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีการมองเห็นได้ 4 ประการ ดังนี้
1) การเห็นรูปและพื้น เป็นองค์ประกอบแรกที่มนุษย์มองเห็น ถ้าเป็นภาพจากธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมเมื่อเรามองเห็นวัตถุใดวัตถุหนึ่ง เราจะสามารถรับรู้ได้เป็นอันดับแรกพร้อมๆ กันทั้งรูปและ พื้นหลัง โดยมีวัตถุเป็นรูปทรงและบริเวณรอบๆ เป็นพื้น แต่จะเห็นส่วนใดเป็นรูปทรงของวัตถุและส่วนใด เป็นพื้นนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเพ่งมองและให้ความสำคัญกับบริเวณใดของภาพ ซึ่งภาพบางภาพ หรือ ชิ้นงานศิลปะบางชิ้น เราอาจมองเห็นรูปทรงกับพื้นสลับกับการมองเห็นของอีกคนหนึ่งก็ได้ ส่วนภาพ เหมือนจริง หรือภาพสัญลักษณ์ที่ต้องการจะสื่อสารให้เกิดความชัดเจน จะต้องทำให้รูปทรงมีความเด่นชัด แล้วลดความเด่นขอส่วนพื้นลงไป เพื่อให้สามารถระบุได้ง่ายว่าสิ่งใดเป็นรูปทรงและสิ่งใดเป็นพื้น
2) การเห็นแสงและเงา เป็นการรับรู้ หรือมองเห็นวัตถุ เนื่องจากบริเวณที่วัตถุตั้งอยู่มีแสดงสว่าง ส่องกระทบเข้ามา ถ้าไม่มีแสงสว่างก็จะไม่มีน้ำหนักความเข้มปรากฎอยู่บนตัววัตถุ หรือถ้ามีแสงสว่างเท่ากัน รอบวัตถุทุกด้าน ความเข้มของแสงและเงาก็จะลดน้อยลง ดังนั้น คุณค่าของแสงและเงาจึงมีอิทธิพลต่อ รูปทรงของวัตถุ
3) การเห็นความเคลื่อนไหว เป็นการรับรู้หรือมองเห็น เนื่องจากวัตถุมีการเคลื่อนไหว หรือ ตัวเราเป็นผู้ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเอง ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนไหวเราจะมองเห็นเป็นการเคลื่อนที่ที่แสดง ออกมาในลักษณะที่รวดเร็ว หรือเชื่องช้า เห็นทิศทาง จังหวะการเคลื่อนไหวของวัตถุ แต่ถ้าตัวเราเป็น ผู้เคลื่อนไหวเอง เราจะเห็นภาพของวัตถุมีการเปลี่ยนขนาดและรูปทรงไปตามมุม หรือทิศทางที่เรา เคลื่อนไหว
4) การเห็นตำแหน่งและสัดส่วน เป็นลักษณะการรับรู้ หรือมองเห็นวัตถุตามระยะห่างของ การมอง คือ ถ้าเราอยู่ใกล้วัตถุก็จะสามารถมองเห็นวัตถุได้ชัดและเห็นรายละเอียดมากขึ้น แต่ถ้าอยู่ไกลก็จะ มองเห็นวัตถุไม่ชัดเจน หรือเมื่อเรามองวัตถุชิ้นเดียวกันในระยะใกล้จะเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่าเมื่อมอง ในระยะไกล การเห็นในลักษณะนี้จะมีความสัมพันธ์กับการพิจารณาวาดสัดส่วนของรูปทรงในผลงานทัศนศิลป์ โดยเฉพาะผลงานภาพวาดประเภทตามแบบ นอกจากนี้ ตำแหน่งแบ่งสัดส่วนของวัตถุยังมีความเกี่ยวข้องกับ ความใกล้ - กล ความชัดเจน ความพร่ามัวอีกด้วย อันเป็นผลของความสัมพันธ์ระหว่างระยะของตัวเรา ต่อการเห็นวัตถุ ดังนั้น ในการวาดภาพจึงต้องกำหนดมิติและระยะภาพที่แสดงความสัมพันธ์ให้มีความถูกต้อ ง ก็จะช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างสมจริง
ที่มา แบบฝึกทักษะวิชาทัศนศิลป์ เรื่อง สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ ผลงานครูปริชาติ วงค์เจริญ
โพสต์เมื่อ 30 เม.ย. 2565 อ่าน 12,936 ครั้ง
จัดทำเว็บไซต์โดย นายอดิศร ก้อนคำ (ครูโจ้)